ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร


พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

๑๐. สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน

พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ ทรงแวะ ณ นครปาวา ประทับอยู่ในป่ามะม่วงของนายจุนทะบุตรช่างทอง.

ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์สร้างสัณฐาคาร. ขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้ เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาจึงนิมนต์ให้ทรงใช้ก่อน มัลลกษัตริย์จะใช้ภายหลัง พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระองค์เองประทับนั่งพิงเสากลาง ภิกษุสงฆ์นั่งพิงฝาด้านตะวันออก มัลลกษัตริย์นั่งพิงฝาด้านตะวันตก พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมจนดึก จึงตรัสให้มัลลกษัตริย์กลับได้. ครั้นเห็นภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรให้แสดงธรรมแทน. พระองค์เองทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงพักผ่อนสำเร็จสีหไสยา ( บรรทมแบบราชสีห์ คือตะแคงขวา ).

พระสารีบุตรปรารภความที่นครถนาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย โต้เถียงกันด้วยเรื่องธรรมวินัย จึงสอนแนะให้ภิกษุทั้งหลายสังคายนาพระธรรมไม่วิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน. ครั้นแล้วท่านได้แสดงตัวอย่างการสังคายนาธรรมเป็นหมวด ๆ ( ซึ่งจะนำมากล่าวในที่นี้พอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้?-

หมวด ๑. ธรรมอย่างหนึ่ง คือสัตว์เป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร.

หมวด ๒. ธรรม ๒ อย่าง คือ ๑. นาม ๒. รูป? ๑. อวิชชา ( ความหลงไม่รู้จริง) ๒. ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมีอยากเป็น ) ? ๑. ภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความมีความเป็น ) ๒. วิภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความไม่มีไม่เป็น ) ฯลฯ.

หมวด ๓. รากเหง้าแห่งอกุศล ๓ อย่าง คือ ๑ . โลภะ (อยากได้ ) ๒. โทสะ ( คิดประทุษร้าย ) ๓ . โมหะ ( หลง ). รากเหง้าแห่งกุศล ๓ อย่างคือ ๑ . ไม่โลภ ๒. ไม่คิดประทุษร้าย ๓ ไม่หลง ฯลฯ.

หมวด ๔. การตังสติ (สติปัฏฐาน ดูมหาสติปัฏฐานสูตร ) พระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๔ ๔? ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน ) ๔ คือ ๑ . เพียงระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น ๒ . เพียงละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. เพียรทำกุศลให้เกิด ๔ . เพียงทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ) ฯลฯ.

หมวด ๕. ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ( กองรูป ) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา ความรู้สึกอารมณ์ ) ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำได้หมายรู้) ๔. สังขารขันธ์ ( กองสังขาร หรือความคิด หรือเจตนาที่ดีชั่ว ) ๕. วิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา หู เป็นต้น ) ฯลฯ.

หมวด ๖. อายตนะภายใน ๖ คือ ๑. ตา , ๒. หู, ๓. จมูก, ๔. ลิ่น, ๕. กาย, ๖. ใจ ฯลฯ.

หมวด ๗. อริยทรัพย์ (ทรัพย์อันประเสริฐ ) ๗ คือ ๑. ศรัทธา (เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ) ๒. ศีล ( รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ) ๓. หิริ (ละอายต่อบาป ) ๔. โอตปปะ ( เกรงกลัวต่อบาป ) ๕. สุตะ ( ศึกษาหรือสดับตรับฟัง ) ๖. จาคะ ( เสียสละ ) ๗. ปัญญา ( รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ ) ฯลฯ.

หมวด ๘. ความผิด ๘ คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด ) ๒. มิจฉาสังกัปปะ ( ความดำริผิด ) ๓. มิจฉาวาจา ( วาจาผิด ) ๔. มิจฉากัมมันตะ ( การกระทำผิด ) ๕. มิจฉาอาชีวะ ( เลี้ยงชีพผิด ) ๖. มิจฉาวายามะ ( เพียรพยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ ( ระลึกผิด ) ๘. มิจฉามสมาธิ ( ตั้งใจมั่นผิด ) ฯลฯ.

หมวด ๙. ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ ๑. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ( เสียหาย) ต่อเรา ๒. เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๓. เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๔. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคนที่รักที่ชอบใจของเรา ๕. เขากำลังทำอย่างนั้น ๖. เขาจักทำอย่างนั้น ๗. เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เราไม่รักไม่ชอบใจ ๘. เขากำลังทำอย่างนั้น ๙. เขาจักทำอย่างนั้น ฯลฯ.

หมวด ๑๐. ธรรมะที่ทำที่พึ่ง ( นาถกรณธรรม ) ๑๐ คือ ๑. มีศีล สำรวมปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ๒. สดับตรับฟังมาก ทรงจำได้ดี ๓. คบเพื่อนที่ดี ๔. ว่าง่าย ๕. ขยันช่วยทำกิจธุระของเพื่อน ๖. ใคร่ในธรรม ๗. สันโดษ ( ยินดีตามมีตามได้ ) ๘. ลงมือทำความเพียร ๙. มีสติ ๑๐. มีปัญญา ฯลฯ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจากบรรทม ก็ตรัสชมเชยว่า พระสารีบุตรได้กล่าวสังคีติปริยาย ( บรรยายเรื่องสังคายนา ) แก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างดี .

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ปาฏิกสูตร
- อุทุมพริกสูตร
- จักกวัติสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์
- อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
- สัมปสาทนียสูตร ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า
- สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส
- ลักขณสูตร สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ ๓๒ ประการ
- สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
- อาฏานาฏิยสุรา สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
- สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
- ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม