ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
จุลลวัคค์ (เป็นพระวินัยปิฏก)
ขุททกวัตถุขันธกะ
(หมวดว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ)
เครื่องใช้ที่เป็นผ้า
ทรงห้ามรัดเข่าด้วยใช้ผ้าสังฆาฏิรัด และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด แต่ภิกษุบางรูปป่วยไข้ไม่มีเครืองรัดเข่าก็ไม่สบาย จึงทรงอนุญาตเครื่องรัดเข่า ทรงอนุญาตเครื่องมือของช่างหูกทุกชนิด เพื่อให้ทำเชือกรัดเข่า ( การรัดเข่าของคนในครั้งนั้น มี ๓ ชนิด คือรัดด้วยเครื่องวัด ( อาโยคปัลลัตถิกา), รัดด้วยมือ ( หัตถปัลลัตถิกา) และรัดด้วยผ้า ( ทุสสปัลลัตถิกา) เป็นความเคยชินที่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่สบาย โดยปกติเครื่องรัดนั้น ก็รัดโอบหลัง ตะโพกและเข่า เมื่อคล้องลงไปแล้วก็นั่งอย่างสบาย
อนึ่ง ในเรื่องนี้ถึงกับทรงอนุญาตให้พระทอเครื่องรัดเข่าเองได้ แสดงว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ต้องเสียเวลามากเหมือนทอผ้า เพราะไม่เช่นนั้นพระจะกังวลด้วยการงานชนิดนี้ จนไม่เป็นอันศึกษา หรืออบรมจิตใจ).
ทรงห้ามเข้าบ้านโดยไม่มีประคดเอว ( เพราะปรากฏว่าภิกษุรูปหนึ่งผ้านุ่งหลุดในบ้าน ) ทรงห้ามประคดเอวที่ถักสวยงาม มีทีทรวดทรงต่าง ๆ ซึ่งคฤหัสถ์สมัยนั้นนิยมใช้กัน .
ทรงอนุญาตประคดเอวที่ทอตามปกติ ที่เรียกว่าประคดแผ่น และชนิดไส้สุกร ทรงอนุมัติวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประคดมั่นคง เช่น การทอและเย็บชายให้มั่นคง ในที่สุดทรงอนุญาต ลูกถวิน คือห่วงสำหรับร้อยประคดเอว ทรงห้ามใช้ ลูกถวินที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตลูกถวินที่ทำด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์, ไม้อ้อ, ไม้ไผ่, ไม้แก่น, ยางไม้, ผลไม้ ( เช่น ) กะลามะพร้าว ), โลหะ , ขนดสังข์และด้ายถัก.
ทรงอนุญาตลูกดุมและรังดุมสำหรับสังฆาฏิ ( เวลาห่มเข้าบ้านลมจะได้ไม่พัดให้สังฆาฏิเปิด) และทรงอนุญาตและทรงห้ามลูกดุมอย่างเดียวกับลูกถวิน.
ทรงอนุญาตให้ติดแผ่นผ้าสำหรับติดลูกดุม และรังดุม ( เพื่อกันจีวรชำรุด) เมื่อติดแล้ว มุมจีวรยังเปิด ก็ทรงอนุญาตให้ติดลูกดุมที่ชายจีวร ส่วนรังดุมให้ติดลึกเข้าไป ๗ หรือ ๘ นิ้ว.
ทรงห้ามนุ่งห่มแบบคฤหัสถ์ เช่น นุ่งแบบงวงช้าง , นุ่งแบบหางปลา , นุ่งแบบปล่อย ๔ ชาย , นุ่งแบบก้านตาล และนุ่งยกกลีบ. อนึ่ง ทรงห้ามห่มผ้าแบบคฤหัสถ์ และห้ามนุ่งผ้าหยักรั้ง แบบนักมวยปล้ำและกรรมกร.
- เรื่องเกี่ยวกับการอาบน้ำ
- ห้ามใช้เครื่องประดับแบบคฤหัสถ์
- ข้อห้ามเกี่ยวกับผม
- ข้อห้ามเกี่ยวกับการส่องกระจกหรือแว่น
- ข้อห้ามทาหน้าทาตัว
- ห้ามดูฟ้อนรำและห้ามขับด้วยเสียงอันยาว
- ห้ามใช้ผ้าขนเเกะ
- ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับผลไม้
- ตรัสสอนให้แผ่เมตตา
- ห้ามตัดองคชาต
- ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร
- ทรงอนุญาตมีดและเข็ม
- ทรงอนุญาตและห้ามเกี่ยวกับไม้แบบหรือสดึง
- ทรงอนุญาตถุงใส่ของสายคล้องบ่า ผ้ากรองน้ำและมุ้ง
- ทรงอนุญาตการจงกรมและเรือนไฟเป็นต้น
- เรื่องที่นั่ง ที่นอน และที่ใส่อาหาร
- ห้ามฉันอาหารดื่มน้ำในภาชนะเดียวกัน เป็นต้น
- การลงโทษคว่ำบาตรแก่วัฑฒะลิจฉวี
- เรื่องผ้าขาวที่ไม่ให้เหยียบและเหยียบได้
- นางวิสาขาถวายของใช้
- ทรงอนุญาตและห้ามใช้ร่ม
- ทรงห้ามและอนุญาตไม้คานสาแหรก
- เรื่องอาเจียนและเมล็ดข้าว
- ทรงอนุญาตมีดตัดเล็บ
- เรื่องผมและหนวดเครา
- เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
- เครื่องใช้ที่เป็นผ้า
- เรื่องหาบหาม
- การเคี้ยวไม้สีฟัน
- ห้ามจุดป่าและขึ้นไม้
- ห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์
- ห้องเรียนห้ามสอนโลกายตะและติรัจฉานวิชชา
- ห้ามถือโชคลางแต่ไม่ขัดใจคนอื่น
- ห้ามฉันกระเทียม
- ทรงอนุญาตที่ถ่ายปัสสาวะอุจจระ
- ทรงห้ามประพฤติอนาจาร
- ทรงอนุญาตเครื่องใช้
ขุททกวัตถุขันธกะ (หมวดว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ)
เสนาสนขันธกะ (หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย)
สังฆเภทขันธกะ (หมวดว่าด้วยสงฆ์แตกกัน)
วัตตขันธกะ (หมวดว่าวัตรหรือข้อปฎิบัติ)
ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ (หมวดว่าด้วยการแสดงปาฏิโมกข์)
ภิกขุนีขันธกะ (หมวดว่าด้วยนางภิกษุณี)
ปัญจสติกขัรธกะ (หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑)
สัตตสิกขันธกะ (หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป ในการสังคายนาครั้งที่ ๒)
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่
๒
พระวินัยเล่มที่
๓
พระวินัยเล่มที่
๔
พระวินัยเล่มที่
๕
พระวินัยเล่มที่
๖
พระวินัยเล่มที่
๗
พระวินัยเล่มที่
๘