ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดเชียงใหม่
"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1839 นับถึงปัจจุบันมีอายุร่วมเจ็ดร้อยปี และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครอง โดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 200 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839 - 2101) ในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระยากาวิละและพระยาจ่าบ้าน ในการทำสงครามขับไล่พม่า ออกไปจากเชียงใหม่และเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนาพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงเทพ และมีเชื้อสายของพระยากาวิละซึ่งเรียกว่าตระกูลเจ้าเจ็ดตนปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และลำปางสืบต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราชได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนปัจจุบัน
ก่อนที่พระยามังรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่นั้น ได้มีบ้านเมืองและชุมชนใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ เมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน เมืองหริภุญไชย เมืองพะเยา และยังได้มีการค้นพบเมืองเล็กๆ อีกมากมายหลายเมืองตามลุ่มน้ำต่างๆ เช่น เวียงฝาง เวียงปรึกษา เวียงสีทวง เวียงพางคำ เวียงสุทโธ เวียงห้อ เวียงมะลิกา และเวียงท่ากาน1) ฯลฯ เป็นต้น เชื่อกันว่าบริเวณตอนบนของภาคเหนือ ลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำกก แม่น้ำโขง เป็นที่ตั้งของชุมชนที่มีวัฒนธรรมอยู่มาก่อน ในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวและเมืองต่างๆ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พอสังเขปดังนี้ จากข้อมูลเอกสารประเภทตำนานและพงศาวดาร ได้กล่าวถึงการที่ชุมชนเผ่าไทเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนบนของภาคเหนือในสมัยแรกนั้น มีผู้นำสำคัญ 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ไทยเมืองของพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร และราชวงศ์ลวจังกราช ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในตำนานสิงหนวัติกุมาร
ประมาณ พ.ศ. 1181 ได้เกิดเมืองชื่อ หิรัญเงินยางเชียงแสนขึ้นบริเวณดอยตุง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามตำนานเล่าว่า พระยาลวจังกราชได้รับบัญชาจากพระอินทร์ให้ลงมา ปกครองเมืองหิรัญเงินยางเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นไม่มีกษัตริย์ปกครองและพระยาอนิรุทธได้เชิญเจ้าเมืองทุกเมืองไปประชุมตัดศักราช เมืองนี้ไม่มีกษัตริย์ไปประชุม จึงทูลขอผู้ปกครองจากพระอินทร์ เทพบุตร ลวจังกราชจึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ พร้อมทั้งมเหสีและบริวารไต่ตามบันไดเงินลงมาบริเวณดอยตุง ชาวบ้านจึงพร้อมใจให้เป็นผู้ปกครองเมืองนี้ชื่อ หิรัญเงินยางเชียงแสน และทรงมีกษัตริย์ปกครองสืบมาหลายพระองค์จนถึงพระยาลาวเมง พระราชบิดาพระยามังราย ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องจากตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน มีนักวิชาการบางท่านตีความเรื่องนี้ว่า พระยาลวจังกราชนั้น เดิมเป็นชาวพื้นเมืองในเขตดอยตุง เดิมคงเรียกว่า ปู่เจ้าลาวจก เพราะเป็นผู้มีจอบมาก (จก = จอบ) และให้ประชาชนเช่าจอบเพื่อทำนา ที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำจอบเป็นเทคนิคชั้นสูง ผู้ใดผลิตจอบได้ก็จะสามารถควบคุมการผลิตได้ ปู่เจ้าลาวจกคงจะได้รับยกย่องให้เป็นหัวหน้าเผ่าไทบริเวณนั้น และปกครองเมืองเงินยางเชียงแสน และมีเชื้อสายสืบมาจนถึงพระยามังราย4
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์