ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคเหนือ(2)
ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิว เขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ มียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือ ยอดเขาดอยอินทนนท์ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนไทยกับพม่า มียอดเขาสูงเป็นอันดับสองของประเทศคือ ยอดดอยผ้าห่มปก อยู่ในอำเภอแม่อาย และยอดดอยหลวงเชียงดาวสูงเป็นอันดับ 3 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และยังมีทิวเขาขุนตาล ทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ทิวเขานี้อยู่ระหว่างแม่น้ำ วังกับแม่น้ำยม ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับลาว ทิวเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่น้อยมากมาย เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยขุนตาล ภูชี้ฟ้า ภูผาตั้ง และยังเป็นที่อยู่ อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ ส่วนพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและแถบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลุ่มน้ำกก และน้ำอิง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูกข้าว และพืชไร่ รวมทั้งไม้ผลหลากหลายชนิด
ลักษณะนิสัยของชาวเหนือสังเกตได้จากภาษาพูด ซึ่งเป็นภาษาไทยท้องถิ่นที่มีความไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความ สุภาพอ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร งานหัตถกรรมมากมายที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้ และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยม จนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความ เป็นชาวไทยภาคเหนือได้เป็นอย่างดี
เมื่อพญามังราย กษัตริย์ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง ซึ่งถือได้ว่า เป็นปฐมกษัตริย์ของ อาณาจักรล้านนา ได้ทำการ รวบรวมหัวเมืองต่างๆที่กระจายอยู่และไม่ขึ้นแก่กัน และยกทัพไปตีเมืองต่างๆ ที่อยู่ในแคว้นโยนก เพื่อรวบรวม เข้าไว้เป็นอาณาจักรเดียวกัน ในปีพ.ศ.1805 ได้ทรงสร้างเมืองเชียงราย หลังจากนั้นได้ยกทัพไปตีเมืองต่างๆรวมทั้งแคว้นหริภุญไชย ซึ่งอยู่ในเขตราบลุ่มแม่น้ำปิง ในปีพ.ศ.1812 ยึดเมืองเชียงของได้ ปีพ.ศ.1819 ยกทัพไปตีเมืองพะเยาซึ่งในขณะนั้นพญางำเมืองครอบครองอยู่ แต่ไม่มีการรบเกิดขึ้นและเป็นมิตรไมตรีต่อกัน จึงทำให้แคว้นพะเยาเป็นอิสระ ในปีพ.ศ.1824 สามารถยึดเมืองหริภุญไชยได้ และทรงประทับอยู่ที่เมืองหริภุญไชยเป็นเวลา 2 ปี จึงได้ย้ายมาสร้างเวียงใหม่ขึ้นเป็นที่ประทับ ในปีพ.ศ.1829 ชื่อ เวียงกุมกาม
เวียงกุมกามเป็นเวียงที่พญามังรายสร้างขึ้น ในบริเวณชุมชนโบราณสมัยหริภุญไชยตามประวัติ ก่อนหน้าการสร้างเวียงกุมกาม พญามังราย ทรงยกทัพจากเมืองฝางมายึดครองเมืองหริภุญ ไชย พระองค์ประทับที่หริภุญไชยอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็มอบให้อ้ายฟ้าครองหริภุญไชยส่วน พระองค์แสวงหาที่สร้างเวียงใหม่ และทรงเลือกหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำปิง "ปิงห่าง" มา สร้างเป็นเวียงกุมกาม มูลเหตุกำหนดเวียงกุมกาม เวียงกุมกามกำหนดขึ้น เพราะพญามังราย ทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เมืองหริภุญไชย หลังจากที่พญามังรายยึด ครองเมืองหริภุญไชยสำเร็จในราว พ.ศ. 1835 พระองค์ประทับที่หริภุญไชยเพียง 2 ปี ก็แสดงความไม่พอใจจะใช้เมืองหริภุญไชยเป็นเมืองหลวงอีกต่อไปแม้ว่าเมืองหริภุญไชยจะเป็น ศูนย์กลางทางการเมือง การค้า ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นเวลาช้านาน ความไม่พอใจในเมือง หริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียง ที่สร้างมาประมาณ 500 ปี เวียงมีขนาดเล็ก และคับแคบไม่สามารถขยายตัวเวียงได้เป็นไปได้ว่าคงเต็มไปด้วยวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อความเหมาะสมกับรัฐที่อาณาเขตกว้างขวางขึ้นพญามังรายจึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวง ขึ้นใหม่โดยให้เมืองหริภุญไชยมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมือง
จากการเลือกสถานที่สร้างเมืองหลวง ทั้งกุมกามและเชียงใหม่ พญามังรายจะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน โดยไม่กลับไปสร้างเมืองหลวงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กกซึ่งอยู่ทางตอนบน พญามังรายไม่เสด็จกลับไปประทับอีกเลย ทั้งนี้คงเพราะเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีทำเลที่ตั้ง เหมาะสมต่อการเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา มากกว่าเขตที่ราบลุ่ม แม่น้ำกก เขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูนเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืน ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้ากับ เมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นตำแหน่งที่ตั้งเมืองหลวงก็จะอยู่เหนือเมืองหริภุญไชยขึ้นมา ตำแหน่งของเมืองกุมกามและเชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนความคิดของพญามังราย ที่ไม่ขยายอำนาจลงทางใต้อีกต่อไป และทรงพอใจในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน โดยเฉพาะตรงบริเวณเหนือเมืองหริภุญไชย เนื่องจากที่ตั้งของเวียงมีความสำคัญมาก จะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสังคมเมืองขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่ตั้งเวียงที่มีฐานะเป็นเมืองหลวง ย่อมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมการเลือกที่ตั้ง
ในขณะที่พญามังรายกำลังเรืองอำนาจอยู่นั้น ก็เป็นช่วงที่ อาณาจักรสุโขทัยซึ่งปกครองโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กำลังเรืองอำนาจอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีการสู้รบกัน เนื่องจาก พญามังราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานต่อกัน
นปีพ.ศ.1839 ได้ทรงคิดจะสร้างเมืองแห่งใหม่ขึ้น จึงได้อัญเชิญ พระสหายร่วมน้ำสาบาน มาเลือกทำเล ณ บริเวณ ที่ราบลุ่มเชิงดอยสุเทพ และทรงตั้งชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พ่อขุนรามคำแหงทรงมีพระราชปรารภว่า เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนทำร้ายมิได้ คนใหนมีเงินพันมาอยู่เมืองนี้จะมีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสน ส่วนพญางำเมือง ได้ถวายความเห็นว่า เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะว่าเนื้อดินมีพรรณรังษี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธินักแล ส่วนกำแพงเมืองที่สร้างขึ้น กว้างด้านละ 800ว า ยาวด้านละ1000วา และถือได้ว่า เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาหลังจากสร้างเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นานพยาเบิก ผู้ครองนครเขลางค์ซึ่งเป็นราชบุตรของอดีตผู้ครองแคว้นหริภุญไชย ได้ยกทัพมาเพื่อจะชิงเมืองหริภุญไชยคืน แต่กองทัพเมืองเชียงใหม่รบชนะ และต่อมาสามารถยึดเมืองเขลางค์ ให้ขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนับเป็นการขยายดินแดนและรวมเอาบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำวังเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา