ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดน่าน
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดน่าน
วัดสวนตาล
สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี
เมื่อ พ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม
ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ
เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
สะท้อนให้เห็นอิทธิพลศิลปะสมัยสุโขทัย
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ
พระเจ้าทองทิพย์
ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี
พ.ศ.1992
เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย
วัดพระธาตุเขาน้อย
องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย
สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง
องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์
เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา
ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
เดิมเรียก วัดหลวง หรือ
วัดหลวงกลางเวียง
สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง
เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน
สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา
และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง
เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน
สร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง
เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า
7 พระองค์
พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง
ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท
เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย
(วัดป่ามะม่วง
จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน)
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก
บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผา
ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน
มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผา
เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง
คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผา
จากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง
การผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้าพระยาพลเทพฤาชัย
ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน
วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา
วัดมิ่งเมือง
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400
ลักษณะเด่นคือ
ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ
เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน
มีความวิจิตรงดงามมาก
ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน
ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน
และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน
เสาหลักเมือง
ซึ่งยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ
เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร
ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง
วัดพญาวัด
เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน
สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี
เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5
ชั้น
แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืน
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราช
ในพระอุโบสถประดิษฐาน
พระเจ้าฝนแสนห่า
ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล
วัดหนองบัว
เป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน
ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้างราวพ.ศ.
2405 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4
ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้
ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิง
ที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม
นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะ
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว
หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม
เรียกว่า ผ้าลายน้ำไหล
ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน
นับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุคหลายสมัย
อนุสาวรีย์วีรกรรมทุ่งช้าง
สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย
จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้ศึกษาหาความรู้
เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม)
และคอกเสือ
เป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย
แพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่
จากหลักฐานทางธรณีวิทยา
พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย
(late tertian)
ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ
สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000
ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน
และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณ
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ
ในจังหวัดน่าน ได้แก่ เวียงสา
นาน้อย และนาหมื่น
เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้
ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก
สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
ในเขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าด้วยป่าดิบเขา
ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา
มีรายงานว่าพบนกยูงในเขตอุทยานฯแห่งนี้ด้วย
ผาชู้ หรือ
ผาเชิดชู
ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้
และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า
ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม
หมู่บ้านประมงปากนาย
เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน
หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์
หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน
ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่
โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี
ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง
มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง
รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าน้ำยาว-น้ำสวก
และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย
เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี
หรือ ผีตองเหลือง
วัดพระธาตุเบ็งสกัด
ตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรนครเพื่อให้เจ้าขุนฟอง
พระราชบุตรธรรมมาปกครอง
ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว
องค์พระธาตุและพระวิหารสร้างเสร็จเมื่อปี
พ.ศ. 1826
ภายในองค์พระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชุมชน
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ป่าต้นน้ำ
ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย
ขุนเขาใต้ทะเล
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ
ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง
ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข
และแม่จริม
เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน
ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย
โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน
สูงถึง 1,980 เมตร
ดอยภูแว
ยอดดอยภูแวเป็นยอดดอยที่มีความสูงชัน
เป็นเทือกเขาเดียวกับภูเขาอัลไต
มีลักษณะโดดเด่น
คือปราศจากต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่
มีเพียงหญ้าปกคลุมเล็กน้อย
มีลานหินและหน้าผาสูงชัน
มีการค้นพบสุสานหอยซึ่งเป็นหอยทะเลอายุประมาณ
200 ล้านปีที่บริเวณบ้านค้างฮ่อ
อำเภอปัว ดอยภูแว
ถ้ำผาแดง
เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม
ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำ
ในอดีตถ้ำผาแดงเป็นฐานที่ตั้งหลบภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก
เตียงนอนของทหาร เตียงนอนคนไข้
ถ้ำผาฆ้อง
เป็นน้ำตกขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก
ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย
มีทางน้ำไหลผ่าน
พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่น
น้ำตกภูฟ้า
เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
น้ำตกศิลาเพชร
น้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป
น้ำตกศิลาเพชรอยู่ที่บ้านป่าตอง
ตำบลศิลาเพชร
อุทยานแห่งชาติแม่จริม
(ล่องแก่งลำน้ำว้า)
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา
สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา
ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ
มีสัตว์ป่าหลายชนิด
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า
เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่
3
ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา
มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด
คลังอาวุธ
จุดที่ทหารไทยเสียชีวิต
ในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมี
ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า
ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น
ตำบลห้วยโก๋น
เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต
มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้
ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น
อยู่บริเวณด่านผ่านแดนบ้านห้วยโก๋น
ด่านตรงข้ามคือเมืองน้ำเงิน
แขวงไชยะบุรี
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สินค้าที่เข้ามาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นผ้าทอลายน้ำไหล
ฝีมือชาวไทลื้อ
จากบ้านเมืองเงิน หงสา ของ
สปป.ลาว
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์