ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดพิจิตร
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดพิจิตร(2)
เมื่อสร้างเมืองเสร็จ รุ่งขึ้นจึงมีพระราชพิธีสมโภชตามลัทธิพราหมณ์ ทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองพิจิตร อันเป็นสมญาตั้งแต่ พ.ศ. 1602 เป็นต้นมา พระประยูรวงศานุวงศ์ตลอดจนไพร่ฟ้า ข่าราชบริพาร จึงถวายพระนามพระเจ้ากาญจนกุมารใหม่ว่า พระยาโคตรตะบองเทวราช ให้เหมือนกับนามพระยาโคตรตะบององค์แรก ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ แลรัชทายาทที่จะครองเมืองต่อไปเบื้องหน้าก็ให้มีนามว่า พระยาโคตรตะบองเทวราชทุกพระองค์
ครั้นเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยได้เริ่มทยอยลงมาในดินแดนสุวรรณภูมิ พ่อขุนผาเมืองได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองหน้าด่านของขอมได้ เมืองพิจิตรจึงเป็นของไทยตั้งแต่นั้นมา
ในปี พ. ศ. 1800 พระยาโคตรตะบองเทวราชองค์สุดท้ายที่เมืองพิจิตรสวรรคต ไม่มีพระราชโอรสสืบสมบัติเมืองพิจิตร วงศ์โคตรตะบองเทงราชสิ้นสุดลง เมืองพิจิตรได้ขึ้นตรงต่อสุโขทัย
สมัยพ่อขุนรามกำแหงมหาราช ทรงว่างระเบียบการปกครองหัวเมืองออกเป็น 3 อย่าง โดยแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นใน ทรงตั้งเป็นเมืองลูกหลวง(เมืองหน้าด่าน) ล้มกรุงสุโขทัยไว้ 4 ทิศ เพื่อป้องกันข้าศึกที่จะทุละทะลวงเข้ามาถึงเมืองหลวง และเพื่อสะดวกในการจัดกำลังกองทัพ เมืองพิจิตรเป็นเมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่านอยู่ทางทิศใต้ ทิศเหนือมีเมืองเชลียง(สวรรคโลก) ทิศตะวันออกมีเมืองสองแคว(พิษณุโลก) ทิศตะวันตกมีเมืองชากังราว(กำแพงเพชร)
เมื่อสุโขทัยเลื่อมอำนาจลง และได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พิจิตรก็ตกไปอยู่กับกรุงศรีอยุธยา แต่ความสำคัญของเมืองพิจิตรนั้นลดน้อยลง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2006 รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ทรงยกเลิกการปกครองแบบเก่า เปลี่ยนมาเป็นแบบจตุสมภ์ เพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ เป็นการรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคมีขุนนางเป็นผู้ปกครอง และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี นับว่าพิจิตรเป็นเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางทหาร และการปกครองไม่น้อย
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้เสด็จครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ทรงเห็นว่าพิจิตรเป็นเมืองลุ่ม เต็มไปด้วย บึง คลอง ลำห้วย โดยเฉพาะบึงสีไฟที่มีน้ำขังตลอดทั้งปีไม่เคยแห้ง มีเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ จึงขนานนามเมืองพิจิตรอีกนามหนึ่งว่า โอฆะบุรี ซึ่งแปลว่า ห้วงน้ำ
เมืองโอฆะบุรีคือ เมืองพิจิตร เป็นเมืองโบราณมีป้อมปราการอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า ซึ่งตื้นเขินแล้ว ชื่อเดิมเรียกว่า เมืองสระหลวง คงเป็นเพราะเป็นเมืองที่มีบึงบางมาก ทั้งในศิลาจารึกสุโขทัยและกฎหมายชั้นเก่าของกรุงศรีอยุธยาก็เรียกว่า เมืองสระหลวง ปรับเป็นคู่กับเมือง เมืองสองแคว คือเมืองพิษณุโลก ซึ่งเดิมมีแม่น้ำน้อยอยู่ทางตะวันออก และแม่น้ำน่านอยู่ทางตะวันตก แต่แม่น้ำน้อยตื้นเขินเสียนานแล้ว
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองพิจิตร คือ เมืองพิจิตรเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 และเป็นถิ่นกำเนินของพระโหราธิบดี กวีเอกของไทย ดังที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปเมืองพิษณุโลก พระเพทราชา(ครองราชย์ พ.ศ. 2231-2246 ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง) ได้พานางสนมที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งขณะนั้นตั้งแก่จวนคลอดติดตามไปด้วย เมื่อถึงบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร นางได้คลอดบุตรในเดือนอ้าย ปีขาล พ.ศ. 2201 และฝังรกไว้ที่ต้นมะเดื่อ หรือ ดอกเดื่อต่อมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ใน ราชวงศ์บ้านพลหลวง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2246-2254) ได้เสด็จไปคล้องช้างที่เมืองพิจิตร เลยไปเยี่ยมมาตุภูมิเดิมที่หมู่บ้านโพธิ์ประทับช้าง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามประกอบด้วยพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ แล้วเสร็จใน ปี พ.ศ. 2244
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สภาพบ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบ มีเจ้าเมืองต่าง ๆ ตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่า ถึง 5 ก๊ก เมื่อสดเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปปราบก๊กพระยาพิษณุโลกในปี พ.ศ.2311 ถึงตำบลเกยชัยทรงถูกปืนที่พระชงฆ์ซ้าย จึงต้องยกทัพกลับพระนคร จากนั้นเจ้าพระฝางตีเมืองได้เมืองพิษณุโลก ชาวเมืองพิษณุโลกและเมืองพิจิตรต่างแตกหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงบนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ2313 สมเด็จพระเจ้าตากสอนมหาราชทรงยกทัพไปปราบเจ้าฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลกและเมืองสวางคบุรี ในการนี้เมืองพิจิตรเป็นทางผ่านของกองทัพ และชาวพิจิตรคงจะถูกเกณฑ์ไปในการรบด้วย และต่อมาทุกครั้งที่มสเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ มักจะโปรดให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองเพื่อทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งไป
สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งศึก 9 ทัพ ปี พ.ศ.2328 หม่ายกกองทัพเข้าไปตีเมืองไทยถึง 9 ทัพ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ และทางตะวันตก ทางเหนือพม่ายกมาทางเมืองเชียงแสน ตีได้เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลก นอกจากเมืองพิจิตร เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้จัดกองทัพสไหรับที่จะต่อสู้ถึง 9 ทัพ ทางเหนือให้กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เป็นแม่ทัพไปขัดตาที่ทัพที่เมืองนครสวรรค์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขได้ให้เจ้าพระยาเสนา ยกกองทัพขึ้นไปรักษาเมืองพิจิตรไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้พม่าถึงตั้งค่ายอยู่ที่ปากพิงใต้เมืองพิษณุโลก เพื่อคอยกองทัพหนุน จึงยกมาตีกองทัพไทยที่เมืองพิจิตร และเมืองนครสวรรค์ ดังนั้นกองทัพหลวงของไทยจากกรุงเทพฯ จึงยกกองทัพตามขึ้นไปที่เมืองนครสวรรค์ก่อน แล้วหนุนกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขขึ้นไปทางบางข้าวตอก แขวงเมืองพิจิตร และยกเข้าตีค่ายพม่าที่ปากพิง จนกองทัพพม่าแตกพ่ายไป พม่าจึงไม่มีโอกาสตีเมืองพิจิตร
ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสดเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง ไกรทอง เนื่องจากเมืองพิจิตรเป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมากมาย และมีจระเข้ชุกชุม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงอาศัยเค้าโครงเรื่องจากเรื่องราวชาวพิจิตรได้เล่าสืบต่อกันมา พระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง ไกรทอง ปัจจุบันในเรื่องไกรทองได้กลายเป็นชื่อตำบลชื่อหมู่บ้าน ตามท้องเรื่องหลายแห่ง เช่น บ้านดงเศรษฐี เกาะศรีมาลา ดงชาละวัน และสระไข่
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์