ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดพิจิตร
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดพิจิตร
เมืองพิจิตร เคยเป็นเมืองที่พระเจ้าเจ้าแผ่นดินปกครองสืบต่อกันมาหลายพระองค์ ตั้งแต่ครั้งยังสร้างเมืองอยู่ ณ นครไชบวรประมาณหลังปีพุทธศักราช 1600 ถึง 1800 เมื่อสิ้นราชวงค์ เมืองพิจิตรก็ยังคงมีฐานะเป็นหน้าด้านขึ้นตรงต่อราชธานีสุโขทัย
เมื่อปี พ.ศ. 300 ชาติละว้าเป็นชาติที่ใหญ่และเจริญที่สุดในสุวรรณภูมิ เป็นชาติที่มีระเบียบวินัยเรียบร้อยในการปกครองมาก่อน ได้ตั้งอาณาจักรใหญ่ ๆ แยกกันอยู่ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวาราวดี อาณาจักรยางหรือโยนก และอาณาจักรโคตรบรู อาณาจักรทวาราวดี ได้แก่พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดพิษณุโลก ไปจนจดจังหวัดราชบุรีทิศตะวันออกไปถึงปราจีนบุรี อาณาจักรทวาราวดีนี้มีเมืองสำคัญ 3 เมืองด้วยกันคือ เมืองนครปฐม เป็นราชธานี เมืองละโว้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นลพบุรี และเมืองสยามต่อมาเปลี่ยนเป็นสุโขทัย เมืองพิจิตรในสมัยทวาราวดีจึงขึ้นอยู่ในเมืองละโว้ (หรือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน) แต่ขณะนั้นเมืองพิจิตร จะมีนามว่าอย่างไร ตั้งที่ไหน ไม่มีกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1400 เป็นต้นมา ขอมมีอำนาจและแผ่อำนาจมาในอาณาจักรทวาราวดีด้วยขอมติได้เมืองโคตรบูร เมืองยาง หรือโยนกไว้ได้ทั้งหมดแล้วจัดส่งคนมาครอบครองอย่างเมืองขึ้นธรรมดา เฉพาะเมืองทวาราวดี ขอมแบ่งการปกครองออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลฝ่ายใต้ และมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลฝ่ายใต้มีเมืองละโว้โดยขอมมาเปลี่ยนแปลงเป็นลพบุรีให้เป็นศูนย์กลาง ฝ่ายเหนือมีเมืองสยามคือ สุโขทัย เป็นศูนย์กลาง การขยายอำนาจของขอมทำให้ชาวละว้า ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครอง หรือการเป็นประเทศราชของขอม กลุ่มชนที่เคยมีอำนาจและรักความเป็นอิสระไม่สมัครใจจะอยู่ในสภาพเช่นนี้ ชาวละว้าจึงมีการอพยพขึ้นไปทางเหนือเพื่อไปแสวงหาดินแดนสร้างเมืองใหม่
เมื่อราว พ.ศ. 1600 พระราชวงศ์ผู้สืบสายมาแต่พระยาโคตระบองเทวราชองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า เจ้ากาญจนกุมาร (พระยาโคตระบอง) เสด็จประพาสทางชลมารคไปตามลำน้ำน่านเก่าขึ้นไปทางเหนือ เสด็จพระราชดำเนินถึงหมู่บ้านสระหลวงมีบึงใหญ่น้ำลึกใสมีปลาชุกชุม ประกอบด้วยบัวหลวงงามสะพรั่งเต็มบึงเป็นที่ต้องพระทัย จึงทรงดำริให้ย้ายเมืองจากนครไชยบวร มาตั้งใหม่ที่บ้านสระหลวง และโปรดเกล้าฯให้ฝังหลักเมือง
ต่อมาโอรสพระยาโคตรตะบอง ผู้ครองนครไชยบวรต่อมามี พระนามว่า เจ้ากาญจนกุมาร เสด็จทางชลมารคไปทางทิศเหนือของแม่น้ำน่านเก่าถึงบ้านสระหลวง ทรงดำริว่าถ้าตั้งเมืองใหม่ในบริเวณนี้ ต่อไปการขยายเมืองก็สะดวก ทางใต้มีบึงใหญ่อีกแห่งหนึ่ง(บึงไอ้จ๋อ ปัจจุบันนี้ตื้นเขินแล้ว) ขวางอยู่ ทางตะวันออกมีบึงสีไฟ ทางตะวันตกมีแม่น้ำน่านเป็นพรมแดน หากข้าศึกยกมาก็ยากที่จะบุกเข้าถึงตัวเมือง พื้นที่บางแห่งราบลุ่มกว้างใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก ริมฝั้งแม่น้ำน่านเป็นที่เนินน้ำไม่ท่วมเหมาะแก่ราษฎรจะสร้างบ้านเรือนเรียงราย ไปตามแม่น้ำล้อมด้วยตัวเมืองอีกทีหนึ่ง เมื่อมีบ้านเรือนหนาแน่นแล้ว การเก็บส่วยอากรขนอนของแม่น้ำน่านเก่า และก่อกำแพงเมืองด้วยอิฐชุบยางไม้บง(บง เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียวมาก) เป็นกำแพงชั้นเดียว และได้ทำพิธีฝังหลักเมือง เมื่อ พ.ศ. 1601
ลักษณะกำแพงเมืองก่อด้วยอิฐชุบยางไม้บง ฐานกว้าง 10 ศอก สร้างเป็นแนวดิ่งเรียงอิฐตามความยาวของกำแพง 2 แถว แถงหนึ่ง ๆ กว้าง 3 ศอก เว้นช่องกลาง 4 ศอก เป็นทางยาวตลอดกำแพง เรียงอิฐสูงขึ้นไปพร้อมกับถมดินลงช่องกลางตามขึ้นไปจนสุดกำแพง จึงเรียงอิฐปิดข้างบนและข้างบนที่ขอบกำแพงนั้นไม่ได้สร้างเชิงเทิน หรือป้อมปราการ หากปักเสาระเนียดเป็นปราการรายรอบโดยว่างเสาห่างกันเป็นระยะ ติดไม้คร่าวประกับมั่นคง ด้านหน้าทีประตู 3 ช่อง ด้านหลังมี 2 ช่อง ประตูเมืองทุกช่องก็ด้วยอิฐชุบยางไม้บง ซุ้มประตูก็เป็นหลังคอทรงปราสาท คนเก่าท่านเล่ากันต่อ ๆ มาว่าซุ้มประตูไม่สวย ทรงปราสาทอยู่บนหลังคามุข มุขหันหน้าเข้าตัวเมืองทางหนึ่ง หันออกนอกตัวเมืองทางหนึ่ง นอกกำแพงด้านตะวันออก และด้านเหนือขุดคูลึก 6 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูภายนอก ด้านตะวันตกเป็นหน้าเมือง ภายในกำแพงเมืองเมืองเดิมไม่มีวัด มีแต่สถูป (ปัจจุบันคือวักมหาธาตุ)
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์