ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดพะเยา
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
วัดอนาลโยทิพยาราม
ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก
และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ
อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธรูปปางลีลา
พระพุทธรูปปางนาคปรก
สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย
รัตนเจดีย์
เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา
เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม
หอพระแก้วมรกตจำลอง
วัดพระธาตุจอมทอง
เป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา
บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม
เป็นสวนรุกขชาติ
มองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ
วัดศรีโคมคำ
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
และวัดพัฒนาตัวอย่าง
ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า
วัดพระเจ้าตนหลวง
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย
สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2067
พระเจ้าตนหลวง หรือ
พระเจ้าองค์หลวง
มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น
แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย
วัดศรีอุโมงค์คำ
ตั้งอยู่ถนนท่ากว๊าน
ภายในวัดมีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก
เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยานามว่า
หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์
ชาวบ้านเรียกว่า
พระเจ้าล้านตื้อ
ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย
ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี
ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน
กม.ที่ 723 ตำบลแม่กา
จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการอบรมอาชีพด้านอุตสาหกรรมสาขาอัญมณีและเครื่องประดับ
ให้แก่เยาวชน
ราษฎรในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง
ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณี
ศึกษาดูงานการเจียรไนพลอย
ทำเครื่องประดับเงิน
จัดแสดงและจำหน่ายอัญมณีเครื่องประดับ
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่
9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801 - 1841
เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก
ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา
(สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา
เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย
และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย
ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน
ณ บริเวณแม่น้ำอิง
ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด
ได้แก่ พะเยา เชียงราย และลำปาง
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
เป็นป่าต้นน้ำของกว๊านพะเยา
แม่น้ำวังและแม่น้ำลาว
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ
ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรัง
มีสัตว์ป่าหลายชนิด
กว๊านพะเยา
กว๊าน หมายถึง
หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่
คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น
กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่
รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม
ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ
70 ล้านปีมาแล้ว
โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว
เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ
18 สาย
กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา
เป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน
และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา
โบราณสถานเวียงลอ
(เมืองพระลอ)
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองในสมัยพ่อขุนงำเมือง
เพราะปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า
วัดร้าง อยู่มากมาย
พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ
วัดศรีปิงเมือง
และใกล้เวียงลอนี้ยังเป็นจุดที่ลำน้ำจุน
ไหลลงสู่แม่น้ำอิง
วัดพระธาตุขิงแกง
วัดตั้งอยู่บนเนินเขาธาตุขิงแกงซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านขิงแกงได้อย่างชัดเจน
องค์พระธาตุเป็นทรงล้านนาคล้ายกับพระธาตุสบแวนที่อำเภอเชียงคำ
วัดแสนเมืองมา
สร้างโดยชาวเมืองมาง
มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมาจนกระทั่งมาตั่งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำนี้
จุดเด่นของวัดอยู่ที่หลังคาวิหารที่ซ้อนลดกันหลายชั้น
ไม่นิยมทำหลังคาสูง
ตรงหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า
ซึ่งทำเป็นรูปหงษ์แกะสลัก
หรือตัวนาคคาบแก้ว
นอกนั้นมีการประดับประดาด้วยไม้แกะสลัก
ตกแต่งด้วยสีต่างๆดูงดงามตา
ส่วนบานประตูทำด้วยไม่แกะสลักทุกบาน
ประตูเข้าสู่พระวิหารจะทำเป็นสามมุข
มุขแต่ละทิศทำเป็นสัตว์สามอย่างได้แก่
พญานาค เสือ และ สิงห์
และภายในฝาผนังมีจิตรกรรมฝาผนังที่วาดเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทลื้อ
และพระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน
วัดพระเจ้านั่งดิน
เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัด
ไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ
เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน
แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น
จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า
พระนั่งดิน
วัดพระธาตุสบแวน
มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก
คาดว่าอายุราว 800 ปี
ภายในบรรจุเส้นพระเกศา
และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า
องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง
แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้
ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ
จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม
และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ
โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส
อนุสรณ์ผู้เสียสละ
พ.ต.ท. 2324
เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน
ตำรวจ
ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตยในพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย
วัดท่าฟ้าใต้
ลักษณะตัวพระอุโบสถเป็นทรงเตี้ยก่ออิฐถือปูน
หลังคาสามชั้นมุงด้วยแป้นเกล็ดตามแบบสถาปัตยกรรมไทยลื้อ
องค์พระประธานแกะสลักจากไม้ประดู่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ซึ่งอัญเชิญมาจากสิบสองปันนา
ประดิษฐานบนฐานชุกชีทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมศิลปะไทลื้อ
ประดับด้วยลายปูนปั้นรูปเครือเถาลงรักปิดทอง
ประดับกระจก มีแท่นธรรมาสน์
ลักษณะคล้ายมณฑปหรือปราสาท
วนอุทยานบ้านถ้ำ
เป็นสถานที่อันร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักผ่อน
และในบริเวณเดียวกันนั้นยังประดิษฐาน
พระธาตุจอมศีล
ตั้งอยู่บนเชิงเขาเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของดอกคำใต้มาช้านาน
เมื่อขึ้นไปถึงบนลานพระธาตุแล้วจะมองเห็นทิวทัศน์อำเภอดอกคำใต้อย่างสวยงาม
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง
ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
ภายในอุทยานฯ มีสัตว์หลายชนิด
นับเป็นอุทยานฯ
ที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือประมาณ
เป็นนกยูงเขียว (หรือนกยูงไทย)
ชนิดพันธุ์ย่อยอินโดจีน
วนอุทยานภูลังกา
มีความสูงประมาณ 1,700 เมตร
จากระดับน้ำทะเล
ทางขึ้นเขามีต้นไม้นานาชนิด
บางช่วงเป็นป่าทึบ
ชาวเขาเผ่าเย้าเรียกภูนี้ว่า
"ฟินจาเบาะ"
บนยอดภูพื้นที่แคบจุคนได้ไม่เกิน
10 คน จุดเด่นของภูลังกาคือ
ไส้เดือนร้องได้ ไผ่ไร้กอ
และทะเลหมอก
อุทยานแห่งชาติภูซาง
พื้นที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
มียอดเขาดอยผาหม่น
ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลาว
น้ำเปื่อย น้ำบง และน้ำญวณ
เพื่อใช้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรม
นอกจากธรรมชาติที่สมบูรณ์
บริเวณอุทยานฯ ยังมีเต่าปูลู
ซึ่งเป็นเต่าพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธ์
มีขนาดเล็ก ตัวเตี้ย หางยาว
และด้วยเป็นเต่าพันธุ์หัวโต
ขาทั้ง 4
ข้างและหางไม่สามารถหดเข้ากระดองได้
ตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว
(บ้านฮวก)
เป็นจุดผ่อนปรนให้มีการค้าระหว่างไทยกับลาว
เป็นตลาดนัดเพื่อให้ประชาชนทั้งไทยและลาวได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
สินค้าที่นำมาขายคือ
ผลผลิตทางการเกษตรรวมทั้งงานหัตถกรรม
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์