ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายประเทศอินเดีย
อินเดียเป็นแผ่นดินที่ทอดยาวจากเทือกเขาหิมาลัยมายังมหาสมุทรอินเดีย เป็นทวีปใน
เอเชียใต้ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก มีพลเมืองเป็นที่สองรองจากจีน มีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้า
บริหาร ภาษาโบราณคือ สันสกฤตและบาลี ภาษาทางราชการคือฮินดี เมืองหลวงคือ นิวเดลี
อารยธรรมของอินเดียในสมัยก่อนราวห้าพันปีมาแล้ว มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณแห่งหนึ่งซึ่งชาวเมือง
เรียกว่าโมเฮนคาโร ริมฝั่งแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน ปัจจุบันนี้จมลงดินไปแล้ว
วัฒนธรรมของอินเดียโบราณ เมื่อครั้งที่ชาวอริยะกะเข้าครอบครองได้แบ่งชิ้น ออกเป็น
วรรณะต่าง ๆ 4 วรรณะ คือ
-
พราหมณ์ ได้แก่ ตระกูลนักบวช
-
กษัตริย์ ได้แก่ ตระกูลนักรบ
-
แพศย์ ได้แก่ เป็นพลเมืองชิ้น กลาง
-
ศูทร์ ได้แก่ พวกกรรมกร
วัฒนธรรมต่าง ๆ ของชาวอินเดียจะผูกพันกับศาสนา ไม่ว่าจะเป็นฮินดูหรือพุทธ
วัฒนธรรมการแต่งกายของอินเดียเนื่องจากประเทศอินเดียมีภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง อากาศ
ร้อน จะมีผ้าสำหรับนุ่งและห่มใช้เป็นเครื่องปกปิดร่างกายเท่านั้น และเนื่องจากมีชาวอาหรับเข้ามา
รุกรานจึงรับวัฒนธรรมอาหรับด้วย
การทอผ้ามัดหมี่และผ้ายกของอินเดีย
ผ้าอินเดียแบบดั้งเดิม พิมพ์โดยใช้สีสด ซึ่งมีความเชื่อว่า สิ่งทอสีสดและหลากหลายสีเป็น
เอกลักษณ์เดิมของชาวอินเดีย และนิยมผ้าทอจากกี่ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ใน
ชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษล้วนแต่ทอด้วยมือโดยใช้กี่ การทอผ้าด้วยมือของอินเดียจะมี
ลักษณะแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ซึ่งจะใช้ผ้าคลุมไหล่ของท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ
เอกลักษณ์ในสังคมของตน ในวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ จะมีวิธีการแต่งตัวและสีสันของเสื้อผ้า
แตกต่างกัน โดยเฉพาะความยาวและวิธีการแต่งสาหรี่ ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของผู้หญิงอินเดีย
-
ผ้าคาดี เป็นผ้าฝ้ายดิบ เนื้อหยาบ เป็นศิลปหัตถกรรมอันเก่าแก่ มีความสำคัญทาง การเมืองด้วย
-
ผ้าปาโตลา เป็นผ้ามัดหมี่ของรัฐกุจารัฐ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกรรมวิธีในการ ทอผ้ามัดหมี่ ผ้าสาหรี่ ปาโตลาได้รับการสงวนไว้ใช้ในชุดแต่งงานของเจ้าสาว มีลักษณะเป็นสีสด เช่น สีแดง สีเขียว และสีคราม ออกแบบด้วยรูปเรขาคณิต ดอกไม้ นกและสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้ง ศิลปะการร่ายรำ
-
ผ้าเทเลีย รูมัล (telia rumal) เป็นผ้ามัดหมี่ใช้นุ่งพันท่อนล่างของร่างกายและบางครั้งใช้ โพกศีรษะ ปัจจุบันกำลังจะสูญหายไป รัฐบาลอินเดียและหน่วยงานต่าง ๆ พยายามร่วมมือกัน เพื่อจะ รื้อ ฟื้นกรรมวิธีและรูปแบบการทอผ้าชนิดนี้
-
ผ้าจัมดานี (ผ้ามัสลิน) เป็นผ้าทอยกดอกที่มีรูปภาพและลวดลายที่งดงามที่สุดที่นิยม จะเป็นลายดอกไม้และใบไม้ แต่ที่สะดุดตาที่สุดของผ้าสาหรีจัมดานี คือลายโคเนีย เป็นลายดอก มะม่วงบนชายผ้า
-
ผ้าสาหรี่ เป็นผ้าที่สวยงามและมีราคาแพงจะทอยกดิ้น ทองหรือเงิน ผ้าดอกจากเมือง พาราณสีในอินเดียทางเหนือ เป็นตัวอย่างสำคัญของการทอผ้าของอินเดีย ผ้าสาหรี่เป็นวิธีการ นุ่งผ้าเฉพาะผู้หญิง ความยาวของผ้าประมาณ 6 หลา มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ การวางลายของ ผ้าสาหรี่มีกรองลายที่แน่นอน โดยรอบผืนผ้าทั้งสี่ด้าน มีการทำลายที่แตกต่างจากลายตรงกลาง ผืนผ้า ด้านที่เป็นชายผ้ามีการขยายลายให้เห็นชัดว่าเป็นชายผ้า
การนุ่งผ้าสาหรี่จะนุ่งพันรอบตัวหนึ่งรอบ แล้วนำผ้ามาพับจีบด้านหน้าบางส่วนแล้วจึง นำผ้าที่เหลือมาพันโอบไปด้านหลัง จากนั้น นำชายผ้าที่เหลือมาตวัดคลุมไหล่ ให้เหลือผ้าทิ้งชาย ลงไปทางด้านหลัง
-
ผ้าโรตี (Dhoti) เป็นวิธีการนุ่งผ้าทั้งชายและหญิงชาวอินเดีย
-
ผ้าโรตีของผู้ชาย มีความยาว 6 หลา เป็นผ้าพันสีนวล หรือสีขาว
-
ผ้าโรตีของผู้หญิง มีความยาว 9 หลา เป็นผ้าที่มีสีสันลวดลายต่าง ๆ
การนุ่งผ้าโรตี จะพับจีบด้านหน้าจากชายผ้าทั้งซ้ายและขวาและนำมาทบเหน็บทางด้าน ลำตัว แล้วจึงเอาผ้าที่เหลืออีกด้านไปเหน็บไว้ด้านหลัง ผู้ชายชาวอินเดียจะนุ่งโรตีทั่วไป แต่ผู้หญิงที่นุ่งโรตีมักจะอยู่ทางอินเดียใต้ ชายผ้าโรตีของ ผู้หญิงจะไม่เหน็บเก็บหมด แต่จะเหลือชายผ้าด้านหนึ่งไว้คลุมไหล่
การแต่งกาย
ชาวอินเดียโบราณ จะแต่งตัวคล้ายของไทยสมัยเชียงแสน ต่อมาสตรีนิยมสวมเสื้อแขนยาว
แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบช้างใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน
อย่างดีห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้น เมืองจะนุ่งสาหรี่ หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว
ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า
การแต่งกายของชาวอินเดีย
พม่า
ลาว
กัมพูชา
เวียดนาม
มาเลเซีย
อินโดนีเซีย
สิงคโปร์
ฟิลิปปินส์
ศรีลังกา
ปากีสถาน
ธิเบต
ภูฐาน
บังคลาเทศ
เนปาล
มงโกเลีย
ญี่ปุ่น
เกาหลี
จีน
ไต้หวัน
อินเดีย