ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายชาวเอเซีย

การแต่งกายฟิลิปปินส์

ชนเผ่าเดิมของฟิลิปปินส์ คือ นิโกรโตส์ (Negritos) อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย ต่อมาชนเผ่าอินโดนีเซียได้เข้ามาอยู่ในประเทศนี้ เป็นพวกเชื้อชาติมองโมลอยด์ ผสมคอเคเซียน ที่มีเหลืออยู่ในฟิลิปปินส์ ได้แก่ พวกอีลองโกทส์ ต่อมาชนเผ่ามาเลย์ (Melags) เข้ามาอาศัยอยู่ พวกมาเลย์ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมกับพวกอินเดีย จีน อาหรับมาแล้ว จึงมีการปกครอง กฎหมาย ศาสนา วรรณคดี ศิลป วิทยาศาสตร์เป็นของตนเอง พวกมาเลย์อพยพเข้ามาฟิลิปปินส์ หลายครั้ง ครั้งที่ 2 ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกตากาล็อค วิสายัน อีโกกาโน ปอมปังโก และพวก ฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนพวกที่เข้ามาครั้งที่ 3 จะนับถือศาสนาพระมะหะหมัด เป็น บรรพบุรุษของพวกฟิลิปปินโน – มุสลิม อยู่ในเกาะมินดาเนา และซูลู ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งเอเซีย มีประเทศในเอเซียและตะวันออกไกลเข้ามาทำ การค้าขายด้วย จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 พวกแขกมะหะหมัดแผ่อิทธิพลเข้ามา การค้าขายกับ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียลดน้อยลง จนกระทั่งชาวสเปนเข้ามา แล้วได้ทราบว่าวัฒนธรรมและ ความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จีน และชาวอาหรับ

การแต่งกาย ของชาวฟิลิปปินส์ในยุคนั้น นิยมใช้เครื่องประดับกาย ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น 3 ชนชิ้น คือ ขุนนาง เสรีชน และทาส

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ และสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตก

เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล

การทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมาก โดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน

การแต่งกายของชาวฟิลิปปินส์

พม่า
ลาว
กัมพูชา
เวียดนาม
มาเลเซีย
อินโดนีเซีย
สิงคโปร์
ฟิลิปปินส์
ศรีลังกา
ปากีสถาน
ธิเบต
ภูฐาน
บังคลาเทศ
เนปาล
มงโกเลีย
ญี่ปุ่น
เกาหลี
จีน
ไต้หวัน
อินเดีย

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้