วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
และผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ผลสรุปจากการศึกษาในภูมิภาคเอเชียเพื่อการบริหารจัดการ
บทสรุปเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายบริหารจัดการที่ได้จากการศึกษาของกลุ่มนักวิจัย ในเอเชีย โดยทั่วไปมี 2 ประเด็นคือ
- มีหลักฐานปรากฏจากการตรวจวัดลักษณะลมฟ้าอากาศหลายแห่งในทวีปเอเชีย พบว่า ภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดและอากาศร้อนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (distinct and significant warming) ในทศวรรษที่ผ่านมา และพบว่าปริมาณน้ำฝนทั้งปีลดลงในหลายสถานีตรวจวัด การลดลงของปริมาณน้ำฝนนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และเริ่มมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี ค. ศ. 1990 เป็นต้น
- มีหลักฐานการเพิ่มขึ้นทั้งระดับความรุนแรงและความถี่ (intensity and frequency) ของการเกิดปรากฏการณ์ลักษณะอากาศที่รุนแรง เช่น คลื่นความร้อน (heat wave) พายุโซนร้อน (tropical cyclones) ช่วงแล้งที่ยาวนานขึ้น, ฝนตกหนักรุนแรง (intense rainfall) ทอร์นาโด (tornadoes) การถล่มของหิมะ พายุฟ้าคะนอง และพายุฝุ่น เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
ผลสรุปข้างบนนี้กับการศึกษาที่มีมาแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างการติดตามศึกษาในเรื่องเหล่านี้ พอประมวลได้ดังนี้
การเพิ่มขึ้นของพายุโซนร้อน (Tropical cyclones) กับ ภาวะโลกร้อน (global warming)
ความเชื่อมโยงระหว่างการเพิ่มขึ้นของพายุโซนร้อน (tropical cyclones) กับ ภาวะโลกร้อน (global warming) : มีเหตุผลอธิบายพอสังเขปได้ว่า
โดยทฤษฎีแล้วความเชื่อมโยงระหว่างการเพิ่มขึ้นของพายุโซนร้อนกับภาวะโลกร้อนอาจสามารถอธิบายด้วยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์บางประการ กล่าวคือ
กลไกอันสำคัญในการเกิดพายุทุกลูกก็คือ การควบแน่นของไอน้ำในอากาศ(Condensation of water vapor) จะต้องปลดปล่อยพลังงานออกมาอุณหภูมิที่แตกต่างกันเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะที่ไม่เสถียร (instabilities) ของมวลอากาศและทำให้เกิดกระแสลม ภาวะที่ไม่หยุดนิ่งของมวลอากาศดังกล่าว (unstable disturbances) จะเพิ่มมากขึ้น ๆ จนเป็นพายุที่มีพลังงานมหาศาล (powerful storms) พายุโซนร้อน แตกต่างจาก พายุเฮอร์ริเคนในเขตอบอุ่น(mid-latitude storms) ตรงที่กลไกหลักในการเกิด พายุเฮอร์ริเคน เกิดจากความไม่เสถียรภาพของสภาวะอากาศเนื่องจากความกดอากาศต่างกัน('baroclinic instabilities) เป็นสำคัญ ในขณะที่พายุโซนร้อน เกิดจากสาเหตุสภาวะไม่เสถียรของมวลอากาศแนวตั้งในพื้นที่ราบบนบกอันเกิดจากความร้อนเผาดินและอากาศ (plain convective instabilities) เป็นสำคัญ จากการติดตามเฝ้าระวังในเรื่องนี้ พบว่า ในช่วงระหว่างปี ค. ศ. 1990-2007 จำนวนของพายุเฮอริเคนและพายุโซนร้อนได้เพิ่มมากขึ้นในทุกลุ่มหาสมุทร (Ocean basin)
ผลการคำนวณจากแบบจำลองคณิตศาสตร์ พบว่าภาวะโลกร้อน จะทำให้เกิดพายุที่รุนแรงมากขึ้นในเขตอบอุ่น ซึ่งก็พอมีหลักการทางฟิสิกส์ที่อธิบายได้ดังนี้:
- เมื่อผิวโลกและชั้นบรรยากาศร้อนมากขึ้นพลังงานความร้อนก็จะเผาน้ำให้ระเหย ได้มากขึ้น มวลอากาศก็จะมีความชื้นมากขึ้น, แต่
- จะมีปัจจัยหนึ่งที่สามารถลดความรุนแรงของพายุนี้ได้คือ ภาวะโลกร้อนจะทำให้ บริเวณขั้วโลก( polar regions) อุ่นขึ้นเร็วกว่าบริเวณพื้นที่ในเส้นรุ้งที่ต่ำกว่า จึงช่วยลดความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างแนวเหนือ-ใต้ ของโลก(meridional temperature gradient) พายุในเขตอบอุ่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความแตกต่าง กันของอุณหภูมิมากๆ ( sharp temperature gradients)
- พายุในเขตอบอุ่นมีอิทธิพลอันสำคัญต่อระบบลมฟ้าอากาศเนื่องจากมันเป็นตัวขับเคลื่อนเอาความร้อนขึ้นไปยังขั้วโลก (poleward heat transport) ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงคาดหมายว่าจะมีความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนพายุกับความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างบริเวณขั้วโลกกับเขตศูนย์สูตร (pole-equator temperature differences)
ภาวะโลกร้อนกับปรากฏการณ์เอนโซ่ (ENSO)
ความผันแปรของอากาศในเขตเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมโยงอยู่กับปรากฏการณ์ ENSO เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ลักษณะอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะของ El Nino มากขึ้น ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความถี่การเกิด ENSO และการเปลี่ยนแปลงวัฏจักรของฤดูกาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าความผันแปรจากค่าเฉลี่ยอุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดความแห้งแล้ง และอุทกภัยถี่ขึ้นระหว่างช่วงฤดูร้อนของประเทศที่อยู่ทางตะวันออก ทางใต้ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย จึงพอกล่าวได้ว่าในอนาคตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วนี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้น
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเริ่มเกิดขึ้นแล้วจริงหรือ
ผลสรุปจากการศึกษาในภูมิภาคเอเชียเพื่อการบริหารจัดการ
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับระบบนิเวศในทวีปเอเชีย
สัญญาณบ่งบอกผลกระทบของโลกร้อนในประเทศไทย
ผลกระทบที่เชื่อมโยงทั้งระบบ
ผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
องค์ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
บทสรุป
อ้างอิง