วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
และผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
องค์ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ในรายงานของ IPCC ประจำปี ค.ศ. 2007 ที่จะออกมาในเร็วๆ นี้ (ยังไม่อนุญาตให้อ้างอิง) ได้กล่าวถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับภูมิภาคต่างๆ ของโลกไว้ดังนี้
ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ
การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล การตกของฝน และของหิมะได้เกิดขึ้นแล้ว และ มี ความเป็นไปได้มากขึ้นทั้งในอเมริกาเหนือ และ ออสเตรเลีย
มั่นใจว่าจะเกิดผลกระทบต่อทั้งปริมาณ/คุณภาพน้ำจืดในทุกภูมิภาคของโลก เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล
ความผันแปรของฝนจะเพิ่มมากขึ้น และ โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและความแห้งแล้งทางอุทกวิทยา (hydrological drought) จะเพิ่มมากขึ้น (HC)
การพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงเรื่องปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำต่าง ๆ ของโลก หลังจากปี พ.ศ. 2020 ยังอยู่บนความไม่นอน (HC) การร้อนขึ้นของโลก และเหตุการณ์รุนแรงด้านนี้ จะส่งผลต่อมลภาวะของน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของคน และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ (HC)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเพียงหนึ่งในพหุปัจจัยที่ส่งผลต่อเรื่องทรัพยากรน้ำ ผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบสะสมของการใช้ที่ดินจะเป็นตัวการสำคัญในเรื่องทรัพยากรน้ำ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้
ผลกระทบต่อระบบนิเวศ (Ecosystems)
การตอบสนองของระบบนิเวศ และองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิอากาศเป็นเรื่องซับซ้อน และ มักจะควบคู่กันไปกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์ ซึ่งคาดว่าจะเกิดผลตามมาในภายหลังเมื่อมันถึงระดับวิกฤติ (lagged and threshold effects) เช่น การสูญพันธ์ของพืช และสัตว์บางชนิด (HC)
ผลกระทบต่ออาหาร เส้นใย และผลผลิตป่าไม้ (Food, Fiber and Forest Products (FFF))
ในขณะที่โลกร้อนขึ้นในระดับปานกลาง (moderate warming) ทำให้ผลผลิตพืช และทุ่งหญ้าเพิ่มขึ้นในเขตอบอุ่น (temperate region) แต่การเพิ่มขึ้นของภาวะโลกร้อนเพียงเล็กน้อย (slight warming) จะส่งผลทำให้ผลผลิตดังกล่าวในพื้นที่เขตร้อน (tropical region) ลดลง (MC) โดยทั้งโลกแล้ว ผลผลิตจากป่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่รุนแรง (modesty) ในระยะสั้น และระยะปานกลาง (HC)
ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ต่อเนื่องจะได้รับผลกระทบสูง (VHC) โดย ผลกระทบจะมีมากกว่าเรื่องของน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะจะมีปรากฏการณ์รุนแรงจากพายุโซนร้อน (extreme events due to tropical cyclones)เสริมเข้ามาด้วย (VHC)
การเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง น้ำท่วมชายฝั่ง และการสูญเสียระบบนิเวศชายฝั่งเป็นอย่างมาก (overhelmingly negative) (VHC) ชุมชนชายฝั่งทะเลในประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบทั้งจากภาวะน้ำท่วม การแทรกซึม/บุกรุกของน้ำเค็ม เข้าสู่แหล่งน้ำจืด ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และความมั่นคงในเรื่องอาหาร (HC) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเริ่มเกิดขึ้นแล้วจริงหรือ
ผลสรุปจากการศึกษาในภูมิภาคเอเชียเพื่อการบริหารจัดการ
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับระบบนิเวศในทวีปเอเชีย
สัญญาณบ่งบอกผลกระทบของโลกร้อนในประเทศไทย
ผลกระทบที่เชื่อมโยงทั้งระบบ
ผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
องค์ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
บทสรุป
อ้างอิง