สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
1 บทนำ
1.1.แนวคิด/ทฤษฎี
1.2.จุดประสงค์
1.3.ความเป็นมา
1.3.ความเป็นมา
สังฆาธิปไตย คือระบอบการปกครองสงฆ์ในสมัยพุทธกาลที่ทรงได้วางรูปแบบเอาไว้เพื่อให้สงฆ์มีอำนาจและเป็นใหญ่ในการทำกิจการต่าง ๆ โดยไม่ให้ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลัก เป็นที่ตั้งกว่าองค์กรเพื่อต้องการให้เกิดความสามัคคี ความพร้อมเพียงกันของหมู่คณะ ( ) และความคล่องตัวขององค์กร ที่เหมาะสมในยุคสมัยนั้น รูปแบบการปกครองแบบสังฆาธิปไตยนี้พระพุทธเจ้าทรงมีประสบการณ์จากแคว้นเล็ก ๆ อย่างสักกะทางเหนือของอินเดียที่มีระบอบการปกครองอย่าง สังฆะ ตอนที่พระองค์ทรงพระชนมายุได้
20 ปีบริบูรณ์แล้วต้องเข้ามาเป็นสมาชิกของศากยะสังฆะ หรือสภามนตรี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ชื่อว่า สัณฐาคาร และมัลละที่มีขนาดเล็กแต่ปกครองด้วยอปริหารนิยธรรม
7 ประการ จำทำให้แคว้นขนาดเล็กแต่กลับเป็นแคว้นที่ทรงพลังแข็งเกร่ง ประกอบกับคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้นมีไม่มากนักและที่สำคัญล้วนแล้วแต่มีอุดมการณ์ที่จะบรรลุธรรมทั้งนั้นแล้วจึงเข้ามาบวช
จะเห็นได้ว่าองค์กรสงฆ์ในสมัยพุทธกาล จะมีแนวโน้มไปในทางสามัคคีธรรมคือมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุขโดยมีการบริหารจัดการผ่านมาทางสังฆะ หรือหมู่ของภิกษุ
หากจะนำสังฆาธิปไตยมาเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยเพื่อให้เห็นถึงที่มาของอำนาจที่มีการถ่วงดุลกันและกันทั้ง
3 อำนาจ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจการบริหาร อำนาจตุลาการ นั้นไม่ได้เพราะภาพที่ออกมาไม่ชัดเจนและอาจทำให้การศึกษาสังฆาธิปไตยเป็นไปอย่างคับแคบอึดอัด ทั้งนี้เป็นเพราะ
- ก.ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory) อาณาเขตของอาณาจักร
การพักอยู่อาศัยมิได้อยู่กันมีอาณาเขตชัดเจนแน่นอนจนสามารถนำมาเป็นรัฐ
หรือประเทศชาติได้
แต่ได้อาศัยอาณาเขตของบ้านเมืองเป็นหลักโดยกระจายตัวไปอยู่ตามป่าเขา วัด
อารามต่าง ๆ ในดินแดนของเมืองนั้น ๆ
หรือแม้แต่การทำสังฆกรรมก็มีอาณาเขตที่เฉพาะเล็กโดยการสมมุติเอาใหญ่ห้ามเกิน 3
โยชน์ เล็กห้ามน้อยกว่าภิกษุเมื่อนั่งในหัตถบาตรแล้วไม่น้อยกว่า 21 รูป ทั้งนี้ใหญ่หรือเล็กนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและความสำคัญของสังฆกรรมนั้น ๆ อาจจะทั้งจังหวัด, ทั้งอำเภอ, ทั้งตำบล, ทั้งวัด หรือแม้กระทั้งกลุ่มเล็ก ๆ
4 รูปขึ้นไปกระทำสังฆกรรมโดยอาศัยพื้นที่ทำภายในสีมา หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าอุโบสถก็ได้แล้ว
กฎเกณฑ์ในเรื่องดินแดนนี้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากนัก ยิ่งอาณาจักรในยุคโบราณที่ปกครองด้วยระบบนครรัฐด้วยแล้วยิ่งมีความสำคัญน้อยลง แต่ความสำคัญไปเน้นที่กำลังคน หรือจำนวนคน แม้ในโบราณเมื่อไม่กี่ร้อยปีที่แล้วเช่นสมัยอยุธยาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่
2 ปี พ.ศ. 2310 ทัพพม่าก็เข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ อยุธยาก็ให้กวาดต้อนผู้คนเข้ามาอยู่ในกำแพงเมืองเสียทั้งหมด แต่เมื่อพม่าชนะก็ต้อนคนไปเสียเกือบหมดเมือง โดยไม่ได้สนใจเรื่องดินแดนของกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใดเลย จึงทำให้มองว่าพุทธจักรในสมัยนั้นน่าจะเน้นที่จำนวนคนหรือจำนวนพระภิกษุมากกว่าคำว่าดินแดน
- ข. ประชากรหรือพลเมือง (Population) คือจำนวนของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล
ที่มีไม่มากนัก จึงเป็นองค์กรขนาดเล็กซึ่งสามารถรวมตัวกันเฉพาะกิจนั้น ๆ ได้โดยไม่จำกัดเฉพาะในเมืองใดเมืองหนึ่ง หรืออารามใดอารามหนึ่ง แต่มีหลักกว้าง ๆ เอาไว้ว่า ภิกษุเมื่อรวมตัวกันแล้วย่อมทำสังฆกรรมได้ เช่น พิธีกฐิน, เข้าร่วมพิธีกรรมอุปสมบท, พิธีกำหนดสีมา หรือแม้แต่สงฆ์แต่งตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ , ภิกษุเป็นตัวแทนของสงฆ์รับสังฆทาน เป็นต้น
ดังนั้นพลเมืองของสงฆ์ในที่นี้หมายรวมเอาภิกษุณี สามเณร สามเณรี เข้าไปด้วย เพราะ อย่างน้อยสามเณรหรือสามเณรีก็คือเหล่าก่อแห่งสมณะแม้ไม่สามารถเข้าร่วมสังฆกรรมได้ แต่เมื่อเรียกรวมโดยองค์กรแล้วก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสงฆ์เช่นกัน - ค.รัฐบาล (Government) พระพุทธเจ้าคือผู้นำที่มีหลายพระนาม เช่น ทรงเป็น
ประมุขสงฆ์ สังฆบิดร สังฆราชา พระธรรมราชา เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่หมายถึงผู้นำซึ่งเป็นผู้นำที่มีธรรมบารมี พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งพระศาสนา ย่อมทรงมีความชอบธรรมอย่างยิ่งในการดูแลปกครองเหล่าภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำทางด้านกำหนดทิศทางคณะสงฆ์ ทรงวางนโยบาย ทางกำหนดวิสัยทัศน์ ทรงจัดการบริหารองค์กร ถึงแม้ว่าพุทธจักรจะไม่ใช่รัฐหรือองค์กรทางการปกครองที่เป็นทางการอย่างเช่นรัฐทั่ว ๆ ไป แต่ก็ย่อมมีหน่วยสังคมหรือองค์กรอื่น เช่น กลุ่มเครือญาติอาวุโสในสังคม (เผ่าชนบางแห่ง) ทำหน้าที่ปกครองสมาชิกสังคมคล้ายคลึงกับหน้าที่ของรัฐบาลในสังคมสมัยใหม่ อยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกว่าสังคมสงฆ์ในสมัยพุทธกาลก็มีความคล้ายคลึงกลับรัฐสักกะของพระราชบิดาของพระองค์เอง
- ง.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นพระราชอำนาจที่บริสุทธิ์ทั้งผู้ปกครองและผู้ อยู่ภายใต้การปกครองที่โดยมากล้วนแล้วแต่เป็นพระอริยเจ้า แม้พระพุทธเจ้าจะมีพระราชอำนาจเต็มที่แต่พระองค์ก็ไม่เคยกดขี่ หรือแสดงถึงพระราชอำนาจนั้น ๆ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อยู่ภายใต้การปกครอง
แต่หากมองสังฆาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองในมิติทางศาสนาย่อมจะทำให้ทัศนคติของผู้เข้ามาศึกษากว้างขึ้นและเป็นไปด้วยความสมเหตุสมผลในการศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมต่าง ๆ ตามโอกาสที่จะกระทำได้ สังฆาธิปไตย ต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ และกว้างขึ้น เนื่องจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการยุคหลัง ๆ มักจะพยายามชี้นำสังคมไปในเรื่องของธรรมาธิปไตย ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ธรรมาธิปไตย มิใช่ระบอบการปกครอง เพียงแต่เป็นธรรมรัฐหรือกรอบแนวความคิดอันเป็นหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็น เป็นธรรม และชอบธรรมเท่านั้น
ในมุมมองของผู้เขียนเองต้องการที่จะพัฒนารัฐศาสตร์ ความรู้ทางการเมืองการปกครองมาประยุกต์เข้ากับพุทธศาสตร์ ความรู้หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยได้ศึกษาค้นคว้าและเขียนศาสตร์ทั้ง
2 ออกมาเป็นเอกสารเผยแผ่ รวม 4 แนวทาง ดังนี้
- แนวทางแรก ; มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ทฤษฎี
มุมมองนี้ได้พยายามศึกษาค้นคว้ารัฐศาสตร์ในแง่ของทฤษฎีในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎกเพื่อให้เห็นภาพรวมถึงประวัติศาสตร์ แนวคิด พัฒนาการ รูปแบบของการจัดองค์กร โดยได้พยายมหยิบยกประเด็นทางการเมืองการปกครองในสมัยพุทธกาลมานำเสนอ และได้ยกตัวอย่างพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง เช่น อัคคัญสูตร พระสูตรว่าด้วยการกำเนิดรัฐ, จักกวัตติสูตร พระสูตรว่าด้วยอุดมรัฐ, กูฏทันตสูตร พระสูตรว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาสีหนาทสูตร พระสูตรว่าด้วยการจัดองค์กร, มหาปรินิพพานสูตร พระสูตรว่าด้วยแนวคิดทางการเมืองการปกครอง เป็นต้น ตลอดรวมไปถึงนักคิดนักเขียนที่พยายามนำประเด็นทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เช่น การตีความคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวประชาธิปไตย, เป็นแนวสังคมนิยม, เป็นแนวธรรมิกสังคมนิยม, เป็นแนวปรัชญาการเมือง, เป็นแนวธรรมาธิปไตย, เป็นแนวนิติรัฐ, เป็นแนวมโนทัศน์ เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก อันเป็นหนังสืออันดับที่ 8 ของผู้เขียน
- แนวทางที่สอง ; มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของโครงสร้างหน้าที่
มุมมองนี้ได้พยายามศึกษาค้นคว้าถึงรูปแบบทางการปกครองที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา ตลอดถึงความเป็นมา การจัดรูปแบบ โดยยกเป็นเด็นเรื่องของสังฆะ ความหมาย, ความเป็นมา, เรื่องของอธิปไตย อำนาจในการจัดการ โดยยกตัวอย่างการโหวตลงคะแนนเสียง, การเป็นตัวแทนสงฆ์ เป็นต้น , เรื่องของสังฆาธิปไตย อำนาจของสงฆ์ ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง สังฆาธิปไตย ; ระบอบการปกครองสงฆ์ เล่มที่ท่านกำลังถืออยู่นี้ อันเป็นหนังสืออันดับที่ 11 ของผู้เขียน - แนวทางที่สาม ; มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของจริยธรรมของผู้นำ
มุมมองนี้ได้พยามยามศึกษาค้นคว้าถึง หลักธรรมคำสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรม-คุณธรรมของผู้บริหาร ตลอดถึงหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นเรื่องของธรรมาภิบาล เช่น หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวางกรอบบริหารบ้านเมือง, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการเป็นผู้นำ, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการสงเคราะห์คนในสังคม, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวงแผนนโยบาย, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการฝึกฝนตนเอง เป็นต้นทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง ธรรมรัฐ-ธรรมาธิปไตย-ธรรมาภิบาล อันเป็นหนังสืออันดับที่ 13 ของผู้เขียน - แนวทางที่สี่ ; มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของพฤติกรรมศาสตร์
มุมมองนี้ได้ศึกษาค้นคว้ารัฐศาสตร์ในแง่ของวรรณกรรมทางศาสนา ว่ามีรูปแบบการเขียนอย่างไร มีแง่คิดไหนบ้าง และที่สำคัญมีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างไร อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งอดีตและปัจจุบัน ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง รัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา อันเป็นหนังสืออันดับที่ 14 ของผู้เขียน
สังฆาธิปไตย เป็นการพยายามประยุกต์หลักการเพื่อให้เกิดการปกครองใหม่ ๆ ทั้งนี้เกิด ความไม่แน่ใจว่าระบอบการปกครองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างประชาธิปไตยนี้จะดีที่สุด อาจเป็นเพราะพระพุทธศาสนาสอนในเรื่องของกฎไตรลักษณ์คือทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ระบอบการปกครองที่ว่าดีที่สุดในปัจจุบันอาจจะไม่ดีที่สุดสำหรับในอนาคตก็ได้ในอดีตระบอบประชาธิปไตย นักปราชญ์ชื่อก้องโลกอย่างเช่น ก็ว่าเป็นระบอบที่เลว จึงมีคำถามว่าแล้วในอนาคตละจะดีแค่ไหน? ระบอบการเมืองระบอบใดระบอบหนึ่งจะเกิดขึ้นต้องมีองค์ประกอบ มีสภาพสังคมและภูมิหลังที่มีความแตกต่างกัน เช่น
- ระบอบประชาธิปไตย เกิดเพราะคนตะวันตกโหยหาอิสรภาพ
- ระบอบคอมมิวนิสต์ เกิดเพราะเห็นนายทุนเอาเปรียบคนผู้ใช้แรงงาน
- ระบอบสังฆาธิปไตยเกิดเพราะต้องการความพร้อมเพียงของหมู่คณะหรือความสามัคคี