สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
4 สังฆาธิปไตย
4.1.คำนิยาม
4.2.อุดมการณ์
4.3.หลักการ
4.4.อำนาจ
4.5.พระราชอำนาจ
4.6.บทลงโทษ
4.1.คำนิยาม
คำว่า สังฆาธิปไตย (สังฆ+อธิปไตย) เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกันแล้วได้ความหมายว่าสงฆ์เป็นใหญ่ หรือสงฆ์มีอำนาจเป็นใหญ่ในองค์กร ถ้ายอมรับว่าระบอบการปกครองที่เรียกว่าสังฆาธิปไตยนี้เป็นทฤษฎีหนึ่ง นั่นก็หมายความว่าสังฆะ หรือกลุ่มชนที่เป็นพระภิกษุและพระภิกษุณี ย่อมอยู่ภายใต้อำนาจของสงฆ์หรือ...ถ้าจะให้ชัดก็ต้องระบุว่า สงฆ์มีอำนาจ สงฆ์เป็นใหญ่ หรืออำนาจเป็นของสงฆ์ ไม่ใช่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แต่อำนาจสงฆ์เป็นใหญ่นี้ มีแนวโน้มเน้นหนักไปทางมัชฌิมาสังฆาธิปไตย (Polity) คือประชาธิปไตยแบบทางสายกลาง คือไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเอียงซ้ายหรือขวา
แม้ระบอบการปกครองนี้จะมีในเฉพาะหมู่สงฆ์เท่านั้น แต่ก็เป็นสงฆ์ในสมัยพุทธกาลที่ยังมีรูปแบบและอุดมการณ์อยู่ แม้ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาจะได้แผ่ขยายพุทธาณาจักรไปสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ระบอบการปกครองสงฆ์ที่มีอยู่ดั่งเดิมแปรเปลี่ยนไปบ้างขึ้นอยู่กับนิกายนั้น ๆ หรือวัฒนธรรมการเมืองการปกครองของประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทย ก็มีพัฒนาการทางการปกครองของคณะสงฆ์ที่มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุด โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นประมุข และมีผู้บริหารระดับหนอีก
4 ตำแหน่ง มีผู้บริหารระดับภาคอีก 18 ตำแหน่ง มีผู้บริหารระดับจังหวัด, อำเภอ, ตำบล และสุดท้ายคือเจ้าอาวาส ซึ่งพระภิกษุผู้บริหารจะมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในเขตของตัวเอง ทั้งนี้เขตอำนาจหน้าที่ดังกล่าวนั้นมักจะขึ้นอยู่กับการแบ่งเขตการปกครองบ้านเมืองเป็นหลัก ถึงอย่างไรก็ตามผู้บริหารทุกระดับย่อมใช้คำว่า สงฆ์ หรือทำการในนามคณะสงฆ์
ส่วนที่มาของสงฆ์นั้นได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 2 ในบทนี้จะได้พูดถึงภาพรวมของคำว่าสังฆาธิปไตยและอำนาจที่มา ตลอดจนถึงอุดมการณ์ของระบอบการปกครองชนิดนี้ ต่อไป