สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
1 บทนำ
สังฆาธิปไตย เป็นระบบการปกครองของคณะสงฆ์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมอบพระราชอำนาจของพระองค์ให้กับคณะสงฆ์ คือกลุ่มพระภิกษุทั้งหมด มิใช่มอบพระราชอำนาจให้กับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาผูกขาดอำนาจในการบริหารจัดการ โดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้ปกครองกันเอง ทั้งนี้มีพระธรรมวินัยเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญที่องค์กรสงฆ์จะต้องประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ทรงบัญญัติเอาไว้ ดังพระดำรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวคิดทางการเมืองการปกครอง ได้ขยายสู่อาณาจักรต่าง ๆ ทุกรูปแบบไม่เว้นแม้แต่ในอาณาเขตของพุทธจักร หรือในศาสนจักร ทั้งนี้แนวคิด หรือทฤษฎี ดังกล่าวได้พยายามตีความคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทางการเมืองการปกครองในหลากหลายมีทั้งลักษณะแง่มุมที่กว้างอันเป็นทฤษฎีและแง่มุมคับแคบที่เป็นเชิงปฏิบัติ ทั้งนี้ การตีความดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับการจับประเด็นทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมที่แต่ละท่านมองเห็น หรือมีภูมิหลังทางความรู้ประสบการณ์ของแต่ละท่านมาเป็นเกณฑ์
สังคมสงฆ์ เป็นสังคมที่น่าศึกษา ทั้งจุดเริ่มต้นที่มีแนวความคิดที่จะปฏิรูปสังคมอินเดียสมัยพุทธกาลที่ผูกโยงชนชั้นทางสังคมเอาไว้กับระบบวรรณะที่ไม่มีความเป็นธรรมจนคนวรรณะต่ำอย่างวรรณะศูทร ไม่สามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้, ทางด้านเนื้อหาพระพุทธเจ้าทรงจำลองรูปแบบการปกครองเพื่อให้สังคมได้อยู่ด้วยกันอย่างผาสุก โดยมีรูปแบบของการปกครองสงฆ์ เป็นเหมือนเมืองจำลองให้กับสังคมอื่น ๆ นำไปประยุกต์ใช้, ระยะเวลาที่สถาบันสงฆ์ดำรงตั้งมั่นมาอย่างยาวนาน โดยมีผลกระทบ การปรับรูปแบบเพียงเล็กน้อย ตลอดไปถึงวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวงการสงฆ์ อย่างน่าสนใจ และสังคมสงฆ์นี้เอง เป็นรูปแบบทางการปกครองอีกแนวทางหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกให้กับชุมชน, สังคม, สถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ที่กำลังสับสนในโลกแห่งความวุ่นวายเกร่งแย้งชิงดีชิงเด่นกันในปัจจุบัน และอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและถูกทางก็ได้ในอนาคตอันใกล้นี้
อนึ่งพระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญของปัจเจกบุคคลแต่ละบุคคลแม้จะรวมกันเป็นคณะ
สงฆ์ แต่ก็ยังให้อิสรภาพเสรีภาพในการประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝนตนเพื่อให้ถึงเป้าหมายทางพระพุทธศาสนา โดยพระองค์ทรงวางกรอบแห่งพระธรรมวินัยเอาไว้และคอยชี้แนะในหลักการ แต่จะไม่คอยควบคุมหรือตรวจสอบ เพื่อกดขี่บังคับเอาผลประโยชน์จากผู้ใต้ปกครอง แต่จะให้ประโยชน์ตลอดไปถึงการให้สิทธิในการตรวจสอบตัวเองด้วยตัวเองของบุคคลนั้น ๆ แทน
1.1.แนวคิด/ทฤษฎี
1.2.จุดประสงค์
1.3.ความเป็นมา