สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม
บทบาท (Roles)
หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และสิทธิของตนตามสถานภาพในสังคม เช่น สถานภาพเป็นนักเรียนก็จะต้องมีบทบาทเรียนหนังสือ ขยันหมั่นเพียร เป็นคนดี เชื่อฟังคำสั่งสอนของครู เป็นต้น
บทบาทขัดกัน (Roles Conflicts) หมายถึง การที่คนคนหนึ่งมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกันและขัดกันเอง ทำให้ยากต่อการปฏิบัติตามบทบาทใดบทบาทหนึ่ง เช่น เป็นตำรวจที่จะต้องจับกุมลูกหลานของตนซึ่งเป็นโจร เป็นต้น
ข้อสังเกตที่เกี่ยวกับบทบาท มีดังนี้
- หากสมาชิกแสดงบทบาทได้เหมาะสมกับสถานภาพ ก็ย่อมจะเกิดผลดีต่อตัวเอง
- เมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้นย่อมมีบทบาทมากขึ้นตามสถานภาพ
- ถ้าสมาชิกทุกคนแสดงบทบาทได้เหมาะสม สังคมโดยส่วนรวมย่อมเกิดความเป็นระเบียบเรียบ ร้อย
- ในกรณีที่บุคคลมีหลายสถานภาพในเวลาเดียวกัน อาจทำให้เกิดบทบาทขัดแย้ง(Conflict Role) ขึ้นได้
ประโยชน์ของสถานภาพและบทบาท มีดังนี้คือ
- ทำให้บุคคลรู้จักฐานะของตนเองในสังคม
- ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มสมาชิก
- ทำให้บุคคลมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
- ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย
สถานภาพและบทบาทเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน สถานภาพเป็นตัวกำหนดบุคคลให้รู้จักหน้าที่และความ
รับผิดชอบ บทบาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทำ เช่น สถานภาพนักเรียนบทบาทในสังคมก็คือ เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งสอนอบรมของครู เป็นต้น
บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ
สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)