สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม
การควบคุมทางสังคม (Social control)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายการควบคุมทางสังคมว่า หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ
ทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกของสังคมยอมรับ และปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม ความเป็นระเบียบของสังคมนอกจากเกิดขึ้นจากบรรทัดฐานทางสังคม สถานภาพทางสังคมและบทบาททางสังคม ยังเกิดขึ้นโดยการที่สังคมใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สมาชิกยอมรับร่วมกัน
1. การควบคุมทางสังคมโดยการจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ การยกย่องชม
เชย ให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมตามสถานภาพและบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เช่น เด็ก ๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดามารดา จะได้รับคำชมเชยว่าเป็นเด็กดี นักเรียนที่ประพฤติตามระเบียบวินัยของโรงเรียน จะได้รับคำชมเชยหรือใบประกาศเกียรติคุณทำให้สมาชิกเกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานทางสังคม
2. การควบคุมทางสังคมโดยการลงโทษสมาชิกที่ละเมิดฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่
- ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนวิถีชาวบ้าน จะได้รับปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสมาชิกผู้อื่น ได้แก่ การติฉินนินทา การ
เยาะเย้ย เช่น ผู้ที่แต่งกายผิดบรรทัดฐานทางสังคม จะได้รับการว่ากล่าวจากผู้อื่นว่าเป็นผู้แต่งกายไม่สุภาพ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมารยาทของสังคมจะได้รับการติฉินนินทาจากผู้อื่นว่า เป็นผู้ไม่มีมารยาท เป็นต้น
- ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจารีต จะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกผู้อื่นรุนแรงกว่าผู้ที่ละเมิดวิถีชาวบ้าน เช่น
โดยการประชาทัณฑ์หรือกำจัดขับไล่ออกไปจากท้องถิ่น บางครั้งอาจถือว่าเป็นความรุนแรงมากกว่าการลงโทษด้วยกฎหมาย เนื่องจากจารีตผลต่อจิตใจของสมาชิกเป็นอย่างมาก เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนมาเป็นเวลาช้านาน
- ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะได้รับการลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ เป็นผู้ควบคุมบทลงโทษอย่างชัดแจ้ง
บรรทัดฐานทางสังคมหรือปทัสถาน (Norms)
สถานภาพ (Status)
บทบาท (Roles)
สิทธิและเสรีภาพ
สิทธิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การควบคุมทางสังคม (Social control)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)