สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
แบบสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างกันจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมคือ ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ รัฐจะเข้าไปควบคุมดำเนินการธุรกิจเศรษฐกิจบางอย่างที่เห็นว่า ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นที่คนส่วนใหญ่จะต้องใช้ร่วมกัน และมีความมุ่งหวังจะให้ประชาชนในสังคมมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ฉะนั้น อาจถือได้ว่าสังคมนิยมถือกำเนิดขึ้นมาจากหลักเสรีนิยม เสรีนิยมเป็นแนวความคิดดั้งเดิมของประชาธิปไตย แต่เมื่อนำเอาหลักเสรีนิยมมาใช้ปฏิบัติก็มีข้อขัดข้องบางประการ ฉะนั้น สังคมนิยมก็เป็นทางแก้ทางหนึ่งของระบบเสรีนิยม ที่จะทำให้คนในสังคมได้รับสิ่งที่ตนต้องการตามความเหมาะสมและเป็นแนวทางที่จะป้องกันการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจของพวกเศรษฐีมีเงิน
ส่วนความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนี้ มีนักปราชญ์หลายท่านได้ให้ไว้ดังนี้
สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ ได้กล่าวถึงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมไว้ว่า สังคมนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีแนวนโยบายมุ่งสนับสนุนและปรารถนาจะให้ชุมชน สังคม หรือส่วนรวมถือกรรมสิทธิ์ หรือควบคุมการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยสำคัญในการผลิต เช่น ทุน ทรัพยากร ที่ดิน วิทยาการ ทั้งที่เพื่อมุ่งกระจายผลประโยชน์เหล่านี้ออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งมวล
พลศักดิ์ จิรไกรศิริ ได้กล่าวถึงนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ทั้ง 4 ท่านได้ให้ความหมายของระบบสังคมสังคมนิยมไว้ดังนี้
Carl Landaeur กล่าวว่า สังคมนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่กรรมสิทธิ์เป็นของชุมชนเพื่อจุดประสงค์ที่จะกระจายจ่ายแจกรายได้ทรัพย์สินโอกาสและอำนาจทางเศรษฐกิจให้เท่ากันให้มากที่สุด
Robert A. Dahl กล่าวสรุปว่า สังคมนิยมคือ ระบบเศรษฐกิจซึ่งกิจกรรมที่สำคัญส่วนใหญ่ถูกดำเนินงานโดยหน่วยงานต่าง ๆ และหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเหล่านี้จะถูกควบคุมโดยรัฐอีกต่อหนึ่ง
Austin Ranney ให้ความหมายไว้ว่า จุดหมายปลายทางแห่งระดับสังคมนิยมคือ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และการสิ้นสุดของการฉกฉวยประโยชน์จากคนจนโดยคนรวย
กมล สมวิเชียร เขียนไว้ว่า หลักสำคัญของสังคมนิยมคือสิทธิการเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตทางเศรษฐกิจที่ถือว่าเป็นความสำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ อาจได้แก่ การเข้าควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมถ้าเป็นกรณีประเทศอุตสาหกรรมหรือควบคุมทั้งสองอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรโรงงาน ที่ดินและทุน หากต้องการเป็นสังคมนิยมแบบเข้ม นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีสวัสดิการและการประกันสังคมแก่คนในสังคมอย่างกว้างขวางที่สุด
ทฤษฎีสังคมนิยม ถูกค้นพบครั้งแรกในผลงานของ Plato ในเรื่อง Republic เพราะท่านได้เสนอให้ชนชั้นปกครองไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเองและถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม บางคนกล่าวว่าข้อความที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล (Bible) โดยเฉพาะใน Old Testament ที่ต้องการให้คุ้มครองแรงงานของผู้หญิงและคนอ่อนแอนั้น เป็นสังคมนิยมตามแนวความคิดของชาวคริสเตียนที่ไม่ต้องการให้ถืออะไรเป็น ของเราของเขา แต่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน ก็เป็นลักษณะของสังคมนิยมเช่นกัน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าแนวความคิดของสังคมนิยมสมัยใหม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อย่างเช่น ผลงานของบาเบิฟ (Babeaf ,พ.ศ. 2323-2415) ซึ่งต้องการให้สังคมเป็นเจ้าของที่ดินและโรงงานอุตสาหกรรมและแซงต์-ซิมอง (Saint-Simon, พ.ศ. 2303-2368) ซึ่งได้เรียกร้องให้มีการวางแผนจากส่วนกลางอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดย เฉพาะอย่างยิ่งโรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) ผู้ให้กำเนิดสังคมนิยมในอังกฤษ เพราะท่านเป็นผู้นำหลักการบางอย่างของสังคมนิยมไปปฏิบัติอย่างจริงจัง จนมีอิทธิพลต่อการกำหนดจุดหมายปลายทาง นโยบาย บทบาท อำนาจ และกลไกของรัฐ สังคมนิยมได้พัฒนามาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะอุตสาหกรรมชนิดนี้ได้สร้างชนชั้นผู้ไร้สมบัติขึ้นมามากมาย อันเป็นปัญหาที่โลกทุนนิยมต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวัสดิภาพและการประกันสังคมของพวกกรรมกรและชาวนา
แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม