สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง หมายถึงการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และรัฐธรรมนูญนั้นมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็นสัดส่วน อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ กำหนดความสัมพันธ์ของอำนาจไว้ว่า ผู้ปกครองจะได้อำนาจมาโดยวิธีใดจะใช้อำนาจอย่างไร และมีวิธีการรักษาอำนาจไว้อย่างไร กำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชนและของรัฐบาลและกล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ประชาชนจะใช้อำนาจ สติปัญญาเลือกผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย มีระบบพรรคการเมืองซึ่งทำตัวเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชน ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน การให้สิทธิทางการเมืองโดยไม่จำกัดเพศและฐานะของบุคคล ดังนักรัฐศาสตร์หลายท่านได้ให้หลักสำคัญของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยไว้ดังนี้
จรูญ สุภาพ ได้กล่าวถึงหลักสำคัญของประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครองไว้ว่า หลักการที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือประชาชนต้องเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครอง มีส่วนร่วมในการปกครอง การวางนโยบายและการตัดสินใจในปัญหาของประเทศ การมีส่วนร่วมนี้อาจจะเป็นแบบโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ โดยตรงคือการที่ประชาชนเข้าไปบริหารเอง โดยอ้อมคือการเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ในสภาแทน
ทินพันธ์ นาคะตะ ได้กล่าวถึงหลักสำคัญของระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ดังนี้ คือ
1. การปกครองแบบประชาธิปไตย ถือหลักว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศโดยประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมายโดยผ่านสภานิติบัญญัติ ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารโดยผ่านทางฝ่ายบริหารและประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจทางตุลาการโดยผ่านทางศาล การใช้อำนาจเหล่านี้ได้มาจากความยินยอมของประชาชน ฉะนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนและเป็นผู้บริการประชาชนทั้งนี้เพราะระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยต้องยึดมั่นในความสำคัญของบุคคลในความเสมอภาคและเสรีภาพของมนุษย์
2. การปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องมีวิธีการ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลือกผู้นำฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการควบคุมการใช้อำนาจของผู้นำเหล่านั้น ประชาชนมีบทบาทในการปกครอง คือ การเลือกตั้งรัฐบาลจึงเป็นการปกครองที่กำหนดระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้ได้มาซึ่งอำนาจตัดสินข้อตกลงใจตามแบบประชาธิปไตย
3. ประชาธิปไตยมีหลักมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมไม่ใช่เพื่อผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
ประชา กัลยาณชาติ และคณะ ได้อธิบายถึงประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองไว้ดังนี้
1. เป็นระบบการเมืองที่ถือว่า อำนาจเป็นของประชาชนหรือมาจากประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงผู้ได้รับมอบหมายอำนาจให้ทำหน้าที่ปกครองแทนประชาชนเท่านั้น และประชาชนมีโอกาสเปลี่ยนตัวแทนของตนได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมีวาระทุก 4 ปี หรือ 5 ปี มิได้เลือกตั้งเพียงครั้งเดียวเป็นผู้แทนตลอดชีพ
2. เป็นการปกครองโดยประชาชน กล่าวคือเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การปกครองระดับท้องถิ่น การปกครองระดับชาติ การแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารงานของรัฐบาล การเรียกร้องความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ และการแสดงมติมหาชน เป็นต้น
3. เป็นการปกครองเพื่อประชาชน หมายถึง การปกครองประเทศโดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนหรือกลุ่มของตนในคณะรัฐบาลเป็นที่ตั้ง นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีอยู่เพื่อรับใช้ประชาชน มิใช่ประชาชนต้องเสียสละทุกอย่างเพื่อรัฐ ดังระบบการเมืองแบบฟาสซีสม์ หรือการปกครองแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ซึ่งถือว่าประชาชนเป็นบ่าว รัฐบาลเป็นนาย แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยจึงกำหนดให้รัฐบาลมีอำนาจจำกัดปล่อยให้เอกชนดำเนินกิจการและดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ เองอย่างเสรี โดยเข้าไปก้าวก่ายให้น้อยที่สุด นอกจากกรณีที่กิจการนั้น ๆ เอกชนไม่สามารถทำเองได้ และเห็นว่าเมื่อรัฐดำเนินการเองแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อส่วนรวมมากขึ้นเท่านั้น
4. เป็นการปกครองที่ยึดหลักกฎหมายรัฐบาลเป็นผู้ปกครองที่เคารพกฎหมายและปฏิบัติการภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิได้ยึดตัวบุคคลเป็นหลักในการบริหารประเทศ และประชาชนทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับแห่งกฎหมายเท่าเทียมกัน
แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม