สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ประเภทของระบบสังคมนิยม
พลศักดิ์ จิรไกรศิริ กล่าวว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมโดยทั่วไปไม่สามารถแยกได้เป็น 8 ประการ ดังนี้
1. Christian Socialism เป็นระบบสังคมนิยมที่ใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ คำ ๆ นี้ได้ใช้เรียกขบวนการสังคมนิยมที่เริ่มต้นในอังกฤษในปี พ.ศ. 2393 เป็นขบวนการซึ่งพยายามที่จะเชื่อมจุดหมายเบื้องต้นของสังคมนิยมกับคำสอนทางจริยศาสตร์ของศาสนาศริสต์เป็นการต่อสู้กับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสที่ชนชั้นกรรมกรได้รับอยู่ในสมัยนั้น เป็นขบวนการสังคมนิยมคริสเตียนที่เกิดจากผลงานการเขียนของ Frederick Maurice และ Charles Kingsley ในตอนเริ่มแรกนั้นขบวนการนี้ได้เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่กรรมกรในโรงงานเล็ก ๆ ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของขบวนการ แต่ต่อมาขบวนการนี้ได้มุ่งไปสู่การเป็นขบวนการสหกรณ์ สังคมนิยมแบบนี้ไม่เหมือนสังคมนิยมแบบยูโทเปียและสังคมนิยมในระยะหลัง เพราะมิได้มุ่งส่งเสริมให้รัฐเป็นเจ้าของในเครื่องมือการผลิตเพียงแต่เน้นการจัดสหกรณ์และการปฏิรูปสังคมเท่านั้น โดยมีแนวความคิดว่า ให้มีการกระจายความมั่งคั่งให้เท่าเทียมกัน และจงมีเมตตาจิตอย่าเห็นแก่ตัวเกินไป เพื่อว่ากำไรจะได้แรงจูงใจเอกชนให้มุมานะ ดังนั้นจึงต้องการส่งเสริมเสรีภาพของปัจเจกบุคคลอย่างเต็มที่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา พรรคการเมืองที่ได้ชื่อว่า Christian Socialist Party ได้เพิ่มทวีจำนวนขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นพลังทางการเมืองของพวกฝ่ายขวา
2. Fabian Socialism สังคมนิยมเฟเบี้ยนจัดได้ว่าเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยหรือสังคมนิยมเสรี โดยรับเอาแนวความคิดทางสังคมนิยมจากนักคิดสังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socialism) ในด้านการมุ่งหวังที่จะให้สังคมมีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจความเป็นธรรมทางสังคมมากขึ้นและรับเอาแนวความคิดทางเสรีนิยมของมิลล์และเบธแซมซึ่งเป็นนักคิดคนสำคัญของอังกฤษในเรื่องการเทิดทูนเสรีภาพและอิสระภาพ ดังจะเห็นได้จากบทความในเอกสารบันทึกเฟเบี้ยน (Fabian Tract) ของสมาคมเฟเบี้ยน ฉบับที่ 168 โดย Juliun Wrat มีความว่าแนวความคิดของพวกเฟเบี้ยนได้ปฏิเสธความคิดของสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ ในทัศนะคติที่ว่าสังคมจะต้องเปลี่ยนไปสู่สังคมนิยมด้วยการปฏิวัติความรุนแรง แต่ต้องการที่จะใช้อิทธิพลและการชักจูงด้านความคิด ให้นักการเมืองของอังกฤษดำเนินแนวทางสังคมนิยมในการแก้ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างค่อย เป็นค่อยไป นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินของมาร์กอีกด้วย โดยเห็นว่านายทุนควรได้รับค่าตอบแทนจากการที่เขาได้ลงทุนไปในกิจการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนกรรมกรได้รับค่าตอบแทนในรูปของค่าจ้างแรงงาน พวกเฟเบี้ยนได้ย้ำความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมทางสังคม การร่วมมือระหว่างชนชั้น เพื่อแก้ปัญหาภายใต้กรอบแห่งกฎหมายและตามวิถีทางการต่อสู้ภายในระบอบรัฐธรรมนูญและรัฐสภา อย่างไรก็ตามพวกเฟเบี้ยนก็เชื่อว่ากิจการที่เกี่ยวกับสาธาณูปโภคที่สำคัญควรถูกโอนมาเป็นของรัฐโดยการออกกฎหมาย ดังนั้นสังคมนิยมเฟเบี้ยนจึงมุ่งที่จะเสนอแนวทางสังคมนิยมเพื่อแก้ปัญหาที่มีขอบเขตจำกัดเป็นเรื่อง ๆ ไปโดยเฉพาะปัญหาของอังกฤษมากกว่าที่จะกล่าวถึงปัญหาของสังคมอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเฟเบี้ยนจึงไม่ประสงค์จะจัดกิจกรรมแบบพรรคการเมือง แต่ต้องการที่จะชักจูงและแทรกซึมในหมู่นักการเมืองและสมาคมอาชีพ เพื่อเปลี่ยนแนวความคิดให้มาสนับสนุนสังคมเสรีนิยมเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าพวกเฟเบี้ย นให้ความสนใจกับการปฏิรูปสังคมและระบบเศรษฐกิจมากกว่าระบบการเมือง
3. Municipal Socialism เป็นระบบสังคมนิยมที่ใช้เฉพาะพื้นที่ภายในเขตเทศบาลเท่านั้น โดยจะเห็นว่าเทศบาลจะเป็นทั้งเจ้าของกิจการและปฏิบัติการรับใช้ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นกิจการสาธารณูปโภคที่สำคัญ ๆ เช่น การประปา การขนส่งมวลชน ไฟฟ้า และการเดินรถไฟ เป็นต้น
4. State Socialism คำ ๆ นี้ใช้สำหรับการบอกให้รู้ถึงระดับของสังคมนิยมชนิดกลาง ๆ กล่าวคืออาจจะใช้ความหมายที่ว่าอุตสาหกรรมหลักของประเทศควรจะโอนมาเป็นของชาติเพื่อความมั่นคงของชีวิตทางเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้งคำ ๆ นี้อาจจะใช้อธิบายถึงนโยบายภาษีก้าวหน้าเพื่อลดรายได้ที่สูงมากของบุคคลบางพวกลงให้ต่ำเหมาะสมกับสภาพสังคม แต่บางทีก็ใช้อธิบายถึงบทบัญญัติทางสวัสดิการสังคมหรือรูปแบบแห่งมาตรการทางสังคมนิยมอื่น ๆ
5. Utopian Socialism เป็นชื่อที่เรียกแนวความคิดของกลุ่มนักปฏิรูปสังคมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ซึ่งเชื่อว่าการเจ็บป่วยของสังคมอาจจะเยียวยารักษาก็ได้ด้วยการวางแผนการล่วงหน้าบางอย่างเกี่ยวกับสังคมที่ต้องการ พวกนักสังคมนิยมอุดมคติ (Utopian Socialists) ที่เอาจริงเอาจังก็มี Robert Owen ซึ่งเป็นนักหัตถกิจที่มั่งคั่งชาวอังกฤษ Charles Fulier ซึ่งเป็นบุตรชายของพ่อค้าที่มั่งคั่งชาวฝรั่งเศสและ Louis Blanc ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส แนวความคิดของพวกเขาเหล่านี้มีความแตกต่างในการจัดองค์การทางสังคมนิยมชนิดพิเศษต่าง ๆ แต่รูปแบบทั้งหมดมีความละม้ายคล้ายคลึงกับรูปแบบคอมมิวนิสต์บางประการ ที่สำคัญในครั้งนั้นได้มีการจัดสร้างสังคมของพวกนักสังคมนิยมอุดมคติขึ้นหลายแห่ง ทั้งในอังกฤษและอเมริกา เช่น Robert Owen สร้างนิคม (Colony) ใน New Harmony ในปี พ.ศ . 2368 ที่ Indiana และสร้าง Brook Farm ที่ Massachusetts ขึ้นทดลอง ในปี พ.ศ. 2384
Utopian Socialism เป็นสังคมนิยมชนิดแรกสุดที่ทำการสนับสนุนวิธีการผลิตแบบรวมกลุ่ม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Associational Socialism แต่ไม่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ในแง่ที่ว่า สังคมนิยมอุดมคติไม่ได้วิตกกังวลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาของสังคม หรือไม่สนใจในวิธีการเท่าใดนัก แต่กลับไปจิตนาการสังคมเสียสวยหรู เพื่อสร้างความคิดแบบยูโทเปีย พวกสังคมนิยมอุดมคติไม่ได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นการวางแผนให้รัฐเป็นเจ้าของเครื่องมือในการผลิต แต่มุ่งหวังที่จะสร้างประชาคมเหล่านี้ให้มีแต่ทรัพย์สินรวม ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวของสมาชิก แต่ละคนจะได้รับสวัสดิการอย่างดีที่สุดจากกลุ่มและทุกคนจะแบ่งปันผลแห่งการผลิตของพวกเขาไปตามความต้องการ ดังนั้นจึงไม่ต้องการรัฐบาลกลางมาใช้อำนาจบังคับ เพราะความคิดเกี่ยวกับประชาชนแบบสหกรณ์เหล่านี้จะกระจายทรัพย์สินไปยังที่ต่าง ๆ เอง นักคิดเช่น Own Fulier และ Blanc ต่างได้สร้างตัวแบบเมืองในอุดมคติขึ้นมาทดลองทั้งนั้น ทั้งในยุโรปและอเมริกา แต่ส่วนใหญ่ต้องประสบกับความล้มเหลว เพราะคนในดินแดนอุดมคติเหล่านั้นไม่เอาจริงเอาจังเท่าไรนัก ดังนั้นในระยะต่อมาขบวนการนักสังคมนิยมจึงล้มหายตายจากไปหมด
6. Guild Socialism เป็นสังคมนิยมแบบกลุ่มอาชีพที่มีกรรมกรเป็นเจ้าของเครื่องมือในการผลิต และจัดการดำเนินกิจการทางอุตสาหกรรมโดยมีการจัดองค์การในรูปกลุ่มอาชีพ ซึ่งมีตั้งแต่กลุ่มอาชีพท้องถิ่นไปจนถึงกลุ่มอาชีพระดับชาติ กล่าวคือ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ จากอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จะรวมกันขึ้นในรูปของสหพันธ์กลุ่มอาชีพหรือสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อป้องกันมิให้กลุ่มอาชีพใดมีอิทธิพลเหนือกลุ่มอาชีพอื่น กลุ่มอาชีพนั้นจะต้องทำหน้าที่ในการผลิตโดยเป็นผู้ผลิต รัฐทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภคเป็นผู้มีอำนาจในการปกครอง และมีหน้าที่สำคัญคือประสานงานระหว่างสภากลุ่มอาชีพกับรัฐสภา แต่สภาของกลุ่มอาชีพนั้นไม่ได้วางกฎเกณฑ์แน่นอนเหมือนอย่างสภาทางการเมือง
เราจึงเห็นว่าผู้ที่นิยมลัทธินี้ไม่ต้องการให้เกิดระบบสังคมนิยมอย่างเต็มที่ เพราะแม้ว่ากิจการสาธารณูปโภคและกิจการทางอุตสาหกรรมทั้งหลายจะตกเป็นของรัฐและของหน่วยการปกครองท้องถิ่น แต่กรรมกรและเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคก็เป็นผู้ดำเนินกิจการเสียเอง ดังนั้นสังคมแบบนี้จึงต้องการให้กรรมกรของอุตสาหกรรมทุกแขนงปกครองตนเองโดยให้รวมกันเป็นกลุ่มอาชีพระดับชาติ
นักสังคมนิยมกลุ่มอาชีพแบบอังกฤษเหล่านี้ได้พยายามที่จะหลีกเลี่ยงสหนิยมทางการปกครองของสังคมนิยมแบบสมบูรณ์ และสหภาพคนงานที่เข้าควบคุมครอบงำสังคมอย่างเต็มที่ หลักการนี้แตกต่างจากพวก Syndicalist มาก สังคมนิยมแบบนี้ต้องการให้มีการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องการให้ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและปัญญาชนมีส่วนกำหนดนโยบายสาธารณะ และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการให้คงรัฐเอาไว้เพื่อทำหน้าที่บริการประชาชน
แม้ว่าสังคมนิยมแบบกลุ่มอาชีพในขณะนี้ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป แต่ลัทธินี้ก็ได้สนับสนุนคุณค่าของสหภาพทางอุตสาหกรรมของกรรมกร ในการมีส่วนร่วมในการบริหารและในกิจกรรมของรัฐ ไม่เพียงแต่สภาเศรษฐกิจแห่งชาติจะเป็นที่แพร่หลายในยุโรปเท่านั้น แต่แนวความคิดของสังคมนิยมแบบนี้ยังมีอิทธิพลต่อนโยบาย New Deal ในยุคแรกของอเมริกา ซึ่งเป็นการเจริญรอยตามสังคมนิยมแบบกลุ่มอาชีพของอังกฤษ
7. Creeping Socialism เป็นสังคมนิยมแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ เป็นคำที่เสนอถึงวิธีการเข้าควบคุมภาคเศรษฐกิจของเอกชนอย่างทีละเล็กละน้อยโดยรัฐบาลสังคมนิยมแบบนี้เป็นประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower เป็นผู้เสนอในคำปราศรัยที่ไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2496 โดยต้องการที่จะเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของรัฐบาลรัฐให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม โดยการเข้าควบคุมกิจการธุรกิจที่สำคัญ ๆ และที่เอกชนยังมิได้เริ่มทำ อย่างไรก็ตามคำ ๆ นี้ได้ใช้เพื่อตอบสนองต่อความรู้สึกของชาวอเมริกันที่ว่า การเติบโตอย่างต่อเนื่องของการควบคุมของรัฐบาลจะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป จนกลายเป็นสังคมนิยมอย่างสมบูรณ์แบบ (Full-fledged Socialism) และรัฐบาลก็เข้าไปเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ และเข้าดำเนินกิจการอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น โครงการ Tennessee Valley Authority เป็นต้น
8. African Socialism สังคมนิยมแบบอาฟริกัน มีลักษณ์ของตนเองเฉพาะ
โดยมีพื้นฐานอยู่บนสภาพสังคมดั้งเดิมของอาฟริกามากกว่าที่จะลอกเลียนมาจากสังคมนิยมที่ใช้กันอยู่ในยุโรป
ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
สังคมนิยมแบบอาฟริกันต้องการแสวงหาช่องทางที่จะช่วยเหลือหลอมข้อแตกต่างระหว่างเอกชน
ให้กลายมาเป็นชาตินิยมที่ทรงพลังและจะต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้น
ดังจะเห็นว่ารัฐบุรุษชาวแทนซาเนียได้พูดว่า สังคมนิยมอาฟริกันมีพื้นฐาน
และจุดมุ่งหมายอยู่ที่ครอบครัวใหญ่ กล่าวคือ
นักสังคมนิยมแบบอาฟริกันที่แท้จริงจะต้องไม่มองว่าคนนอกครอบครัวเป็นศัตรูและคนในครอบครัวเป็นพี่น้อง
แต่จะต้องมีความรู้สึกที่เป็นมิตรต่อทุกคน
นอกจากนั้นักสังคมนิยมประเภทนี้ยังต้องการให้มีการวางแผนทางเศรษฐกิจระดับชาติขึ้นเพื่อเร่งเร้าบุคคลให้เกิดความต้องการในการพัฒนาประเทศ
อย่างไรก็ตามอุดมการณ์สังคมนิยมแบบอาฟริกันยังแตกแยกสาขาออกเป็นอุดมการณ์ลักษณะเฉพาะอย่างออกไปอีกหลายแบบ
ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้นำต่าง ๆ ในบรรดาประเทศในแถบทวีปอาฟริกา
ผลดีของระบบสังคมนิยม
1. ในระบบการผลิตถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้ใช้แรงงาน เหตุแห่งการนัดหยุดงานที่จะเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจจะไม่เกิดขึ้น เพราะทุกคนถือว่าผลประโยชน์ทั้งหมดของตนเองมีส่วนร่วม
2. ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ช่วยแก้ปัญหาการว่างงาน เพราะรัฐกำหนดการใช้แรงงาน โดยคนที่อยู่ในวัยแรงงานทุกคนจะมีงานทำทั้งหมด
3. ทำให้ระบบเศรษฐกิจเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลเข้ามาควบคุมและวางแผนเศรษฐกิจทั้งหมด
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาสินค้า เพราะระบบสังคมนิยมรัฐดำเนินการผลิตเองจึงไม่มีนโยบายในการโฆษณาสินค้า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สินค้าราคาถูก
5. เป็นระบบที่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คือ รัฐจะกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชน ไม่มีพวกนายทุนเก็บเอาส่วนเกินของผู้ยากจนที่ใช้แรงงาน
6. ขจัดความฟุ่มเฟือย รัฐจะควบคุมระบบการบริโภคและการใช้บริการอย่างประหยัด ทุกคนจะมีการกินอยู่เท่าที่จำเป็น รัฐจะตัดส่วนเกินต่าง ๆ ออกหมด
7. การสวัสดิการ ในระบบนี้รัฐจะจัดสวัสดิการให้กับผู้ใช้แรงงานอย่างยุติธรรมไม่มีการขูดรีดแรงงานจากนายจ้างที่ปราศจากความเป็นธรรม
ผลเสียของระบบสังคมนิยม
1. จะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและความสูญเปล่าของแรงงานได้ เพราะกลไกของรัฐอาจไม่ดีและความเชี่ยวชาญในธุรกิจบางอย่างรัฐอาจจะด้อยไป จึงเป็นเหตุทำให้เกิดการสูญเสียดังกล่าว
2. ผู้ทำงานขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงานและพัฒนาตนเอง เพราะแม้จะทำดีอย่างไรผลที่จะได้ก็จะเป็นของส่วนรวม ผู้ทำงานหรือผู้แสวงหาได้จะไม่มีกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด
3. จะขาดการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคและวิธีการผลิตใหม่ ๆ เพราะผู้ทำงานทุกคนจะอยู่ในการควบคุมของรัฐ รัฐจะเป็นผู้วางแผนทุกอย่าง จึงไม่จำเป็นต้องคิดประดิษฐ์อะไรเพียงทำตามคำสั่งของรัฐก็เพียงพอแล้ว
4. เป็นการผิดธรรมชาติของการสะสมทุนของมนุษย์ แม้ว่าจะเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในความขยันหมั่นเพียรอดทน ฉะนั้นผู้มีความขยันหมั่นเพียร แสวงหาผลประโยชน์ได้มาเขาน่าจะได้เป็นเจ้าของ เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายบริการให้เขาได้รับความสุขจากการบริโภคทรัพย์นั้น การที่รัฐไม่ให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงไม่ถูกต้อง
5. การโอนกรรมสิทธิ์ในธุรกิจและทรัพย์ของเอกชนเป็นของรัฐ เป็นการบั่นทอนกำลังใจ ความคิด สติปัญญาและความมานะอดทนของเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งจะไม่เกิดผลดีต่อระบบการปกครองและระบบการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะคนเหล่านั้นจะเกิดปฏิกิริยาคัดค้านและหมดกำลังใจที่จะทำงาน
6. เป็นการกำจัดสิทธิการบริโภคของผู้บริโภค ซึ่งรัฐจะเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับควบคุมในการบริโภคสินค้าตามความต้องการของรัฐ ซึ่งวิธีการอันนั้นเป็นการผิดธรรมชาติของมนุษย์ เพราะความอยากความคิดของคนย่อมจะแตกต่างกันไป ถ้ารัฐควบคุมเช่นนี้จึงเท่ากับว่ามนุษย์เป็นเพียงหุ่นยนต์ที่มีไว้ให้รัฐคอยกดปุ่มเท่านั้น ทุกคนจะรู้สึกว่าชีวิตนี้ขาดความหมายความสมบูรณ์
แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม