สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
การปกครองระบอบประชาธิปไตยถ้าจะมีเพียงอุดมการณ์ อุดมคติหรือรูปแบบทางการเมืองการปกครองเท่านั้น การปกครองย่อมจะไม่บรรลุเป้าหมาย ถ้าขาดองค์ประกอบที่สามของประชาธิปไตยคือประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิตอันหมายถึงประชาธิปไตยที่คนในชาติทั้งชาติจะต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน อยู่ในสถานศึกษา อยู่ในหน่วยงานหรืออยู่ในกลุ่มเพื่อนจะต้องยึดหลักหรือใช้หลักของประชาธิปไตยเท่านั้นปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ประชาธิปไตยจึงจะเกิดขึ้นในบ้านในเมืองได้อย่างสมบูรณ์ และการที่บุคคลในชาติมีคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตยทั้งด้านจิตใจ ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ บุคลิกภาพและวิถีชีวิตอย่างนี้ เรียกว่า วัฒนธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย
สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ ได้อธิบายไว้ว่า ประชาธิปไตยนอกจากจะหมายถึงการปกครองแล้ว ยังเป็นวิถีชีวิตที่บุคคลอาจจะใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีเหตุผล และอย่างยุติธรรม วิถีชีวิตในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในประเทศที่ประชาธิปไตยได้หยั่งรากไว้อย่างมั่นคง และอาจจะแยกกล่าวถึงวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1. การใช้เหตุผลด้วยการทดลองหรือทดสอบจากสภาพความเป็นจริง ประชาชนในประเทศประชาธิปไตยเชื่อมั่นว่า เหตุผลเป็นสิ่งที่ดีงามและสามารถใช้เหตุผลประยุกต์ได้ในสภาพการณ์ต่าง ๆ ของโลก และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
2. การให้ความสำคัญแก่บุคคล หลักข้อนี้ทำให้วิถีชีวิตแบบเสรีประชาธิปไตยแตกต่างจากระบบเผด็จการอื่น ๆ นั้นคือ สถาบันทางการเมืองในสังคม เช่น กลุ่มชนหรือพรรคการเมืองจะต้องจัดตั้งขึ้นเพื่อรับใช้บุคคล
3. ความเชื่อที่ว่ารัฐเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความเชื่อเช่นนี้ถือว่ารัฐเป็นกลไกที่จะต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญกว่ารัฐนั้น
4. การยึดถือหลักของความสมัครใจ วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยนั้นต้องการให้บุคคลทำกิจต่าง ๆ ด้วยความสมัครใจ ดังนั้น การปฏิบัติกิจการต่าง ๆ ของบุคคลจึงควรจะเป็นไปตามความรู้สึก ความต้องการไม่มีการบังคับ
5. หลักที่เชื่อกันว่า มีกฎหมายสูงสุดอยู่เหนือกฎหมายแห่งรัฐ นั้นคืออำนาจของรัฐมาจากความยินยอมของประชาชนที่อยู่ในรัฐนั้น
6. การยึดถือหรือให้ความสำคัญในเรื่องวิธีการ ระบบประชาธิปไตยเชื่อว่าชีวิตของบุคคลนั้นแม้จะมีจุดหมายปลายทาง แต่จะต้องอาศัยวิธีการหรือวิถีทางด้วยเพื่อที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์เหล่านั้น วิธีการหรือวิถีทางจะมีอิทธิพลในการปรับปรุงตบแต่งวัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางด้วย
7. ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับหลักของการอภิปรายและความยินยอม ประชาธิปไตยนั้นไม่เชื่อว่าผู้ใดจะสามารถผูกขาด ความจริง ไว้แต่เพียงผู้เดียวหรือมิฉะนั้นก็เชื่อว่าในทางการปกครอง การเมือง ยังไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่า เป็นสัจธรรม ดังนั้นจึงจะต้องมีการอภิปรายถกเถียง แสดงเหตุผล เพื่อหาข้อยุติที่ถูกต้องที่เป็นความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่และชอบธรรมด้วยหลักฐานข้อเท็จจริง
8. น้ำใจประชาธิปไตย คือความสำนึกและความยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้วยการยึดถือว่า เป็นการปกครองที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลและส่วนรวมมากกว่าระบอบอื่น ดังนั้นจะต้องฝึกหัดตัวเองให้มีจิตเป็นประชาธิปไตย เช่น จิตใจกว้างขวางยอมรับฟังเหตุผลแนวคิดของคนอื่น เป็นต้น
9. ความสำนึกเกี่ยวกับคุณค่าและศักดิ์ศรีของบุคคล
10. เคารพกฎเกณฑ์และกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตย ได้แก่ เคารพเสียงข้างมากของประชาชน การป้องกันสิทธิของฝ่ายข้างน้อย ความเสมอภาคระหว่างบุคคล การวิพากษ์วิจารณ์ การปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้บัญญัติขึ้นตามวิถีทางประชาธิปไตยและขจัดเสียซึ่งความเห็นแก่ตัวหรือการลุแก่อำนาจใด ๆ
11. ความสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ต้องสร้างนิสัยเกี่ยวกับการหาความรู้ในกิจการบ้านเมือง ฝึกหัดใช้ความคิดเห็นในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นกิจการสาธารณะ และควรเข้ามีส่วนร่วมในกลุ่มการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมือง
12. ความเป็นพลเมืองดี ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น การแสวงหาความรู้ ปฏิบัติตามนโยบายของชาติ ไม่ละเมิดกฎหมาย และการเสียภาษีอากรให้รัฐ เป็นต้น
13. การฝึกมองโลกในทางที่ดีและคิดในแง่ดี เช่น มีความหวังและมีศรัทธาว่าระบบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองที่สามารถได้ประโยชน์
14. รู้จักการให้เหตุผล ทั้งในการคิด วิพากษ์วิจารณ์และปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อจะทำให้การปกครองเป็นไปได้ด้วยดี เพราะการแสดงออกเช่นนั้นย่อมมีความหนักแน่นมั่นคงในตัวเอง มีน้ำหนัก และก่อให้เกิดการกระทำในทางสร้างสรรค์ และเป็นการช่วยยับยั้งการกระทำที่ใช้อำนาจอันมิชอบของผู้ที่ทำหน้าที่ในการปกครอง
แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม