ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
รวมธรรมบรรยายของ หลวงพ่อชา สุภัทโท
ตุจโฉโปฏฐิละ
การบำรุงพระพุทธศาสนานั้นมีสองประการ หนึ่งอามิสบูชา คือปัจจัย 4 ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช นี่บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบำรุงผู้ที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา ให้มีความเป็นอยู่ได้แล้วถ่ายทอดออกมาถึงการปฏิบัติ ส่วนการปฏิบัติก็ถ่ายทอดอกไปถึงข้อปฏิบัติตามความจริงให้พระพุทธศาสนาเจริญยิ่งขึ้น เหมือนกันกับต้นไม้ต้นหนึ่ง มันมีราก โคน ลำต้น ใบ ใบทุกใบ กิ่งทุกกิ่ง ทั้งลำต้น อาศัยรากดูดกินอาหารส่งขึ้นไปหล่อเลี้ยง ต้นไม้ก็อาศัยรากเป็นเค้ามูลเอาอาหารไปหล่อเลี้ยง เรานี้ก็หมือนกัน ทั้งกายทั้งวาจานี้ หรืออายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เปรียบเหมือนกิ่ง ก้าน ลำต้น ใจเปรียบเป็นราก สำหรับดูดกินอาหารแล้วก็แบ่งขึ้นสู่ลำต้น แบ่งไปหากิ่ง หาใบ ให้เป็นดอกออกผล จิตของเรานี้ถ้ามันตั้งอยู่ในสภาพใด เช่นว่ามันตั้งอยู่ในความถูกต้องหรือว่าตั้งอยู่ในความเห็นผิด ก็แสงดงความเห็นผิดไปถึงสุดขีดของมัน ความเห็นถูกก็แสดงออกไปถึงที่สุด คือ ทางกาย และวาจาของเราเหมือนกัน ฉะนั้น การบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัตินี้จึงสำคัญมาก โดยตรงเข้าไป ไม่มีอะไร มีแต่ข้อวัตร ตรงไปตรงมา เช่น เราสมาทานศีลทุกวัน พระท่านก็บอกสิ่งที่ผิดทุกวัน พระให้พากันสมาทาน แต่ถ้าสมาทานเฉยๆ ไม่ได้ภาวนาไม่ได้พิจารณาตามเหตุผลมันก็เป็นไปได้ยาก หาข้อประพฤติปฏิบัติไม่ได้ การบำรุงพระพุทธศาสนานี้ก็บำรุง อย่างนั้น คือ ปฏิบัติบูชา คือการปฏิบัติให้มันเป็นศีลจริง ให้เป็นสมาธิจริง ให้เป็นปัญญาจริง มันจึงจะรู้เรื่อง ถ้าไม่รู้โดยการปฏิบัติ ไม่รู้เรื่องพระพุทธศาสนา ถึงจะเรียนจบพระรัตนไตรปิฎกก็ยังไม่รู้จัก
ในสมัยก่อนครั้งพุทธกาล มีสาวกองค์หนึ่งชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละ
ตุจโฉโปฏฐิละนี้มีปัญญามาก แตกฉานในคัมภีร์ แตกฉานในพระไตรปิฎกมีวัดสามขาตั้ง
18 แห่งเป็นครูเป็นอาจารย์
จนประชาชนศิษยานุศิษย์ทั้งหลายนับหน้าถือตาโดยทั่วถึง ถ้าใครได้ยินชื่อว่า
ตุจโฉโปฏฐิละก็กลัวเกรง ไม่กล้าพูดไม่กล้าเถียง เมื่อท่านอธิบายธรรมะกลัวอำนาจ
ที่ท่านได้เรียนมากจนแตกฉานในพระไตรปิฎก ฉะนั้น ท่านตุจโฉโปฏฐิละ
จึงเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ่ในครั้งพุทธกาลเพราะการเรียน
วันหนึ่งท่านไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ขณะท่านกำลังกราบลงสาธุการ พระพุทธองค์ตรัสว่า มาแล้วหรือพระใบลานเปล่า?
...ซึ้งในใจ ก็เลยพูดกันไป พอท่านจบประโยคพอสมควรแล้ว จะลาพระพุทธองค์กลับวัด... กลับอาวาสแล้วหรือ พระใบลานเปล่า? พระพุทธองค์ตรัสแค่คำนั้น...มาก็
มาแล้วหรือพระใบลานเปล่า? จะกลับก็ กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า? ไม่ได้หน้าได้หลังท่านเทศน์อยู่เท่านั้น
ตุจโฉโปฏฐิละเป็นอาจารย์ใหญ่ ก็คิดในใจว่า เอ...ทำไมพระพุทธองค์จึงรับสั่งอย่างนั้น? เป็นอะไรหนอ.. คิดไปคิดมาคิดตามการศึกษา ย้อนไปพิจารณาไป จนเห็นว่า เออ..มันจริงที่พระองค์ว่า พระใบลานเปล่า คือพระเรียนเฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อมาดูจิตใจของตนก็เหมือนกันกับฆราวาส ฆราวาสอยากได้อะไรก็อยากได้เหมือนเขา ฆราวาสยินดีอย่างไร เราก็ยินดีอย่างเขาความเป็นสมณะไม่มี ไม่มีธรรมะอันซึ้งบังเกิดขึ้นในจิตใจที่จะมาข่มจิตของตน ให้สงบระงับด้วยการอบรมทั้งหลายได้ จึงเกิดความสนใจอยากจะออกปฏิบัติ แต่ว่าการออกปฏิบัตินั้นไม่มีทางที่จะไป ไปหาอาจารย์นั่นอาจารย์นี่ ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด เขาก็เลยไม่รับ ธรรมดาคนเราเห็นครูบาอาจารย์ ก็เคารพเกรงกลัว ไม่กล้าพูดก็เลยไม่กล้ารับให้ท่านมาปฏิบัติด้วย ไปสำนักผู้ใดก็ตามไม่กล้ารับ ท่านมีความรู้มากมีปัญญามาก ใครๆ ก็ไม่กล้าตักเตือน ไม่กล้าสอน ถึงแม้ว่าท่านนั่งอยู่ที่นั้นจะเทศนาว่ากล่าวก็ยังเกรงกลัวอำนาจของท่าน
ท่านจึงไปหาสามเณรน้อย ซึ่งเป็นอริยบุคคลท่านตุจโฉโปฏฐิละก็ไปขอปฏิบัติกับเณรน้อย เณรบอกว่า พระคุณเจ้าจะมาปฏิบัติกับผม ถ้าทำจริงก็มาได้ แต่ถ้าทำไม่จริงมาไม่ได้
ตุจโฉโปฏฐิละจึงมอบกายถวายชีวิต สามเณรให้ห่มผ้า เมื่อห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว เผอิญมีสระน้ำอยู่ใกล้ๆ ที่เป็นเลน เณรก็บอกว่า เอ้า ให้วิ่งลงไปในสระน้ำนี่วิ่งลงไป ถ้ายังไม่บอกให้หยุดอย่าหยุดนะ ถ้ายังไม่บอกให้ขึ้นอย่าขึ้นนะ..เอ้า..วิ่ง
ตุจโฉโปฏฐิละห่มผ้าดีๆ แล้วก็วิ่งลงไปสระน้ำต่ำลงๆ เณรน้อยไม่ได้บอกให้หยุด ท่านก็ลงไปจนตัวเปียกหมด เปื้อนตมและขี้เลนหมด สามเณรก็บอก เอาล่ะ หยุดได้ ท่านจึงหยุด สามเณรว่า เอาละ ขึ้นมา ท่านจึงขึ้นมาแสดงให้เห็นว่าท่านละทิฏฐิของท่านแล้วจึงยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับจะไม่ยอมลงขี้เลนหรอกคนผู้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าท่านยอมไป สามเณรเห็นแล้วรู้อุปนิสัยแล้วว่า ตุจโฉโปฏฐิละเอาจริง
หน้าถัดไป >>
การปล่อยวาง
จิตที่ตื่นรู้
ตามดูจิต
สมถวิปัสสนา
บัว 4 เหล่า
ธาตุ 4
มรรค 8
ทางพ้นทุกข์
บ้านที่แท้จริง
ฝึกจิตให้มีกำลัง
ตุจโฉโปฏฐิละ
การทำจิตให้สงบ
อ่านใจธรรมชาติ
สองหน้าของสัจธรรม
ทางสายกลาง
ธรรมะกับธรรมชาติ
นอกเหตุเหนือผล
อยู่กับงูเห่า
ภาวนาพุทโธ
อยู่เพื่ออะไร
อยากเกิดแต่ไม่อยากตาย
ไม่มีอะไรได้ไม่มีอะไรเสีย
ปลาไม่เห็นน้ำ
สงบจิตได้ปัญญา
สมาธิภาวนา
ธรรมะเชิงอุปมาอุปมัย