ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ธรรมบรรยายของ หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
โลกมนุษย์เป็นสถานที่สร้างกรรม
โลกมนุษย์นี้เป็นสถานที่สร้างกรรมโดยเฉพาะ คนที่เกิดมาในโลกนี้
มีการสร้างกรรมกันหมดทุกคน พระพุทธเจ้าสร้างบารมีก็มาสร้างในโลกมนุษย์
บารมีที่เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ก็เต็มอยู่ในโลกมนุษย์นี้ มีดวงตาเห็นธรรมมีสติปัญญา
ละอาสวกิเลสตัณหาก็ละกันในโลกมนุษย์นี้ หรือ พระอรหันต์อริยสาวกก็เช่น
เดียวกันก็ได้มาบำเพ็ญบารมีอยู่ในโลกมนุษย์นี้ จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็
ได้บรรลุธรรมในโลกมนุษย์นี้ หรือผู้จะไปตกนรกอเวจี ไปเกิดเป็นเปรต เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นอสุรกาย ก็ทำกรรมชั่วอยู่ในโลกมนุษย์นี้เช่นกัน ฉะนั้น
โลกมนุษย์จึงเป็นศูนย์กลางเป็นต้นทางของจิตวิญญาณ ที่จะไปท่องเที่ยวในวัฏ
จักรอื่นต่อไป หรือเหมือนกับท่าอากาศยาน ใครต้องการไปเที่ยวที่ไหนประเทศ
ใดก็ตีตั๋วไปสายการบินนั้น ๆ นี้ฉันใด ใครอยากจะไปสู่ภพไหนชาติใดก็สร้าง
กรรมประเภทนั้น ๆ ผลของกรรมจะเป็นเครื่องบินพาท่านไปเอง ตามปกติแล้ว
จิตวิญญาณไปเกิดในที่ไหนจะติดใจพอใจอยู่ในที่แห่งนั้น ถ้าได้เกิดในโลกมนุษย์
ก็จะมีความห่วงความอาลัยไม่อยากไปในภพไหนเลย ความห่วงความยินดีนี้เองจึง
เป็นตัวถ่วงใจผูกใจเอาไว้ จะเข้าใจว่าโลกมนุษย์นี้มีความสุขดีแล้ว มีสิ่งให้เสพ
สุขได้ตามใจชอบ ต้องการในสิ่งใดก็พอหาได้ อยากชมวิวทิวทัศน์ความสวยงาม
ของโลกก็มีดู อยากสัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ถูกใจก็หาสัมผัส
ได้
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า โลกมนุษย์นี้มีความงามงอนเหมือนราชรถ มีคำต่อ
ไปว่า มีผู้โง่เขลาเท่านั้นข้องอยู่ ผู้มีสติปัญญาที่ฉลาดรอบรู้หาข้องอยู่ไม่
ถ้าเรา
ใช้วิจารณญาณพิจารณาในคำสอนของพระพุทธเจ้าในบทนี้จะเป็นอุบายสอนใจตัว
เองได้เป็นอย่างดี
ผู้ที่มีความทุกข์เดือดร้อนใจ มีสาเหตุเนื่องจากไม่ยอมรับความจริง สิ่งใด
ไม่ถูกใจไม่ชอบใจก็จะเกิดความรู้สึกรับในสิ่งนั้นไม่ได้
เป็นในลักษณะเข้าข้างตัว
เอง ไม่ยอมรับในสิ่งที่ไม่ถูกใจ ไม่ว่าสิ่งใดจะต้องให้เป็นไปตามใจชอบทั้งหมด
ไม่ยืดหยุ่น มีความเห็นอย่างไร มีความเข้าใจเป็นอย่างไร ก็อยากให้สิ่งทั้งหมด
เป็นไปตามความเข้าใจอย่างนั้น นี้คือศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของโลกไม่ทั่วถึง
ไม่เข้าใจในกระแสโลกที่มีอยู่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง การศึกษาธรรมก็คือศึกษา
หลักของธรรมชาติคือความเป็นจริง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมีการตั้งอยู่ชั่วขณะ
แล้ว
ก็เปลี่ยนแปลงไปหรือดับไป ความเข้าใจและความเห็นของคนเราย่อมแตกต่างกัน
จะให้ทุกคนมีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันนั้นเป็นไปไม่ได้ ความเห็นของนักปราชญ์บัณฑิตก็มีความเห็นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ความเห็นของคนพาลสันดานชั่วก็
เป็นอีกอย่างหนึ่ง ในโลกนี้มีทั้งนักปราชญ์และคนพาลอยู่ร่วมกัน ความคิดความ
เห็นย่อมมีความแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา ถ้าหากคบกับนักปราชญ์ก็จะไม่มี
ปัญหา เกิดขึ้น เมื่อจำเป็นจะต้องได้อยู่ในกลุ่มคนพาลก็ต้องหาทางออกที่ยืดหยุ่น
อ่านนิสัยของคนพาลสันดานชั่วให้เข้าใจ ในธาตุแท้ของคนพาล มีความ
ประพฤติเป็นอย่างไร คนพาลก็คือคนพาล จะเอาอะไรให้สมบูรณ์แบบไม่ได้ คน
ที่ใจต่ำทรามการทำการพูดเขาไม่ได้คิดถึงเหตุและผล เขาก็จะทำจะพูดให้ถูกกับใจ
เขาเท่านั้นเอง จะเอาความประพฤติในการทำการพูดของคนพาลให้ถูกกับความ
ต้องการของเราทั้งหมดไม่ได้ ต้องรู้จักให้อภัยกับคนประเภทนี้ เพราะเขายังไม่มี
สติปัญญารับผิดชอบในการทำการพูดของเขาได้
บัณฑิตกับคนพาลก็มีความอยากอยู่ในตัว แต่ใช้ความอยากที่แตกต่างกัน
การทำกรรมก็ทำไปคนละอย่างกัน
คำว่ากรรม ก็คือการกระทำทางกาย และ
วาจามโนกรรมเป็นใหญ่เป็นประธานในความอยากทั้งปวง การทำทางกายและ
วาจาจะออกมาจากความอยากของใจนี้ทั้งหมด การทำผิดทำถูก พูดผิดพูดถูกจะ
เป็นผลสะท้อนเข้าหาใจ ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาของความอยากต้องแก้กันที่ใจนั้น
คือ ความเห็น ความเห็นนี้เองจึงเป็นเข็มทิศให้ใจได้เป็นไป ถ้าใจมีความเห็น
ชอบก็จะเป็นความอยากไปในทางที่ถูก ถ้าใจมีความเห็นผิดก็จะเกิดความอยากไป
ในทางที่ผิด จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีการกระทำกรรมชั่วต่อไปยาวนาน และ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดการพูดผิดทำผิดเกิดขึ้น ฉะนั้นความเห็นที่ประกอบด้วย
ความอยาก จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม เพราะความอยากยังเป็นดาบ
สองคม ความอยากของคนพาลจะเป็นผลนำไปสู่ทุคติโดยถ่ายเดียว ความอยาก
ของนักปราชญ์บัณฑิตจะเป็นผลนำไปสู่สุคติและส่งผลให้ถึงพระนิพพานได้ ดัง
บาลีว่า ตณฺหาย ตรติ โอฆํ ตัณหาคือความอยากจะเป็นพลังส่งให้ผู้ปฏิบัติได้ข้ามพ้นไปจากโอฆสงสาร ผู้จะนำเอาตัณหาคือความอยากมาปฏิบัติให้เกิดผลดีได้
ผู้นั้นจะต้องมีสติปัญญาที่ดี มีความฉลาดรอบรู้ตามหลักความเป็นจริง ให้เป็นไป
ตามไตรลักษณ์อยู่เสมอ หรืออย่างน้อยให้มีสติปัญญาฉลาดรอบรู้ในการบำเพ็ญ
ความดีคือบุญกุศล ผู้จะบำเพ็ญบุญกุศลได้ผู้นั้นก็ต้องรู้จักบาปอกุศล ว่าการทำ
บาปทำอย่างไร ผลของบาปเป็นอย่างไร ถ้าเข้าใจในบาปอกุศลดี มีหิริความ
ละอายในการทำบาป โอตตัปปะ มคี วามกลัวต่อผลของบาปที่จะตามสนองแก่ตัว
เอง ผู้นั้นก็จะเลือกทำแต่กรรมดี คือบุญกุศลตลอดไป จนกว่าจะได้เข้าสู่มรรค
ผลนิพพาน
เหตุให้เกิดทุกข์
นิสัยของมนุษย์
มนุษย์มี 4 ประเภท
โลกมนุษย์เป็นสถานที่สร้างกรรม
การเวียนว่ายตายเกิดเนื่องจากตัณหา
อย่ายึดมั่นถือมั่น
เรียนรู้ในตำราและรู้จริงจากปัญญา
ฝึกพิจารณากัมมัฏฐานห้า
กามคุณห้ามีรูปเป็นสำคัญ
คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เหมือนกัน
เวทนา
สัญญา
สังขาร
สมมุติและสังขารเป็นของคู่กัน
รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
พุทธทำนาย 16 ข้อ