ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

ธรรมบรรยายของ หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ

เวทนา

          เวทนา หมายถึงอารมณ์ของใจ อารมณ์นี้มีลักษณะ 3 ประเภท คือ อารมณ์แห่งความสุขใจ อารมณ์แห่งความทุกข์ใจ อารมณ์ที่เฉย ๆ ภายในใจ อารมณ์ในลักษณะนี้เรียกว่า นาม เป็นเพียงอาการของใจเท่านั้น อารมณ์ทั้งสาม นี้มีอยู่ที่ใจของทุก ๆ คน ส่วนอารมณ์เฉย ๆ ภายในใจก็มีได้เป็นครั้งเป็นคราว เรียกว่าใจไม่มีอารมณ์ในความสุขและในความทุกข์นั่นเอง อารมณ์ในลักษณะนี้ จะไม่ให้คุณให้โทษแก่ใจแต่อย่างใด ไม่เหมือนอารมณ์แห่งความสุข และ อารมณ์แห่งความทุกข์ อารมณ์ทั้งสองนี้จะมีความรุนแรง ทำให้ใจมีปฏิกิริยาใน ความรู้สึกได้อย่างชัดเจน ถ้าผู้มีสติปัญญาที่ดีมีความฉลาดรอบรู้ จะเอาอารมณ์ ทั้งสองนี้มาเป็นอุบายในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ถ้าผู้มีสติปัญญาไม่ดี เมื่อมี อารมณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นจะลืมตัวไป ไม่ได้คิดพิจารณาในเหตุและผลที่เป็นต้น ทางแต่อย่างใด ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชอบใจก็จะเกิดความยินดีเพลิดเพลินจนลืมตัว ถือว่าเป็นความสุขของชีวิตที่ทุกคนมีความต้องการเป็นอย่างมาก เมื่อสมหวังแล้ว ก็จะเกิดความต้องการ พยายามวิ่งเต้นขวนขวายในสิ่งที่จะอำนวยความสุขให้มาก ยิ่งขึ้น จึงมีการลืมตัวมั่วกันไป ไม่ได้พิจารณาในเรื่องความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นแต่ อย่างใด อารมณ์ที่เป็นความสุข อารมณ์ที่เป็นความทุกข์นี้มีอยู่ในจิตแห่งเดียวกันเป็นห่วงเกาะพันกันอยู่อย่างแนบสนิททีเดียว ในจังหวะไหนห่วงที่เป็นความสุข ลอยขึ้นก็ถือว่าเป็นความสุข อนิจจังในการเปลี่ยนแปลงห่วงของความสุขกลับตัว ลง ห่วงของความทุกข์ลอยตัวขึ้น ทุกคนไม่ต้องการ ห่วงไหนจะตั้งอยู่นานหรือ ไม่นานขึ้นอยู่ กับเหตุนั้น ๆ เป็นตัวกำหนดให้เป็นไป อารมณ์แห่งความสุข อารมณ์แห่งความทุกข์ภายในใจนี้เป็นของคู่กัน เป็น เหตุเป็นผลให้แก่กันและกัน ดังคำว่า อารมณ์แห่งความสุขอยู่ที่ไหน อารมณ์ แห่งความทุกข์อยู่ในที่นั้น แต่คนเราจะเลือกเอาแต่สิ่งที่ถูกใจตัวเอง สงิ่ ที่ไม่ชอบ ใจก็พยายามที่จะแก้ไขให้ถูกใจอยู่เสมอ ส่วนมากแก้ไม่ถูกจุดก็จะเป็นเหตุตอกย้ำ ให้เกิดทุกข์มีความรุนแรงมากขึ้น ทุกคนไม่ต้องการอารมณ์ที่เป็นทุกข์ แต่มี ความขยันหมั่นสร้างเหตุให้เกิดทุกข์เป็นนิสัย ถ้าอารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นก็โวยวาย ไม่ต้องการ เหมือนกับยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู ทุกอย่างจะสวยหรูกันไปทั้งหมด ยืมเงินธนาคารมาลงทุนทำธุรกิจอะไรจะมีกำไรคล่องตัวไปหมด ทำอะไรลงไปจะ เป็นเงินเป็นทองไหลมาเทมาเข้าตำราที่ว่า เมื่อบุญมากาจะกลายเป็นหงส์ เมื่อบุญลงหงส์จะกลายเป็นกา นี้ฉันใด อารมณ์แห่งความสุขและความทุกข์จะผลัดกัน ขึ้นลงไปตามเหตุและปัจจัยไปในตัวมันเอง
          อารมณ์ของใจที่เปลี่ยนไปเนื่องจาก การสัมผัสในอายตนะภายนอกมาเป็นองค์ประกอบ เช่น ตาสัมผัสรูปที่น่ารัก หู สัมผัสเสียงที่ชอบใจ จมูกสัมผัสกลิ่นหอม ลิ้นสัมผัสรสอาหารที่ถูกใจ กาย สัมผัสที่นั่งนอนอันสบาย จึงทำให้เกิดอารมณ์ที่สุขใจขึ้น ตรงกันข้ามถ้าสัมผัส ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ไม่ชอบก็จะเกิดอารมณ์แห่งความทุกข์ใจ เกิดขึ้นได้เช่นกัน ฉะนั้นอารมณ์ที่เป็นสุขเวทนา และอารมณ์ที่เป็นทุกขเวทนา จึงเป็นเหตุที่มาจากความอยากคือตัณหาด้วยกัน ถ้าไม่มีตัณหาคือความอยากภาย ในใจ ถึงจะได้สัมผัสในอายตนะอะไรก็ไม่ทำให้ใจเกิดอารมณ์แห่งความสุขและ อารมณ์แห่งความทุกข์ภายในใจแต่อย่างใด เรียกว่าเป็นผู้มีสติปัญญารอบรู้ในต้นเหตุของอารมณ์ทั้งหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในยุคนี้จะตีความหมายในคำว่าเวทนา ยังไม่สมบูรณ์แบบ จะไป แยกเอาความทุกข์กาย มาเป็นตัวกำหนดเพียงอย่างเดียว ดังได้ยินผู้ปฏิบัติพูดอยู่ เสมอว่า ภาวนาอดทนต่อเวทนาไม่ได้เดี๋ยวปวดแข้งขาปวดหลังผ่านความทุกข์ ทรมานไปไม่ได้เลย แสดงว่าไม่ชอบใจในความทุกข์ที่เกิดขึ้น สมมุติว่า ถ้าผ่าน ทุกข์ไปได้แล้วคิดว่าจะมีความสุขใจจะนั่งภาวนาไปกี่ชั่วโมงก็นั่งกันอยู่ได้ ก็เลย เข้าใจไปว่าเราภาวนาดี มีความก้าวหน้าในการภาวนาเป็นอย่างมาก นี้คือผู้ไม่รู้ จักคำว่า เวทนา ทำไมไม่ชอบในความทุกข์ แต่ไปชอบใจในความสุข ความสุข ที่เราชอบใจอยู่นั้นเป็น สุขเวทนา ผู้ภาวนาก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเองว่ากำลังหลงอยู่ใน โมหสมาธิ จะหลงความสุขที่เกิดจากสมาธิและหลงความสงบต่อไป ในคำว่าหนี จากปากจระเข้ไปอาศัยอยู่ปากเสือ คำว่า เวทนาอนิจจา เวทนาเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง นี้เราไปอาศัยอยู่ในสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงด้วยกัน จะไปหลงอยู่ในความสุขที่ ไม่เที่ยงทำไม ถ้าไปติดในความสุขของสมาธิอยู่บ่อย ๆ จะเกิดความหลงได้ จะ เกิดความตีใจพอใจอยากสงบสุขอยู่อย่างนี้ตลอดไป แต่ละวันแต่ละชั่วโมงจะมี ความฝักใฝ่ในสมาธิความสงบนี้เป็นนิสัย ไม่สนใจในการแก้ปัญหาให้แก่ใจแต่ อย่างใด ใจมีความหลงใหลในอารมณ์อย่างใดต้องแก้ไขให้หมดไป มิใช่ว่าจะมา ติดใจในอารมณ์แห่งความสุขของสมาธิเพียงเท่านี้ หรือได้รับอุบายการภาวนา ปฏิบัติจากคูรอาจารย์มาอย่างไรก็ปฏิบัติไปอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ก็ยากที่จะเข้าใจใน คำว่าเวทนาที่ถูกต้อง

เหตุให้เกิดทุกข์
นิสัยของมนุษย์
มนุษย์มี 4 ประเภท
โลกมนุษย์เป็นสถานที่สร้างกรรม
การเวียนว่ายตายเกิดเนื่องจากตัณหา
อย่ายึดมั่นถือมั่น
เรียนรู้ในตำราและรู้จริงจากปัญญา
ฝึกพิจารณากัมมัฏฐานห้า
กามคุณห้ามีรูปเป็นสำคัญ
คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เหมือนกัน
เวทนา
สัญญา
สังขาร
สมมุติและสังขารเป็นของคู่กัน
รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
พุทธทำนาย 16 ข้อ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม