ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสูตร
พระสูตร โปฏฐปาทสูตร
ว่าด้วย ปริพาชกโปฏฐปาทะ
การได้อัตตา ๓ ประการ
[๓๐๒] ดูกรโปฏฐปาทะ ความได้อัตตา ๓ เหล่านี้ คือ ได้อัตตาที่หยาบ ๑ ได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ได้อัตตาที่หารูปมิได้ ๑
ความได้อัตตาที่หยาบเป็นไฉน คือ อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหาร นี้ความได้อัตตาที่หยาบ ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน คือ อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะนัอยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ความได้อัตตาที่หารูปมิได้เป็นไฉน คือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา นี้ความได้อัตตาที่หารูปมิได
[๓๐๓] ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อละความได้อัตตาที่หยาบว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไรจึงจะละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น พวกท่านจักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
ดูกรโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็น อย่างนี้ว่า สังกิเลสธรรมเราจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้นได้ ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ แต่ความอยู่ไม่สบาย
ดูกรโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลสธรรมพวกท่านจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้นได้ ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ และความอยู่สบายจักมีได้
[๓๐๔] ดูกรโปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อละความได้อัตตาแม้ที่สำเร็จด้วยใจว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไรจึงจะละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น พวกท่านจักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญาให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
ดูกรโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็น อย่างนี้ว่า สังกิเลสธรรมเราจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้นได้ ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ แต่ความอยู่ไม่สบาย
ดูกรโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลสธรรมพวกท่านจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้นได้ ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ และความอยู่สบายจักมีได้
|| หน้าถัดไป >>
- ติรัจฉานกถา
- ว่าด้วยอภิสัญญานิโรธ
- มัชฌิมศีล
- มหาศีล
- อินทรียสังวร
- สติสัมปชัญญะ
- สันโดษ
- นิวรณ์ ๕
- เหตุเกิดและดับสัญญา
- การเข้าอภิสัญญานิโรธ
- ว่าด้วยสัญญาและอัตตา
- อัพยากตปัญหา
- จิตตหัตถิสารีบุตรและโปฏฐปาทปริพาชก
- เอกังสิธรรม
- ว่าด้วยทิฏฐิของสมณพราหมณ์
- การได้อัตตา ๓ ประการ
กัจจานโคตตสูตร
เกสปุตตสูตร
กุตุหลสาลาสูตร
โกกนุทสูตร
ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค
เขมาเถรีสูตร
จูฬกัมมวิภังคสูตร
จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
ตตถสูตร
ติมพรุกขสูตร
ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค
ทิฏฐิสูตร
ปรัมมรณสูตร
ปัญจัตตยสูตร
โปฏฐปาทสูตร
พรหมชาลสูตร
ภัททิยสูตร
โมคคัลลานสูตร
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
วัจฉสูตร
สภิยสูตร
สามัญญผลสูตร
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔
สาฬหสูตร
อนันทสูตร
อนุราธสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
อุตติยสูตร
อเจลกัสสปสูตร