ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสูตร
พระสูตร สาฬหสูตร
ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
[๕๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะหลานชายของมิคารเศรษฐี กับนาย โรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้ชวนกันเข้าไปหาพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา... สมณะนี้เป็นครูของเรา
ดูกรสาฬหะและโรหนะ เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความในข้อนั้นเป็นไฉน
ความโลภมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ความข้อนี้เรากล่าวว่า
อภิชฌาบุคคลผู้โลภมาก
ด้วยความอยากได้นี้
ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้
ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
สา. จริงอย่างนั้น
ขอรับ
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความโกรธมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ความข้อนี้เรากล่าวว่า
ความพยาบาท
บุคคลผู้ดุร้ายมีจิตพยาบาทนี้
ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้
ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
สา. จริงอย่างนั้น
ขอรับ
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความหลงมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ความข้อนี้เรากล่าวว่า อวิชชา
บุคคลผู้หลง
ตกอยู่ในอำนาจอวิขขานี้
ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้
ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
สา. จริงอย่างนั้น
ขอรับ
|| หน้าถัดไป >>
กัจจานโคตตสูตร
เกสปุตตสูตร
กุตุหลสาลาสูตร
โกกนุทสูตร
ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค
เขมาเถรีสูตร
จูฬกัมมวิภังคสูตร
จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
ตตถสูตร
ติมพรุกขสูตร
ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค
ทิฏฐิสูตร
ปรัมมรณสูตร
ปัญจัตตยสูตร
โปฏฐปาทสูตร
พรหมชาลสูตร
ภัททิยสูตร
โมคคัลลานสูตร
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
วัจฉสูตร
สภิยสูตร
สามัญญผลสูตร
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔
สาฬหสูตร
อนันทสูตร
อนุราธสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
อุตติยสูตร
อเจลกัสสปสูตร