ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสูตร
พระสูตร สาฬหสูตร
ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
หน้า 2
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล
สา. เป็นอกุศล ขอรับ
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ
สา. มีโทษ ขอรับ
พ.
ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
สา. ท่านผู้รู้ติเตียน
ขอรับ
พ.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์หรือหาไม่
ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร
สา.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์
ในข้อนี้ผมมีความเห็นอย่างนี้
พ.ดูกรสาฬหะและโรหนะเราได้กล่าวคำใดไว้ว่าดูกรสาฬหะและโรหนะ
มาเถอะท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา...
อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด
ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ
ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน
ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสียดังนี้
เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้ว
ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้
ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่{น.๑๘๖}
พ.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่โลภมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ความข้อนี้เรากล่าวว่า
อนภิชฌาบุคคลผู้ไม่โลภ
ไม่มากด้วยความอยากได้นี้
ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
บุคคลผู้ไม่โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
สา. จริงอย่างนั้น
ขอรับ
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่โกรธมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ความข้อนี้เรากล่าวว่า
ความไม่พยาบาท บุคคลผู้ไม่โกรธ
มีจิตไม่พยาบาทนี้
ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
บุคคลผู้ไม่โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
สา. จริงอย่างนั้น
ขอรับ
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่หลงมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ความข้อนี้เรากล่าวว่า วิชชา
บุคคลผู้ไม่หลง
ถึงความรู้แจ้งนี้
ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
บุคคลผู้ไม่หลง
ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
สา. จริงอย่างนั้น
ขอรับ
น.
ดูกรสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล
สา. เป็นกุศล ขอรับ
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ
สา. ไม่มีโทษ ขอรับ
พ.
ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
สา.
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ขอรับ
พ.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขหรือไม่เล่า
ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร
สา.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขขอรับ
ในข้อนี้ผมมีความเห็นเช่นนี้
พ.ดูกรสาฬหะและโรหนะเราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย
กัจจานโคตตสูตร
เกสปุตตสูตร
กุตุหลสาลาสูตร
โกกนุทสูตร
ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค
เขมาเถรีสูตร
จูฬกัมมวิภังคสูตร
จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
ตตถสูตร
ติมพรุกขสูตร
ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค
ทิฏฐิสูตร
ปรัมมรณสูตร
ปัญจัตตยสูตร
โปฏฐปาทสูตร
พรหมชาลสูตร
ภัททิยสูตร
โมคคัลลานสูตร
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
วัจฉสูตร
สภิยสูตร
สามัญญผลสูตร
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔
สาฬหสูตร
อนันทสูตร
อนุราธสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
อุตติยสูตร
อเจลกัสสปสูตร