ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสูตร

พระสูตร อัคคิวัจฉโคตตสูตร

เรื่อง ปริพาชกวัจฉโคตร

หน้า 2

[๒๔๗] ดูกรวัจฉะ ความเห็นว่าโลกเที่ยง... โลกไม่เที่ยง... โลกมีที่สุด... โลกไม่มีที่สุด... ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้นั้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแก่วง เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความลำบาก เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวง เช่นนี้
ก็ความเห็นอะไร ๆ ของท่านพระโคดม มีอยู่บ้างหรือ

ดูกรวัจฉะ ก็คำว่าความเห็นดังนี้นั้น ตถาคตกำจัดเสียแล้ว ดูกรวัจฉะ ก็ตถาคตเห็นแล้วว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ เพราะฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า ตถาคตพ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะคลายกำหนัด เพราะดับสนิท เพราะสละ เพราะปล่อย เพราะไม่ถือมั่น ซึ่งความสำคัญทั้งปวง ซึ่งความต้องการทั้งปวง ซึ่งความถือว่าเรา ว่าของเรา และความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง

ปัญหาว่าด้วยผู้หลุดพ้น

[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ใหน

ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ

ดูกรวัจฉะ คำว่าไม่เกิด ดังนี้ ก็ไม่ควร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ

ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ

ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร

[๒๔๙] ๒๔๙ พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ใหน ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควร ฯลฯ พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ก็ไม่ควร ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ ข้าพเจ้าถึงความไม่รู้ ถึงความหลงแล้ว แม้เพียงความเลื่อมใสของข้าพเจ้าที่ได้มีแล้ว เพราะพระวาจาที่ตรัสไว้ในเบื้องแรกของท่านพระโคดม บัดนี้ได้หายไปเสียแล้ว

[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรม ที่จะหยั่งถึงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างใด ก็พึงพยากรณ์อย่างนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา

ดูกรวัจฉะ ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกโพลง ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์อย่างไร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าใคร ๆ ถามข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกโพลง ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่

ดูกรวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ ดับไปต่อหน้าเราแล้ว

ดูกรวัจฉะ ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วอยู่ต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศไหน จากทิศนี้ ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >> หน้า 3

กัจจานโคตตสูตร
เกสปุตตสูตร
กุตุหลสาลาสูตร
โกกนุทสูตร
ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค
เขมาเถรีสูตร
จูฬกัมมวิภังคสูตร
จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
ตตถสูตร
ติมพรุกขสูตร
ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค
ทิฏฐิสูตร
ปรัมมรณสูตร
ปัญจัตตยสูตร
โปฏฐปาทสูตร
พรหมชาลสูตร
ภัททิยสูตร
โมคคัลลานสูตร
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
วัจฉสูตร
สภิยสูตร
สามัญญผลสูตร
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔
สาฬหสูตร
อนันทสูตร
อนุราธสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
อุตติยสูตร
อเจลกัสสปสูตร

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม