ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัยนั้นมีการบันทึกข้อมูลไว้น้อยมาก โดยอาศัยศึกษาจากข้อความบนหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้กล่าวถึงคนในสมัยกรุงสุโขทัยว่า อยู่เย็นเป็นสุข
อยากเล่นก็เล่น แต่ไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการเล่นอะไรบ้าง ดังตอนหนึ่งที่ว่า
บังคมกลองด้วยเสียงพาด (พาทย์) เสียงพิน (พิณ) เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักเลื่อน เลื่อน... (หอสมุดแห่งชาติ. 2504 : 336)
ประชาชนในสมัยกรุงสุโขทัยนิยมการเล่นสนุกสนานทุกค่ำคืน มีการเล่นพนันทายบุตร
ในครรภ์ การเล่นโคชนโคเกวียน และการเล่นวิ่งรอบธงคลีช้างคลีม้าคลีคน ซึ่งการเล่นจะเป็นไปตามนักขัตฤกษ์ ดังวรรณกรรมตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ( กรมศิลปากร. 2513 : 14, 108)
ได้กล่าวถึงการเล่นเหล่านี้ไว้ว่า
...เกษมสุขทุกทั่วหน้านรชาติชายหญิง บ้างก็เล่นพนันทายบุตรในครรภ์ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เล่นโคชนโคเกวียน คนแล่นรอบแล่นธงคลีช้างคลีม้าคลีคนเป็นตามขัตฤกษ์ บ้างก็เล่นระเบงปี่ระเบงกลองฟ้อนแพนขับพิณดุริยางค์บรรเลงเพลงร้องหนังรำระบำโคมทุกวันคืนมิได้ขาด เอิกเกริกไปด้วยสำเนียงนิกรประชาเสสรวลเล่นและซื้อขายจ่ายแจก จนราษราตรีมัชฌิมยามจึงค่อยสงัดเสียง
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการเล่นแข่งขันว่าวหง่าวซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายในสมัยก่อน เล่นในเดือนยี่ในงานนักขัตฤกษ์ ดังกล่าวไว้ว่า
เดือนยี่ ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโคกินเลียงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางใน
ก็ได้ชุดชักว่าวหง่าว ฟังสำเนียงเสียงว่าวร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี
การเล่นว่าวหง่าวนิยมชักทิ้งค้างคืนไว้ ปล่อยว่าวให้ลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานานประมาณ 2 เดือน เมื่อว่าวลอยขึ้นไปถูกลมจะมีเสียงดัง ว่าวหง่าวนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า
ว่าวดุยดุ่ยหรือตุ้ยตุ่ย (ประยุทธ สิทธิพันธ์. 2524 : 357 ; กลุ่มศิลปินพื้นบ้านล้านนา. 2538 :
วีดีทัศน์) ในตำราพิธีทวาทศมาสฉบับเก่า (อ้างอิงจาก ประยุทธ สิทธิพันธ์. 2524 : 356)
ได้กล่าวถึงพิธีชักว่าวในเดือนยี่ไว้อย่างละเอียด ดังตัวอย่างที่ว่า
พระราชพิธีแผลง*ตั้งโรงพระราชพิธีดุจก่อน ให้ชีพ่อพราหมณ์ เชิญพระอิศวร
พระนารายณ์มาตั้งยังที่ แล้วให้เจ้าพนักงานเตรียมว่าวมาไว้ในโรงราชพิธี ครั้นได้ฤกษ์ดีให้ประโคมปี่พาทย์ฆ้องไชย เชิญเสด็จออกทรงชักว่าว พราหมณ์เจ้าพนักงานเอาถวายให้ทรงชัก
ตามบุราณราชประเพณี เพื่อทรงพระเจริญแลฯ