ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม

การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง

ไม้หึ่ง

(การเล่นในสมัยอยุธยา)
เป็นการเล่นที่เล่นได้ทั้งหญิงและชาย มีกฎกติกาและระเบียบแบบแผนในการเล่น ที่เห็นได้อย่างชัดเจน มีการใช้อุปกรณ์จำเพาะ นิยมเล่นกันในเทศกลางตรุษสงกรานต์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความสามัคคี ความพร้อมเพรียง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  2. เพื่อฝึกไหวพริบ

อุปกรณ์

  1. แม่ไม้ 1 อัน มีขนาดความยาวประมาณ 24-32 นิ้ว โตขนาดเท่าไม้ถือ
  2. ลูกไม้ 1 อัน มีขนาดความยาวประมาณ 3 นิ้ว โตขนาดเท่าส่วนปลายของแม่ไม้

ผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน โดยจะเล่นรวมทั้งชายและหญิง หรือเล่นเฉพาะชายกับชาย หญิงกับหญิงก็ได้

รูปแบบ
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายตีและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรับ ดังภาพประกอบ


ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นไม้หึ่ง
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 40

วิธีการเล่น

  1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายตี อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรับ
  2. ขุดรางลงในดินให้ยาวประมาณ 3 นิ้ว กว้างพอวางลูกไม้ขวางแล้วไม่ตก
  3. เริ่มตีลูกที่ 1 ฝ่ายตีคนแรกเอาลูกวางขวางราง เอาแม่ไม้งัดให้ลูกลอยไปตก ทางฝ่ายรับ แล้วเอาแม่ไม้วางขวางรางไว้
  4. ถ้าฝ่ายรับรับลูกได้ คนที่ตีลูกมาต้อง “ตาย” ถ้าฝ่ายรับรับไม่ได้ ลูกไม้ตกที่ใดต้องหยิบลูกไม้ทอยมาจากตรงที่ตกให้ไปถูกแม่ไม้ที่วางขวางรางอยู่ ถ้าทอยถูกผู้ตีลูกมาจะตาย ถ้าตีไม่ถูกลูก คนที่ 2 จะได้ตีต่อไป
  5. ลูกที่ 2 ผู้ตีกำไม้ด้วยมือขวา วางลูกไม้ขวางเหนือมือที่กำแม่ไม้ไว้ ให้ลูกไม้พาดหัวแม่ไม้ตรงกึ่งกลาง เมื่อชั่งน้ำหนักลูกไม้พอเหมาะแล้ว ให้เดาะลูกไม้นั้นลอยขึ้นพร้อมกันนั้นให้เอาแม่ไม้เดาะลูกไม้ซึ่งย้อยลงมาให้ลอยไปตกทางฝ่ายรับ
  6. ถ้าฝ่ายรับรับลูกได้ ผู้เดาะลูกจะตาย ถ้ารับไม่ได้จะต้องหยิบลูกไม้โยนจากที่ลูกไม้ตกมาให้ใกล้ปากรางไม่เกินกว่าช่วงแม่ไม้ ดังนั้นจัดว่าผู้ตีเป็นฝ่ายตาย แต่ผู้ตีจะต้องป้องกันคือเมื่อเดาะลูกไปแล้วฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ต้องถือแม่ไม้รอคอยที่ปากราง เมื่อผู้รับโยนลูกไม้มา ก็ให้ใช้แม่ไม้ตีปัดลูกไม่ให้ไปตกทางอื่นห่างบริเวณปากรางช่วงแม่ไม้ ถ้าทำได้ผู้ตีจะได้ตีลูก 3 ต่อไป
  7. ลูกที่ 3 ผู้ตีหันหลังไปทางผู้รับ ผู้ตียกไม้ขึ้นเหนือศีรษะด้วยมือซ้าย มือขวาจับแม่ไม้ตีให้ลูกลอยไปตกทางฝ่ายรับแล้วเอาแม่ไม้วางขวางรางไว้ให้ฝ่ายรับทอย การรับการทอยเหมือนกับลูกที่ 1 ถ้าฝ่ายตีตายด้วยลูกใดถือว่าตายเลย ถ้าตายหมดทุกคนก็ให้กลับเป็นฝ่ายรับบ้าง และฝ่ายรับกลับมาเป็นฝ่ายตี
  8. ถ้าฝ่ายตี ๆ ได้ทั้ง 3 ลูก มีสิทธิ์จะให้พวกตนที่ตายกลับขึ้นมาเล่นได้โดยพวกตนคนใดตายด้วยลูกใดก็ให้ตีลูกนั้นซ้ำอีกทีหนึ่ง ถ้าฝ่ายรับรับไม่ได้และทอยไม่ถูกแม่ไม้ ผู้ที่ตาย ก็จะกลับเป็น และเริ่มตีตั้งแต่ลูกที่ 1 ไปใหม่ ถ้าตีลูกไปตายอีก คนอื่นที่เป็นจะต้องตีใช้อีก จึงจะกลับมาเป็นได้
  9. เมื่อฝ่ายตี ตีลูกเป็นหมดทุกคนหรือใช้ผู้ที่ตายให้กลับเป็นหมดทุกคนแล้วถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
  10. ต่อไปก็เดาะลูกไม้โดยทางฝ่ายตีทุกคนผลัดกันเดาะ โดยจับแม่ไม้ที่กึ่งกลางให้ลงไปแนบท่อนแขน แล้วนับว่าเดาะได้กี่ทีจนกว่าลูกไม้จะตกดิน ปฏิบัติเช่นนี้จนหมดทุกคน แล้วก็พลัดกันตีลูกไปข้างหน้าเท่ากับจำนวนที่เดาะได้ทุกคน เป็นทางยาวเท่าใดก็ได้ โดยให้ฝ่ายรับหึ่งมา จะต้องหึ่งให้มีเสียงดังเพียงชั่วอึดใจเดียว เมื่อหมดอึดใจก็ให้คนอื่นมารับช่วงแทนต่อไป จึงถึงที่ตั้งต้น ถ้าหึ่งหมดคนแล้วยังไม่ถึงที่ฝ่ายตีก็ตีลูกต่อระยะออกไปอีก 1 ไม้ ให้ผู้หึ่งทำดังนี้จนกว่าผู้รับจะช่วยกันหึ่งมาจนถึงที่ตั้งต้นได้ และผู้รับกลับมาเป็นฝ่ายตีบ้าง

ข้อเสนอแนะ

1. กติกา

  1. ในการทอยลูกที่ 2 นั้น ผู้ทอยจะต้องอาศัยไหวพริบล่อหลอกจนผู้ตี ไม่สามารถตีลูกได้
  2. ผู้ทอยไม่จำกัดตัวผู้ใด โดยมากมักมอบให้ผู้ที่ทอยแม่นที่สุดเป็นคนทอย
  3. ในการเดาะ ผู้เดาะต้องยืนที่ปากราง แล้วจับไม้เขียนเป็นวงรอบตัว ถือว่าเป็นเขตซึ่งผู้รับจะเข้าไปในเขตนี้ไม่ได้
  4. ในขณะที่ผู้ตีตีลูกไปให้ผู้รับหึ่งนั้น ผู้รับต้องคอยหาโอกาสรับลูกไม้ให้ได้ เมื่อรับได้ก็ย่นระยะทางหึ่งได้เท่านั้นครั้ง เช่น ถ้ารับได้ 4 ลูก ก็ขว้างลูกไม้กลับมา 4 ครั้ง การย่นระยะทางมักจะให้ผู้ที่ขว้างไกลที่สุดเป็นคนย่น

2. ระเบียบการตัดสิน
ลูกที่ตีไปต้องตีไปตรง ๆ ถ้าหันหน้าออกนอกทางมากเกินควร ผู้รับสามารถขอร้องให้ทำใหม่ได้ ลูกที่ตกถึงดินแล้วกระดอนขึ้นนั้นจะถือว่ารับไม่ได้ ในการเดาะผู้รับจะเข้าไปรับในวง หรือใช้ไม้ใช้ผ้าไปปัดไม่ได้ การเร่ ถ้าลูกไม่ตรงแนวหรือตรงทางผู้ตีหรือผู้ทอย อาจเร่เข้ามาให้ เข้าทางเข้าแนวได้ (กรมพลศึกษา. 2542 : 529-531

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย