ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม

การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง

ว่าวหง่าว

(การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย)
ว่าวหง่าวหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ว่าวดุยดุ่ยหรือตุ๊ยตุ่ยหรืออีตุ้ย นิยมเล่นในฤดูหนาวในช่วงตอนเช้ามืด เมื่อดาวประกายพรึกขึ้นสว่าง ผู้ใหญ่ชาวบ้านพากันไปรดน้ำยาสูบและขณะเดียวกันก็ถือโอกาสนำว่าวไปเล่นด้วย ส่วนเด็ก ๆ นิยมเล่นว่าวหง่าวในตอนเย็น การเล่นว่าวหง่าวนอกจากจะประดิษฐ์ให้ว่าวมีเสียงดังและลอยสูงแล้ว ยังต้องให้ว่าวแกว่งฉวัดเฉวียนไปมาด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อความสนุกสนานและสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน
  2. เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  3. เพื่อฝึกการรู้จักสังเกต

อุปกรณ์

  1. ไม้ไผ่ใช้ทำโครงว่าว
  2. เชือกป่าน
  3. ด้าย
  4. กระดาษว่าว
  5. แป้งเปียกหรือกาว

ผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน ว่าว 1 ตัวต่อผู้เล่น 1 คน

รูปแบบ
ผู้เล่นกระจายกันออกไป ดังภาพประกอบ


ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นว่าวหง่าว
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 31

วิธีการประดิษฐ์

  1. นำไม้ไผ่มาเหลาให้เล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 – 0.3 เซ็นติเมตร สั้น 4 อัน ยาว 1 อัน ความยาวแล้วแต่ขนาดของว่าวที่ต้องการ
  2. นำไม้ไผ่ที่เหลาแล้วมาผูกเป็นโครงว่าวให้อันยาวเป็นไม้แกนหรือไม้อก อันสั้นวางขวาง ทำเป็นปีก 2 ปี ปีด้านหัวจะใหญ่กว่าปีด้านล่างเกือบ 2 เท่า ใช้ด้านผูกติดให้แน่น แล้วโยงเชือกตามปลายไม้ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
  3. นำกระดาษว่าวมาติดตามโครงว่าวโดยให้กระดาษใหญ่กว่าโครงว่าวประมาณ 1 นิ้ว เพื่อความสะดวกในการพับขอบติดกาวตามโครง
  4. นำแป้งเปียกมาทาที่ขอบของกระดาษแล้วนำไปติดกับโครงว่าว ทิ้งไว้ให้แห้ง
  5. นำเชือกขนาดเล็กมาผูกเป็นคนซุงโดยเจาะรูเล็ก ๆ ผูกติดกับแกนหรือไม้ออกซึ่งเป็นไม้ถือสำหรับจับว่าวขณะที่ส่งว่าวขึ้นไปในท้องฟ้า กะระยะใช้น้ำหนักถ่วงพอดีไม่ให้เอียงแล้วนำไปผูกกับเชือกป่านที่ใช้ชักว่าว
  6. ติดคันเสียงซึ่งทำจากไม้ไผ่เป็นคันไม้ แล้วใช้ใบลานหรือใบตาลผูกปลาย ด้วยเชือกตั้งสองด้าน ผูกให้ตึงกับไม้คล้ายกับคันธนู เส้นเชือกที่ผูกมัดใบลานหรือใบตาล ต้องลูบด้วยขี้ผึ้ง จะช่วยเพิ่มความดังของเสียงเมื่อใบลานปะทะลม เมื่อคันเสียงปะทะกับลม ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับความแรงของลม

วิธีการเล่น

  1. ก่อนเล่นว่าวต้องหาทิศทางลมก่อนว่าพัดไปทางไหน
  2. มีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้ส่งว่าว อีกคนหนึ่งถือสายป่านอยู่เหนือลม โดยให้ยืน ห่างกันพอสมควร เมื่อได้จังหวะที่ลมพัดแรง ให้ผู้ส่งว่าวปล่อยว่าวขึ้นไปตามลม
  3. คนถือสายป่านปล่อยสายป่านแล้วคอยกระตุกและผ่อนเป็นจังหวะจนว่าวขึ้นสูงติดลมบนแล้วให้ถือว่าวไว้นิ่ง ๆ คอยควบคุมและบังคับว่าวไม่ให้ตก

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรเล่นว่าวในสถานที่โล่งแจ้ง เช่น กลางสนามหรือทุ่งโล่ง
  2. ไม่ไผ่ที่ใช้ทำว่าวควรเป็นไม้ไผ่สีสุก เพราะมีความแข็งแรงทนทาน
  3. ตัวว่าวจะมีขนาดลำตัวใหญ่ อาจสูงเกินศีรษะ เพราะว่าต้องติดคันเสียง เสียงของว่าวหง่าวจะมีความไพเราะหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนประดิษฐ์เป็นสำคัญ
  4. ถ้าไม่มีคนคอยช่วยส่งว่าว ผู้เล่นต้องถือเชือกไว้ เมื่อลมพัดมาให้ออกวิ่ง ตามทิศทางเดียวกับลมเพื่อเป็นแรงช่วยส่งว่าว ค่อย ๆ ปล่อยเชือกให้ยาวขึ้นจนว่าวขึ้นสูง

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย