ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม
จากหลักฐานในหนังสือมหากาพย์อีเลียด (Iliad) ของโฮเมอร์ (Homer) และจากงานจิตรกรรมในสมัยก่อน ทำให้ทราบว่าการเล่นมีมาตั้งแต่ระยะแรกของรอบพันปีก่อนคริสตกาลหรืออาจมีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดมนุษย์ แต่ไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ ในเทศกาลโอลิมปิกครั้งแรกซึ่งจัดที่ประเทศกรีก มีการเล่นวิ่งไล่จับหรือโปลิศจับขโมย (Prisoners Base) และการขโมยไม้ (Stealing Stick)
ส่วนการละเล่นในประเทศไทย มีหลักฐานอ้างอิงถึงน้อยมาก ในสมัยกรุงสุโขทัยการเล่นที่มีการกล่าวถึง ได้แก่ การแข่งขันชักว่าวหง่าว พนันทายบุตรในครรภ์ โคชนโคเกวียน และการวิ่งรอบธงคลีช้างคลีม้าคลีคน
จากการศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์คาดว่า เกมหรือการเล่น เริ่มมีมาพร้อมกับการกำเนิดของมนุษย์ แต่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง จนกระทั่งสมัยกรีกคือระยะแรกของรอบพันปี
ก่อนคริสตกาลได้ปรากฏหลักฐานอ้างถึงการเล่นในหนังสือมหากาพย์อิลเลียด (Iliad) ของโฮเมอร์ (Homer) และจากการค้นพบในงานจิตรกรรม พบว่า การที่บุคคลจะมีชีวิตอยู่รอดได้ ในสมัย
กรีกโบราณนั้น ต้องเป็นบุคคลที่มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ดังนั้นการเล่นต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นไปในเรื่องของการออกกำลังกาย เช่น การแข่งรถม้า มวยปล้ำ ชกมวย วิ่งแข่ง ยิงธนู พุ่งแหลน และ
ขว้างจักร เป็นต้น มีการจัดเทศกาลการแข่งขันอย่างสม่ำเสมอ มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ผู้เข้าร่วมแข่งขันมีการฝึกฝนการเล่นต่าง ๆ ด้วยตนเอง จนกระทั่งถึงช่วงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
การเล่นการแข่งขันเริ่มจริงจังขึ้น และการเล่นเหล่านี้ถูกบรรจุในหลักสูตรการศึกษาของเด็กชาวกรีกเช่นเดียวกับการอ่านและการดนตรี กีฬาโอลิมปิกได้เกิดขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน (Robinson อ้างถึงในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2538 : 7) การเล่นในเทศกาลโอลิมปิกครั้งแรก ได้แก่ การวิ่งไล่จับหรือโปลิศจับขโมย (Prisoners Base) และการขโมยไม้ (Stealing Sticks) (Harbin. 1976 : 8)
ในกรุงสปาร์ตา การเล่นได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรภาคบังคับ เด็กชาวปาร์ตาได้รับการฝึกทางด้านร่างกายเป็นพิเศษ พลเมืองเพศชายทุกคนได้รับการฝึกเพื่อให้มีสมรรถภาพทางกายที่แข็งแรง
การเล่นซ่อนหา (Hide and Seek) เริ่มขึ้นในประเทศยุโรป เนื่องจากการที่ผู้คนนิยม
ออกจากบ้านในฤดูใบไม้ผลิ เพื่อค้นหานก ดอกไม้ และแมลง บางครั้งผู้ซ่อนจะเลียนแบบนก
เพื่อซ่อนผู้มีหน้าที่หานก
ในปีคริสตศักราช 1953 โจเซพ สตรัทท์ (Joseph Strutt. 1953)
ได้ศึกษากีฬาและกิจกรรมยามว่างของชาวอังกฤษ เพื่อชี้ให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของชนชาติอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา โทมัส ทอลเดย์ (Thomas Talley. 1922) ได้ศึกษาการเล่นและปริศนาของชาวอัฟริกัน อเมริกัน หลังจากนั้นพอล บริวสเตอร์ (Paul Brewster. 1953)
ได้เก็บรวบรวมการเล่นซึ่งไม่มีการขับร้องของชาวอเมริกัน
ส่วนการละเล่นของไทยคาดว่า มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อเด็ก ๆ เล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ ในการเอาดินมาปั้นเล่นเป็นกระทงเล็ก ๆ แต่ปั้นส่วนก้นของกระทงให้บางเท่าที่จะบางได้ เพื่อใช้ในการเล่น แตกโพละ (อนุมานราชธน. 2510 : 130) โดยการขว้างกระทงลงบนพื้น
ให้แรง จะมีเสียงแตกโพละเห็นเป็นช่องโหว่ที่ก้นกระทง แล้วเอาดินมาแผ่บาง ๆ ให้เท่ารูโหว่
เพื่อชดใช้เนื้อดินที่โหว่ไป
การเล่นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยที่เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายชั้นสูง ได้แก่ การเล่นว่าว
จะเห็นได้จากที่ชาวเมืองศรีสัชนาลัยนิยมถวายเครื่องสักการะและสังเวยพระร่างด้วยว่าว เพราะรู้ว่า
พระร่วงโปรดว่าว โดยนำเอาว่าวไปวางไว้ ณ กุฏิกระร่วง ที่มีลักษณะเป็นอาคารทึบสี่เหลี่ยมหลังคาสองชั้น อยู่หน้าพระอุโบสถของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การเล่นว่าวได้ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในสมัยนี้การเล่นว่าวนิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนโดยทั่วไป ไม่ใช่เล่นกันเฉพาะเจ้านายหรือเจ้าหน้าที่ชั้นสูงดังเช่นในสมัยโบราณ
ดังนั้นการเล่นจึงเป็นลู่ทางหนึ่งที่ทำให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะ ซึ่งในระยะแรก ๆ การศึกษาเรื่องของการเล่น นักคติชนวิทยาให้ความสนใจเฉพาะ
ด้านประวัติและการถ่ายทอดวิธีการเล่นเท่านั้น ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการเล่น
และไม่มีการจัดแบ่งประเภทของการเล่น เป็นการเก็บรวบรวมมากกว่าการวิเคราะห์
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง