ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง
หม้อข้าวหม้อแกง
(การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)
เป็นการเล่นเบ็ดเตล็ดเลียนแบบการดำเนินชีวิตของผู้ใหญ่ การเล่นในสมัยก่อนจะถูกมองในแง่จิตวิทยาว่าเป็นการทำนายอนาคตหรือบุพนิมิต ดังเช่นในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งได้กล่าวถึง การเล่นสมัยเด็กของนางพิมไว้ว่า
แล้วนางหุงข้าวต้มแกง กวาดทรายจัดแจงเป็นรั้วบ้าน
นางเล่นทำบุญให้ทาน ไปนิมนต์สมภารมาเร็วไว
(หอสมุดแห่งชาติ. 2513 : 11)
ปัจจุบันการเล่นนี้เรียกกันว่า การเล่นขายของ นิยมเล่นในหมู่เด็กผู้หญิง
วัตถุประสงค์
- เพื่อฝึกหัดการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นและการดำรงชีพ
- เพื่อฝึกการรู้จักคิดสร้างสรรค์
อุปกรณ์
- อุปกรณ์ที่เหลือใช้สำหรับแทนภาชนะ
- เปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบก้นบิด
- ปูนแดง
ผู้เล่น
มีการสมมติผู้เล่นให้เป็นฝ่ายขายและฝ่ายซื้อ บทบาทของผู้เล่นจะเป็นได้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายช่วยทำและเปลี่ยนบทบาทมาเป็นฝ่ายซื้อ
รูปแบบ
ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ดังภาพประกอบ
ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นหม้อข้าวหม้อแกง
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 54
วิธีการเล่น
นำเปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบก้นบิดผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อย คั้นเอาน้ำข้น ๆ ใส่ไว้ในภาชนะ ในไม่ช้าน้ำข้น ๆ นั้นจะแข็งตัว เรียกว่า ขนมวุ้น ผู้เล่นนำมาตัดขายให้แก่
ผู้เล่นคนอื่น ๆ