ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง
กลองหม้อตาล
(การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)
กำเนิดมาจากในสมัยก่อนเมื่อขายหรือใช้น้ำตาลหมดหม้อ เด็ก ๆ จะนำหม้อที่ใช้แล้วมาทำเป็นกลอง แสดงให้เห็นว่า มีการปั้นหม้อเป็นภาชนะใช้กันทั่วไปทุกครัวเรือน หม้อไม่ใช่สิ่งที่มีราคาค่างวด
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดประดิษฐ์เครื่องมือประกอบการเล่นด้วยตนเอง
อุปกรณ์
- หม้อตาล
- ผ้าขี้ริ้ว
- เชือก
- ดินเหนียว
- ไม้ขนาดเล็ก
- ไม้สำหรับใช้ตี
ผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
รูปแบบ
ผู้เล่นยืนกระจายหันหน้าเข้าหากัน พร้อมกับตั้งกลองหม้อตาลไว้หน้าตนเอง
ดังภาพประกอบ
ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นกลองหม้อตาล
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 52
วิธีการประดิษฐ์
- หาหม้อตาลมา 1 ใบ
- ใช้ผ้าขี้ริ้วหุ้มที่ปากหม้อ รัดด้วยเชือกที่คอหม้อให้แน่น
- หาไม้เล็ก ๆ มาขันที่คอหม้อให้ผ้าตึง
- ละเลงดินเหนียวเหลว ๆ ทาให้ทั่วปากหม้อ
- ลองตีดูว่ามีเสียงดัง ถือว่าใช้ได้
วิธีการเล่น
ผู้เล่นนำกลองหม้อตาลมาตีแข่งกัน ถ้ากลองหม้อตาลของใครตีดังกว่าถือว่าเก่ง
จะเป็นผู้ชนะ กรณีที่ผ้าหุ้มกลองหม้อตาลขาดต้องทำใหม่