ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม
การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง
วิ่งวัว
(การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)
การเล่นวิ่งวัวหรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า วิ่งเปี้ยว อาจเป็นการวิ่งทางตรงสวนกันหรือวิ่งเป็นวงกลมเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งไล่ให้ทันอีกฝ่ายหนึ่ง
วัตถุประสงค์
- เพื่อฝึกความเร็วและความแข็งแรง
- เพื่อฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน
- เพื่อการฝึกบริหารกาย
อุปกรณ์
- เสา 2 หลัก
- ผ้าเช็ดหน้า 2 ผืน
ผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน
รูปแบบ
ปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลัก ข้างละหลัก ระยะห่างประมาณ 50 หลา
ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนด้านหลังหลักแต่ละข้าง ดังภาพประกอบ
ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นวิ่งวัว
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 48
วิธีการเล่น
เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองฝ่าย โดยผู้เล่นของแต่ละฝ่ายวิ่งอ้อมหลักไล่ให้ทันกัน
มือถือผ้าคนละผืนเมื่อถึงฝ่ายของตนให้ส่งผ้าให้คนต่อไป ถ้าผ้าของใครตกต้องหยุดเก็บผ้าก่อน หรือคนต่อไปเก็บผ้าและถือไว้ วิ่งต่อไป ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่งจึงถือว่า
ฝ่ายนั้นชนะ
ข้อเสนอแนะ
ผู้เล่นคนใดถูกตีต้องรำตามเพลงที่ผู้ตีร้อง