ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 4

พ.ศ. 2394 – 2411 ระยะ 17 ปี

ตามธรรมดาคนไทยสมัยโบราณ ไม่นิยมสวมเสื้อผ้าแม้แต่เวลาเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมตะวันตกขึ้น ในราชสำนัก จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายสตรี โดย

หญิง
ผม
หญิงไว้ผมสั้น ที่เรียกว่า “ผมปีก” แต่ไม่ยาวประบ่า ด้านหลังตัดสั้น บางคนก็โกน ผมขึ้น มาเหมือนผมมหาดไทยของผู้ชาย มีการถอนไรผมให้มีรอยเป็นเส้น วงรอบผมปีกไว้ ชาย ผมตกที่ริมหูทั้งสองข้างเรียก “ผมทัด”

การแต่งกาย นุ่งผ้าลายโจงกระเบน นุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อผ่าอก คอตั้งเตี้ย ๆ ปลายแขน แคบยาวถึงข้อมือ เสื้อพอดีตัวยาวเพียงเอว เรียกว่า เสื้อกระบอกแล้วห่มแพรสไบจีบเฉียงบนเสื้อ อีกที (ต่อมาเรียกว่า “แพรสพาย” ในสมัยรัชกาลที่ 5)

เครื่องประดับ สตรีที่สูงศักดิ์จะใช้ กระเจียก ทับทรวง ตาด พาหุรัด สะอิ้ง สร้อย สังวาลย์ หุ้มหูเพชร แหวนเพชร

การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 4 (หญิง)

ชาย
ผม
ไว้ผมทรงมหาดไทย ส่วนรัชกาลที่ 4 จะไม่ทรงไว้ทรงมหาดไทย

การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วงแพรโจงกระเบน สวมเสื้อนอกเหมือนพวกบ้าบ๋า (ชายชาวจีน ที่เกิดในมลายู) สวมเสื้อเปิดอกคอเปิด หรือเป็นเสื้อกระบอก คือตัดเป็นรูปกระบอก แขนยาว

พระมหากษัตริย์ และพวกราชทูตไทยจะแต่งตัวแบบฝรั่งคือ สวมกางเกง ใส่เสื้อนอกคอเปิด สวมรองเท้าคัทชู ไม่ไว้ผมทรงมหาดไทย พวกทูตเมื่อกลับมาเมืองไทยให้ไว้ผมทรงมหาดไทย เหมือนเดิม ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เรื่องการแต่งกายจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาก ไม่ให้ฝรั่งดูถูกได้ รวมถึงพระสนมก็สวมกระโปรงแบบฝรั่ง เสื้อแบบฝรั่ง

การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ระยะ 17 ปี
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กลางสมัยรัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เครื่องแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้