ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

การแต่งกายปลายรัชกาลที่ 5

หญิง
ผม
ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม

เครื่องประดับ นิยมสร้อยไข่มุก ซ้อนกันหลาย ๆ สาย เครื่องประดับอื่น ๆ ก็อนุโลมตาม ฐานะ และความงาม

การแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแพรไหม ลูกไม้ ตัดแบบตะวันตก คอตั้งสูง แขนยาว พองฟู เอวเสื้อผ้าจีบเข้ารูป หรือคาดเข็มขัด หรือห้อยสายนาฬิกา สะพายแพร สวมถุงเท้ามี ลวดลายปักสี รองเท้าส้นสูง

การแต่งหน้า นิยมใช้เครื่องสำอางแบบตะวันตก ขัดฟันให้ขาว

ชาย
ผม
ไว้ผมรองทรง

การแต่งกาย นุ่งกางเกงฝรั่งแทนโจงกระเบน สวมหมวกกะโล่ ข้าราชการแต่งแบบ พระราชกำหนด คือ เครื่องแบบ (Uniform) เหมือนอารยะประเทศ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทยอย่างแท้จริง ทรง เสด็จประพาสยุโรป ทรงนำแบบอย่างการแต่งกายแบบยุโรปกลับมาใช้ในประเทศไทย ซึ่งผู้นำใน เรื่องการแต่งกายหรือความเป็นอยู่อื่น ๆ คือ บุคคลชั้น สูงแต่งนำแล้วจึงมีผู้แต่งตาม เสื้อทรงพริ้นเซส (เสื้อรัดรูปมีตะเข็บเป็นทางตั้ง) เป็นที่นิยม ได้ดัดแปลงเป็นเสื้อชั้น ในรุ่นแรก คือ ตัดโค้งให้กว้าง และไม่มีแขน ตัดสั้น เหนือเอว เปิดตลอดด้านหน้ากลัดดุม มีกระเป๋าตรงใต้อก 1-2 ใบ เรียกว่าเสื้อ ผ่าตะเข็บ เสื้อชั้น ในรุ่นต่อจากเสื้อผ่าตะเข็บคือเสื้อคอกระเช้า ซึ่งเดียวนี้ก็ยังมีคนใส่เช่นนั้น อยู่

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายนี้เ้ป็นไปเฉพาะในหมู่เจ้านายในราชสำนัก และคนชั้น สูงที่มีกำลังทรัพย์ ชาวบ้านทั่วไปอาจจะตามไม่ทัน ตามช้า หรือไม่มีกำลังจะทำตามก็ แต่งตามเท่าที่จะสามารถทำได้ อย่างง่ายที่สุดก็คือเปลี่ยนทรงผม นอกจากนั้น ก็สวมเสื้อธรรมดา นุ่งผ้า สวมกางเกงแพรของจีนอย่างง่าย ๆ

การแต่งกายสมัยปลายรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ระยะ 17 ปี
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กลางสมัยรัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เครื่องแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้