ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

เครื่องแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี

เครื่องแต่งกายเต็มยศ

  • นุ่งยกแบบซิ่น ยาวถึงข้อเท้า

  • เสื้อที่เหมาะสมกับผ้านุ่ง (ถ้าเป็นเวลาเช้าหรือกลางวันควรใช้แบบที่ไม่เปิดคอกว้างนัก ถ้าเป็นเวลาบ่ายหรือกลางคืนจะเปิดคอกว้างหน่อยก็ได้ ไม่ควรสวมเสื้อที่ไม่มีไหล่หรือแขนเล็ก จนเกินไป

  • ถุงเท้ายาว

  • รองเท้าส้นสูง (สีทอง สีเงิน ตาด ต่วน แพร หรือหนังกลับขลิบทอง ขลิบเงินก็ได้)

  • กระเป๋าถือขนาดย่อมที่เข้ากับเครื่องแต่งกาย (สีทอง เงิน หรือสิ่งแวววาว เช่น ทำด้วย ลูกปัดหรือดิ้น ก็ได้)

  • ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • ผู้ที่ได้รับพระราชทานสายสะพายต้องสวมสายสะพายตามหมายกำหนดการ

เครื่องแต่งกายครึ่งยศ สำหรับงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี มีลักษณะเหมือนเครื่องเต็มยศ เว้นแต่ไม่สวมสายสะพาย

เครื่องแต่งกายปกติ สำหรับงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธีมีลักษณะเหมือนเครื่องเต็มยศ แต่ไม่ใช่วัตถุที่เป็นเงินทองแวววาวมากเหมือนเครื่องเต็มยศ และไม่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องแต่งกายราตรีสโมสร สำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีให้อนุโลมแต่งตามแบบ เครื่องเต็มยศหรือครึ่งยศ แต่เสื้อจะเปิดไหล่ตามสมัยนิยมก็ได้

เครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ ให้แต่งสีดำล้วน อนุโลมตามแบบเครื่องเต็มยศ ครึ่งยศหรือปกติ แต่ไม่ใช้วัตถุแวววาวหรือเงินทองเลย และไม่ประดับอาภรณ์ทุกชนิดมากเกินควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาภรณ์ที่เป็นสี

เครื่องแต่งกายธรรมดา

เครื่องแต่งกายสำหรับเวลาเช้า และกลางวันแบบไทย

  1. นุ่งผ้าแบบซิ่นยาวประมาณครึ่งน่อง

  2. เสื้อแบบกลางวันที่เหมาะสมกับผ้านุ่ง

  3. ถ้าเป็นงานที่มีบัตรเชิญควรสวมถุงเท้า

  4. รองเท้ามีส้นที่ไม่ใช่ทอง เงิน หรือเพชร

  5. กระเป๋าถือขนาดย่อมที่เข้ากับเครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายเวลาเช้า และกลางวันแบบสากล

แต่งอนุโลมตามแบบเครื่องแต่งกายเวลาเช้า และกลางวันแบบไทย แต่ใช้กระโปรงสั้น ยาว ตามสมัยนิยม ไม่ควรใช้ต่วนหรือแพรที่บางเกินไป

เครื่องแต่งกายเวลาบ่ายแบบไทย

  1. นุ่งผ้าแบบซิ่น ยาวประมาณครึ่งน่อง

  2. เสื้อแบบง่าย

  3. ถ้าเป็นงานที่บัตรเชิญควรสวมถุงเท้า

  4. รองเท้ามีส้น

  5. กระเป๋าถือขนาดย่อมที่เข้ากับเครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายเวลาบ่าย แบบสากล

แต่งอนุโลมตามแบบเครื่องแต่งกายเวลาบ่ายแบบไทย แต่ใช้กระโปรงสั้น ยาว ตามสมัย นิยม และจะใช้แพรหนาหรือบางได้ทุกชนิด

เครื่องแต่งกายสำหรับเวลากลางคืน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แบบราตรีสโมสร
2. แบบราตรี

เครื่องแต่งกายราตรีสโมสรแบบสากล

  1. กระโปรงราตรียาวจรดพื้น ตกแต่งสวยงาม

  2. เสื้อ แบบราตรี จะเปิดคอ เปิดหลัง มีแขนหรือไม่มีแขนก็ได้ ใช้แพรงาม ๆ หรือวัตถุที่ เป็นมันแวววาวได้ทุกชนิด

  3. รองเท้าแบบราตรี

  4. กระเป๋าถือแบบราตรี

เครื่องแต่งกายราตรีแบบไทย
แต่งอนุโลมตามแบบเครื่องแต่งกายเต็มยศ หรือครึ่งยศ

เครื่องแต่งกายราตรีธรรมดา

1. กระโปรงยาวจรดพื้น หรือสามส่วนตามสมัยนิยม
2. เสื้อแบบราตรี
3. รองเท้าแบบราตรี
4. กระเป๋าถือแบบราตรี

คำที่ควรทราบ

  1. นุ่งสั้น หมายถึง การนุ่งโดยยกกลีบซ้อนกันมาก ๆ จนทำให้ผ้าอีกด้านหนึ่งขึ้น มา ขนาดดูสั้น เลยเข่ามาก

  2. ทิ้งหางเหน็บ คือ เมื่อนุ่งสั้น แล้วชายผ้าก็เหลือมาก จึงม้วนเข้าแล้วลอดใต้ขาขึ้น ไป เหน็บที่ก้น หรือที่เรียกว่า “กระเบนเหน็บ” โดยพับเสียก่อน แล้วปล่อยชายให้เหลือยาวออกมา ข้างนอก

  3. นุ่งโรยเชิง หมายถึง การนุ่งโดยทิ้งชายผ้าให้ยาวออกทางด้านหน้าต่อจาก “ชายพก” ลงมาเป็นการนุ่งผ้าที่ยากมาก บางทีจะต้องทำกลีบไว้สำหรับโรยเชิงโดยเฉพาะก่อนนุ่ง

  4. ถกเขมร หมายถึง นุ่งผ้าถลกขึ้น ไปให้สั้น พ้นหัวเข่าขึ้น มา ไม่เหมือนนุ่งสั้น ก็ตรงที่ไม่ มีการยกกลีบและทิ้งหางเหน็บ บางทีก็เรียกว่า “ขัดเขมร” ไม่ใช่มาถกกันเรื่องเขมร ดังคำที่ว่า “ทะเลาะกูกำหมัดขัดเขมร”

  5. กรัชกาย หมายถึง ร่างกาย ดังคำในบทกลอนหนึ่งว่า “เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย” ถ้าจะดูความหมายแล้วแปลว่า “กายอันเกิดจากธุลีในสรีระ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา)

  6. ลิขิตพัสตร์ ผ้าที่มีลาย ส่วนมากเป็นผ้านุ่ง อาจจะเป็นทิ้งลายเขียนและลายพิมพ์ก็ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นผ้าสีด้วย

  7. สุวรรณพัสตร์ ผ้าทอง คือ ผ้าที่ใช้ดิ้น ทองสลับเป็นด้ายพุ่ง โดยใช้ด้านเดียวเป็น ด้านยืน ซึ่งอาจเป็นสีอื่น ๆ ก็ได้ จึงทำให้มีผ้าทองเหลือบเขียว เหลืองแดงเหลือบม่วงเป็นสี ๆ ไป

  8. ช้องผม ผมที่ใช้เสริมให้มวยผมใหญ่ขึ้น จะเป็นชายผมของตนเองก็ดี จะเป็นผมที่ ตัดเก็บไว้ก็ดี บางทีก็ทำเป็นรูปมวยหนุนไว้ข้างในมวยผม บางทีก็ทำให้เป็นก้อนเล็ก ๆ หนุน บางส่วนให้ดีสูงขึ้น แต่ในที่นี้หมายถึงมวยผม

  9. เศียรเพชร น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “ศิรเพฐน์” หรือ “สิรเวฐนะ” หมายถึง เครื่อง พันศีรษะ หรือผ้าโพกศีรษะ

  10. ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร หมายถึง ไว้ผมยาวจนถึงไหล่ หรือปล่อยให้ผมยาวลงมา กระทบ หรืออยู่ข้างหน้าไหล่และมีไรวงหน้า ตลอดวงไรจุกเป็นเส้นเด่นชัดงดงามยิ่ง

  11. ตะเบงมาน การห่มผ้าอย่างหนึ่ง โดยวิธีห่มผ้าอ้อมทางด้านหลังแล้วห่มไขว้กันตรง อก เอาชายขึ้น ไปผูกไว้ที่ต้นคอ คำว่า “ตะเบง” แปลโดยตรง “เฉียง หรือเฉไป” ส่วนคำว่า มาน แปลได้หลายคำ แต่ไม่มีความหมายตรงกับการห่มผ้า หรือแต่งกายเลย จึงอาจจะมาจากคำว่า “มั่น” หรือ “ม่าน” ก็ได้ เพราะ “มั่น” หมายถึงการกระชับแน่น และ “ม่าน” หมายถึง เครื่องบัง (บังอก) หรือชาวพม่าก็ได้ แต่ถ้ามาน แปลว่า ใจ คำว่า “ตะเบงมาน” อาจแปลว่า “ไขว้กันตรงใจ” ก็ได้

  12. จอนหู ความจริงหมายถึง รอยกัน ชายผมเป็นรูปโค้งตามใบหู เพราะเครื่องประดับ ที่เป็นรูปนกโค้งไปกับใบหูก็เรียกว่าจอนหู ไม่ได้หมายถึงชายผมที่ปล่อยลงมาหน้าใบหู ที่ถูกควร เรียกว่า จอนผม เมื่อปล่อยยาวมากพอก็เอาเหน็บไว้บนใบหูได้จึงเรียกว่าจอนหู ซึ่งที่ถูกควรจะ เรียกกันว่า “จอนทัดหู” และคงไม่มีใครปล่อยจอนผมให้ยาวมาประบ่าแน่ เพราะไม่เป็นแฟชั่น ที่น่าดูอะไรเลย คนที่จอนทัดหูจะต้องตัดผมสั้น ด้วยจึงจะงาม (บางสมัยอาจไว้ผมยาวด้วย)

  13. ไรผม คือ รอยที่เคยถอนผม หรือโกนผมออก เช่น ไรวงหน้า และไรจุก เป็นต้น ไรวง หน้าจะช่วยตัดใบหน้าให้เด่นชัดเกลี้ยงเกลา กลมกลึง หรือวงพระจันทร์และไรจุก ซึ่งยังเหลืออยู่ บนผมหมายถึงว่า ยังรุ่นสาวเพิ่มจะย่างเข้าสู่ความสาว หรือสตรีที่ยังถนอมความเป็นสาวไว้ก็นิยม ถอนผมตรงไรเดิมให้เป็นวงรอบกระหม่อม นิยมกันในหมู่ผู้ดีมีสกุล เช่น คำว่า “ใส่นํ้ามันกันไร” และ “รอยไรเรียบร้อยระดับดี” เป็นต้น การทำไรผมจึงเป็นแฟชั่นแบบหนึ่ง

  14. ผมปีก เป็นแบบของการไว้ผมอย่างหนึ่ง นิยมไว้จอนผมด้วย คือควั่นผมรอบศีรษะ เป็นรอยจนเป็นขอบชัดเจนแล้วหวีแสกกลางบ้าง หวีเสยบ้าง แล้วแต่ใครจะชอบหวีอย่างไร ที่เรียกว่า ผมปีกก็เพราะมองเห็นเชิงผมเป็นขอบอย่างชัดเจนมากนั่นเอง

  15. นุ่งโจงกระเบน คือ นุ่งยาวปล่อยผ้าให้คลุมเลยเข่าลงมาเล็กน้อยแล้วม้วนชายผ้า เป็นลูกบวบตวัดลอดหว่างขาขึ้น ไปเหน็บไว้ที่ก้น เรียกว่า “หางกระเบน” คงจะมาจากหางปลา กระเบนนั่นเอง เพราะมีรูปลักษณ์ยาวอย่างเดียวกัน

  16. ทองแล่ง เป็นแผ่นเงินชุบทองตัดเป็นเส้นเล็ก ๆ

  17. ผ้าสุจหนี่ ผ้าตาดทอง ที่นำไปปักเป็นลวดลายด้ายทองแล่ง

  18. ผ้าอัตลัด แปลว่า แพรต่วน เป็นผ้าที่ทอให้เห็นลวดลายน้อย เห็นพื้น ผ้ามากกว่า

  19. ผ้าปูม มีปรากฏอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น เขมร มลายู อินโดนีเซีย และไทย เป็นผ้า ไหมที่ทอจากใยที่มัดแล้วย้อมให้สีต่าง ๆ เมื่อนำมาทอจะมีสีสันลวดลาย กรรมวิธีคล้ายกับทอผ้า มัดหมี่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่วนมากจะมีพื้น สีแดง ตัวผ้าปูมแบ่งส่วนผ้า ออกเป็นส่วนของริมผ้าและตัวผ้า ชายริมผ้าเป็นลายเชิงหรือลายกรวยเชิง ริมผ้าด้านยาวเห็น ลายก้านแบ่งขนาบด้วยลาย แพรเส้นแคบ ๆ ต่อด้วยลายกรวยเชิงสั้น ๆ ตัวปูมผ้าทอยกดอก ลายเครือเถาก้านแผงทั้งผืน ลายปูมจะไม่เด่นชัด แต่จะเห็นเป็นโครงร่างคร่าว ๆ ผ้าปูมเป็นผ้าใน กลุ่มสมปักซึ่งเป็นผ้าหลวงที่ใช้พระราชทานเป็นเครื่องยศขุนนาง

รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ระยะ 17 ปี
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กลางสมัยรัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เครื่องแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้