สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
3 อธิปไตย
3.1.ความหมายของอธิปไตย
3.2.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
3.3.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล
3.4.ประเภทของอธิปไตย
3.5.องค์กร
3.6.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย
3.4.ประเภทของอธิปไตย
คำว่าอธิปไตย มีความหมายว่าความเป็นใหญ่ตามอธิบายมาแล้ว ในพระพุทธศาสนามีอยู่
3 ประเภทคือ
ประเภทที่ 1 อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่ )
คำว่าอัตตาธิปไตยนั้นมาจากคำที่แยกกัน 2 คำคือ อัตตา + อธิปไตย มี
ความหมายว่ามีตนเป็นใหญ่ หมายความมีลักษณะของอำนาจนิยม เผด็จการ ถือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น โดยยึดตัวตนเป็นหลัก หากเทียบกับระบบการปกครองก็คือระบอบคอมมิวนิสต์, ระบอบเผด็จการสังคมนิยม, นาซีของเยอรมัน เป็นต้นหรือถ้ากว้างขึ้นก็คือพวกชาตินิยมโดยมีลักษณะแห่งความเป็นอัตตาตัวตนสูงมาก มีลักษณะเฉพาะกลุ่มตน ชาติตนเท่านั้นที่เก่งสุด ฉลาดสุด เป็นต้น
ในสมัยพุทธกาลก็มีรูปแบบการปกครองที่คล้ายคลึงระบอบเช่นนี้เหมือนกัน คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประเภทที่ 2 โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
คำว่าโลกาธิปไตย มาจากศัพท์ว่า โลกา+ อธิปไตย มีความหมายว่าโลกเป็นใหญ่ คือโลก, ชาวโลก หรือ ประชาชนเป็นใหญ่ ซึ่งการปกครองแบบนี้กำลังเป็นที่นิยม โดยอ้างเอาความเป็นประชาธิปไตย มาเป็นบรรทัดฐาน จุดเด่นของระบอบนี้คือ ความมีสิทธิเสรีภาพ, ความเสมอภาค, ความมีอิสรภาพ, ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง, มีการตรวจสอบ, มีการเลือกตั้ง เป็นต้น แต่ก็มีจุดด้อยอยู่ที่คนหมู่มากจะมีสัมมาทิฏฐิหรือไม่, มีกลุ่มผลประโยชน์, มีพรรคการเมือง เป็นต้น หากได้คนไม่ดี มีความเห็นผิด ไม่รับผิดชอบ โกงกินบ้านเมือง มาบริหารงานบ้านเมืองประเทศชาติก็จะเสียหาย
ในสมัยพุทธกาลรูปแบบการปกครองแบบนี้คือระบอบสามัคคีธรรม ของพวกเจ้าลิจฉวี หรือของพวกเจ้าสักกายะ ก็ได้ใช้มติส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ประเภทที่ 3 ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
คำว่าธรรมาธิปไตย มาจากคำว่า ธรรมา+ อธิปไตย มีความหมายว่ามีธรรมเป็น
ใหญ่ มีการปกครองโดยธรรม คำว่าธรรมคือความถูกต้องเหมาะสม ไม่เอาตัวบุคคลเป็นที่ตั้ง แต่เอาความชอบธรรม-ถูกธรรม-เป็นธรรม-โดยธรรมเป็นที่ตั้ง
ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ต่อต้านระบอบการปกครองแบบไหน เพียงแต่ระบอบการ
ปกครองแบบไหนก็ตามจะต้องมีธรรมเป็นใหญ่ ถ้ามีธรรมเป็นใหญ่แล้วระบอบการปกครองรูปแบบนั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นธัมมาธิปไตยทั้งนั้น