สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
3 อธิปไตย
3.1.ความหมายของอธิปไตย
3.2.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
3.3.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล
3.4.ประเภทของอธิปไตย
3.5.องค์กร
3.6.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย
3.6.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย
แม้ว่าองค์กรสงฆ์จะเป็นองค์กรทางศาสนาคือแทบจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง หรือบุคลากรในศาสนาไม่มีความปรารถนาอยากที่จะเป็นใหญ่ แต่กระนั้นก็ตาม ในแทบทุกองค์กรย่อมมีคนที่ไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งสังคมสงฆ์ก็มีเหตุการณ์ทำนองนี้อยู่หลายครั้ง แต่ที่ชัดเจนที่สุดและน่าจะยกประเด็นมาศึกษา ก็คือ กรณีของพระเทวทัต
มีเรื่องอยู่ว่าพระเทวทัต ต้องการที่จะเข้ามาปกครองคณะสงฆ์แทนพระพุทธเจ้าวันหนึ่งจึง
เข้าไปกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้เฒ่า-สูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตนอยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรดมอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อย่าเลยเทวทัต เธออย่าชอบใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลยแม้สารี
บุตรและโมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ เราจะมอบภิกษุสงฆ์ให้เธอซึ่งเป็นคนต่ำช้า บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลายได้อย่างไรเล่า แล้วทรงสั่งให้ทำปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้ว่า พระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนริษยา ริษยาลาภสักการะของพระเทวทัต ส่วนพวกที่มีศรัทธา มีความเลื่อมใส มีความรู้ดี ก็กล่าวอย่างนี้ว่า เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต
ก.แผนการปฏิวัติ-รัฐประหาร
เมื่อแผนไม้อ่อนไม่สำเร็จ พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ เพื่อปรึกษาเรื่องชิง
ราชสมบัติ โดยดำเนินการตามแผนที่ 2 ทันที่ แต่แผนการณ์ทั้งหมดก็ถูกจับได้ เป็นที่น่าแปลกว่าตัวการที่วางแผนได้รับการอภัยโทษ แต่กลับมีการสั่งลงโทษเหล่ามหาอำมาตย์ที่แสดงความคิดเห็นให้ดำเนินการจัดการกับพระเทวทัตกับอชาตศัตรูกุมาร ดังนี้
- ถอดยศพวกที่ลงมติให้ ปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัตและฆ่าภิกษุทั้งหมด
- ทรงลดตำแหน่ง พวกที่ลงมติให้ ความคิดเห็นว่า ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่มี ความผิด แต่ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัต เท่านั้น
- ทรงเลื่อนตำแหน่ง พวกที่ลงมติให้ ไม่ควรปลงชีวิตพระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ความฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ และปฏิบัติตามคำสั่งพระราชา
อีกสายหนึ่ง เทวทัตได้ขอกำลังทหารจากอชาตศัตรูกุมาร เพื่อสั่งการในการลอบปลงพระ ชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยกล่าวว่า ขอถวายพระพร ขอพระองค์โปรดสั่งให้ราชบุรุษปลงพระชนม์พระสมณโคดม ในขณะเดียวกันที่อชาตศัตรูกุมารสั่งทหารว่า พวกท่านจงปฏิบัติตามคำสั่งของพระคุณเจ้าเทวทัต ซึ่งทีมทหารได้ถูกจัดวางกำลังโดยซุ่มรอพระพุทธเจ้าเสด็จมา แต่แผนการในครั้งนี้ก็ไม่สำเร็จ จนพระเทวทัตถึงกับลั่นวาจาว่า อย่าเลยท่านอย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย เราจะลงมือปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง ในที่สุดพระเทวทัตจึงต้องกลิ้งก้อนศิลาใหญ่ เพื่อหมายปลงพระชนม์ จนทำให้สะเก็ดศิลากระเด็นถูกพระบาททำให้พระโลหิตห้อ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
ถึงกระนั้นก็ตาม ความพยายามของพระเทวทัตยังไม่หมด ได้ให้สัญญากับนายควาญช้างว่า
เราเป็นพระญาติของพระราชา สามารถแต่งตั้งผู้มีตำแหน่งต่ำให้สูงได้ สามารถเพิ่มเบี้ยเลี้ยง, เงินเดือน และแนะนำว่าเวลา พระสมณโคดมเสด็จมาทางตรอกนี้ พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไป แต่แผนการณ์ทั้งหมดก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า
ข.ยุทธศาสตร์, แนวนโยบายพระเทวทัต หาเสียง
พระเทวทัตได้ชักชวนพรรคพวก ประกอบด้วยพระโกกาลิกะ, พระกฎโมรกติสสกะ, พระขัณฑเทวีบุตร, พระสมุททัตตะ รวม
5 รูปมาประชุมปรึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผู้คนทั่วไปดูแล้วสรรเสริญ ว่ามีความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา จำกัด และที่สำคัญน่าเลื่อมใสมาก เพื่อทำลายพระพุทธเจ้า โดยชูประเด็นวัตถุ
5 ประการ ดังนี้
- ภิกษุทั้งหลาย ควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ใครเข้าบ้าน มีโทษ
- ภิกษุทั้งหลาย ควรบิณฑบาตตลอดชีวิต ใครรับนิมนต์ มีโทษ
- ภิกษุทั้งหลาย ควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ใครยินดีผ้าคหบดี มีโทษ
- ภิกษุทั้งหลาย ควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ใครอาศัยที่มุงบัง มีโทษ
- ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ใครฉัน มีโทษ
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเสนอไป พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต แต่พระเทวทัตก็ใช้นโยบายนี้ประกาศชักชวนให้ประชาชนเลื่อมใสนับถือและทำให้เป็นเครื่องมือทำลายสงฆ์ ทำลายคำสอน (จักร) ของพระพุทธเจ้าต่อไป ซึ่งต่อมาเมื่อพระเทวทัตทูลเสนอในท่ามกลางสงฆ์ และพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธตามความคาดหมาย พระเทวทัตถึงกับร่าเริงดีใจ ตื่นเต้นที่เป็นไปตามแผนการณ์ที่วางเอาไว้ เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตเพราะอำนาจประโยชน์ 3 ประการ เพื่อหวังไม่ให้ภิกษุที่ปรารถนาชั่ว อาศัยพรรคพวกทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน คือ
- เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
- เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
- เพื่ออนุเคราะห์ตระกูล
พระเทวทัต เข้าไปหาพระอานนท์ กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ในขณะที่กำลังบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเทวทัต ประกาศชักชวนภิกษุให้เลือกขั้ว โดยกล่าวว่า รูปใดเห็นด้วยกับประเด็นวัตถุ
5 ประการจงจับสลาก มีพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีผู้บวชใหม่ ไม่รู้ธรรมวินัย จำนวน
500 รูป พากันจับสลาก พระเทวทัตจึงพาไปทางคยาสีสประเทศ
พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ไปตามเหล่าภิกษุให้คืนมา เมื่อพระมหาเถระทั้ง
2 เข้าไปหาพระเทวทัต ๆ ถึงกลับแสดงความดีใจกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านเห็นหรือไม่ ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ถึงขนาดพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อัครสาวกของพระสมณโคดมยังพากันมาหาเรา ชอบใจธรรมของเรา ทั้ง ๆ ที่พระโกกาลิกะได้เตือนสติให้พระเทวทัตระวังตัวแล้วก็ตาม แต่ด้วยความกระหยิ่มใจและประมาท เมื่อบอกสอนธรรมจนดึกแล้วจึงได้มอบภารกิจในการเทศน์สอนให้กับพระเทวทัต แล้วนอนเผลอสติไม่รู้ตัวหลับไป ภิกษุ
500 รูปกลับไปพระเวฬุวัน เมื่อพระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตจึงรู้ตัวและกระอักเลือดออกมา