สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
3 อธิปไตย
3.1.ความหมายของอธิปไตย
3.2.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
3.3.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล
3.4.ประเภทของอธิปไตย
3.5.องค์กร
3.6.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย
3.5.องค์กร
คำว่าองค์กร ก็คือ การรวมตัวพระภิกษุในลักษณะของกลุ่ม, หมู่, คณะบุคคล หรือที่เรียกว่าพุทธบริษัท
4 ที่พระพุทธเจ้าทรงได้พระราชทานพระศาสนา ให้ดูแลโดยมีพระธรรมวินัยเป็นเหมือนพระศาสดา ดังพระดำรัสว่า
สารีบุตร กำลังของตถาคต 10 ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะ
ที่องอาจบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ดังนั้นเมื่อ คำว่า องค์กรได้หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสังคมตั้งแต่สองคนขึ้นไปรวมกันทำกิจกรรมโดยหวังให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องมีการจัดรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ที่ชัดเจนเห็นได้ และหากดูตามคำนิยามนี้แล้วสงฆ์ก็คือองค์กร ๆ หนึ่งซึ่งมีลำดับการบริหารโดยมีสายการบังคับบัญชา ในยุคแรก ๆ ดังนี้
พระพุทธเจ้า
พระปัญจวัคคี 5 รูป
พระอุปัชฌาย์ (พระเถระ-พระมหาเถระ)
อุบาสก-อุบาสิกา
อันเตวาสิก (พระนวกะ/พระมัชฌิมะ)
ซึ่งดูแล้วเป็นสายการบังคับบัญชาที่ดูเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อนมากมาย ทั้งนี้องค์กรของพุทธในยุคนั้นมีผู้คนเข้ามาไม่มาก ประกอบกับความที่มีอุดมการณ์ในการออกบวชด้วยแล้วปัญหาก็ยิ่งไม่ค่อยมี หากศึกษาดูจริง ๆ แล้วกับทำให้สายสัมพันธ์ในองค์กรนั้นเหมือนกับสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเดียวกัน การปกครองมีลักษณะคล้ายพ่อปกครองลูก
แต่ต่อมาเมื่อมีบุคคลเข้ามานับถือพระพุทธศาสนามากขึ้น สายการบังคับบัญชายิ่งชัดเจนและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนี้
พระพุทธเจ้า
พุทธอุปัฏฐาก
อัครสาวกเบื้องขวา อัครสาวกเบื้องซ้าย
พระอุปัชฌาย์
พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เอตทัคคะ เอตทัคคะ เอตทัคคะ เอตทัคคะ
ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ พระเทพโสภณได้ให้ข้อเท็จจริงไว้ว่า
พระพุทธเจ้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นธรรมราชา คือผู้บริหารสูงสุดในองค์กรพระพุทธศาสนา
ดังพุทธพจน์ที่ว่า เราเป็นพระราชา นั่นคือเป็นธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม (ม.ม.13/609/554)
พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรให้เป็นพระธรรมเสนาบดีมีฐานะเป็นรองประธานบริหาร
อยู่ในลำดับถัดมาจากพระพุทธเจ้าและเป็นอัครสาวกฝ่ายขวารับผิดชอบงานด้านวิชาการ
พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้ายรับผิดชอบงานด้านบริหาร พระอานนท์เป็น
เลขานุการส่วนพระองค์ และทรงแต่งตั้งสาวกทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์เป็นเอตทัคคะ
คือผู้ชำนาญการที่รับภาระงานด้านต่าง ๆ เช่น พระมหากัสสปะเป็นผู้ชำนาญด้านวินัย
จิตตคหบดีเป็นผู้ชำนาญด้านการแสดงธรรม (อง.เอกก. 20/146/30)
การแต่งตั้งเอตทัคคะนี้เป็นตัวอย่างของการกระจายอำนาจและใช้คนให้เหมาะกับงาน
ในพระพุทธศาสนา....
เราจะเห็นว่าสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อพระอุปัชฌาย์ แล้วต่อไปที่พระอัครสาวกทั้ง
2 ฝ่ายโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำสูงสุด แม้พระพุทธองค์ จะทรงเป็นจอมสงฆ์ ดำรงตำแหน่งพุทธบิดร แต่ก็ทรงมอบหมายให้ครูบาอาจารย์ของภิกษุเหล่านั้นได้ใช้อำนาจปกครองดูแลกันเองเป็นส่วนใหญ่ และก็มีตัวอย่างโดยทั่วไปว่าถ้าอุปัชฌาย์อาจารย์ปฏิบัติเคร่งไปทางไหน สานุศิษย์ก็จะเคร่งตามด้วย เช่น ศิษย์ของพระอุปเสนวังคันตบุตร ก็จะถือธุดงควัตรอยู่ป่า ถือผ้าบังสุกุล และเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งทำให้นึกถึงสายการบังคับบัญชาของทหารที่พลทหารขึ้นอยู่กับหมู่ และแต่ละหมู่ก็ขึ้นอยู่กับกองร้อย ๆ ขึ้นอยู่กับกองพัน ๆ ขึ้นอยู่กับกองพล ประมาณนั้น
แม้องค์กรในสมัยพุทธกาลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดความสามัคคีและความผาสุก ดังที่กล่าวมาแล้วโดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร หรือผลประโยชน์จากการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา ซึ่งการเทียบเคียงกับองค์กรภายนอกหรือทางโลกไม่ได้เพราะมีเป้าหมายที่แตกต่างกันอย่างมาก. เมื่อมององค์กรในแง่ของจริยศาสตร์แล้ว สังคมสงฆ์เป็นสังคมของผู้มุ่งนิพพาน แต่เมื่อมองในแง่การเมืองสงฆ์เป็นลักษณะสังคมที่พัฒนาการมาจากองค์การทางการเมืองแบบชนเผ่าหรือสาธารณรัฐทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล ถึงกระนั้นก็ตามก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงได้มอบพระพุทธศาสนาไว้ให้กับพุทธบริษัททั้ง
4 คือคณะภิกษุ คณะภิกษุณี คณะอุบาสก คณะอุบาสิกา และแน่นอนคณะสงฆ์ที่รวมเอาทั้งคณะสงฆ์ทั้ง
2 ฝ่ายย่อมรับธุรภาระในการดำรงพระศาสนาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลต่อสังคมส่วนรวม และมหาชนสืบไป