ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พุทธประวัติ ฉบับสำหรับยุวชน

 พุทธทาสภิกขุ แปลและเรียบเรียงจาก ฉบับภาษาอังกฤษ ของ ภิกษุสีลาจาระ (J.F. Mc kechnie)

            พุทธประวัติสำหรับยุวชนเล่มนี้ แก้ไขปรับปรุงขึ้นมาจากพุทธประวัติต่างประเทศฉบับหนึ่ง ซึ่งแต่งโดย ภิกษุสีลาจาระ (J.F Mc Kechnie) นักศึกษาทางพุทธศาสนาที่รู้จักกันดีทั่วโลกผู้หนึ่ง แต่งขึ้นใช้สำหรับสอนเด็กในลังกา เหตุผลที่ต้องแก้ไขปรับปรุงบางประการนั้น ได้กล่าวไว้ในบันทึกท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขความขาดแคลนหนังสืออ่านสำหรับยุวชนชาวพุทธในประเทศไทย ไปเรื่อย ๆ เท่าที่จะทำได้
          ทำไมกองตำราของคณะธรรมทานจึงไม่แต่งหนังสือเล่มนี้ขึ้นใหม่เอง โดยไม่ต้องอาศัยฉบับที่กล่าวนั้น ข้อนี้เป็นเพราะรู้สึกเคารพต่อ ความสามารถในการแต่งของผู้แต่งคนที่กล่าวนี้ซึ่งทำไว้เป็นอย่างดี ถึงกับเมื่อได้แก้ไขสิ่งบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นเสียแล้วก็เป็นหนังสือ ที่เหมาะสมที่สุด และเกินความสามารถของพวกเราที่จะทำได้โดยไม่เห็นตัวอย่าง และแม้เห็นตัวอย่างก็ไม่อาจทำได้ดีกว่า ข้าพเจ้าขอประกาศ และเทอดทูนความดีของท่านผู้นี้ในกรณีนี้ไว้ในที่นี้ด้วย และพร้อมกันนี้ขออุทิศส่วนกุศลแห่งการแปลและเรียบเรียงแก้ไขจนสำเร็จรูปเป็น หนังสือเล่มนี้ขึ้นแด่ท่านภิกษุสีลาจาระผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยกุศลเจตนาทั้งสิ้น เพื่อบูชาเกียรติคุณของท่านผู้นี้ไว้ตลอดกาลนาน
          ข้าพเจ้ายอมรับว่าในหนังสือเล่มนี้มีถ้อยคำสำนวนและเนื้อเรื่องที่มุ่งให้เกิดผลทางอารมณ์ทำนองนวนิยายปนอยู่บ้าง แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นผลดี ในทางกล่อมเกลานิสัยยุวชนโดยส่วนเดียว หาโทษอันใดมิได้
          มีเรื่องบางเรื่องที่ผู้อ่านอาจฉงน เช่นกล่าวถึงการหามศพผ่านย่านตลาดและเผากันในลักษณะง่าย ๆ เช่นนั้น เรื่องเช่นนี้ผู้ที่เคยไปอินเดีย มาแล้วย่อมยืนยันได้ว่า แม้กระทั่งในบัดนี้ก็ยังเป็นสิ่งหาดูได้ ไม่ต้องกล่าวถึงพุทธกาลเลย สำหรับเรื่องพระองคุลีมารถูกขว้างบาตรแตกกระจาย ผู้ที่ไม่เคยทราบว่าครั้งพุทธกาลมีการใช้บาตรดินเผากันเป็นปรกติ ก็จะค้านว่ากล่าวพล่อย ๆ เพราะว่าเคยเห็นแต่บาตรเหล็ก ฉะนั้นขอให้ท่าน ผู้อ่านได้ศึกษาในเรื่องนั้น ๆ ให้พอสมควรเสียก่อน ก่อนที่จะวินิจฉัยอะไรโดยผลุนผลัน
          การจัดหน้าหนังสือเป็นข้อ ๆ และมีเลขกำกับข้อนี้เป็นความคิดใหม่ มุ่งหวังให้เกิดความสะดวกในการศึกษาจดจำและอ้างอิง ซึ่งจะทำได้ละเอียด ลงไปกว่าการอ่านเลขหน้า ในการทำปทานุกรมก็ได้อ้างถึงเลขประจำข้อนี้แทนการอ้างถึงเลขหน้า
          เรื่องที่ควรกล่าวไว้ในที่นี้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในการทำหนังสือเรื่องนี้ท่านอภิปุญฺโญภิกฺขุได้ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างมากในการช่วย สอบทานสิ่งที่อาจพลั้งพลาดในการคัดลอกและอื่น ๆ ตลอดจนการพยายามทำปทานุกรมท้ายเล่มขึ้นด้วยความอุตสาหะพากเพียร จนสำเร็จ รูปดังที่เห็นอยู่นี้ ขอบรรดาผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการนี้จงได้อนุโมทนาโดยทั่วกัน
        ในที่สุด คณะธรรมทานมีความหวังว่าหนังสือเล่มนี้จักเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนหนังสืออ่านสำหรับยุวชนชาวพุทธในประเทศไทย ได้บ้างไม่มากก็น้อย พุทธทาส อินทปัญโญ
ในนามกองตำราคณะธรรมทาน
ไชยา
12 สิงหาคม 2497

 

กำเนิดพระสิทธัตถะ
วัยกุมาร
ในวัยรุ่น
ในวัยหนุ่ม
ความเบื่อหน่าย
การสละโลก
พระมหากรุณาธิคุณ
ความพยายามก่อนตรัสรู้
ประสพความสำเร็จ
ทรงประกาศพระธรรม
สิงคาลมาณพ
สารีบุตรและโมคคัลลานะ
เสด็จกบิลพัสดุ์
พุทธกิจประจำวัน
พระนางมหาปชาบดี
ปาฏิหาริย์
พระพุทธดำรัส
ความกรุณาของพระพุทธองค์
เทวทัต
ปรินิพพาน
 

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม