ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสูตร
พระสูตร พรหมชาลสูตร
เรื่อง สุปปียปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
อมราวิกเขปีกทิฏฐิ
[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ
๑๓. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คำพยากรณ์นั้นของเราจะพึงเป็นคำเท็จ คำเท็จของเรา จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพรามหณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
[๔๐] ๑๔. (๒) อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ ความขัดใจในข้อนั้น พึงมีแก่เรา ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ ความขัดใจในข้อนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา อุปทานของเรานั้น จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่อุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพรามหณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
[๔๑] ๑๕. (๓) อนึ่งในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ชำนาญการโต้วาทะ เป็นดุจคนแม่นธนูมีอยู่แล แม้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวทำลายทิฏฐิด้วยปีญญา เขาจะพึงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนเราในข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การซักภาม เพราะเกลียดแต่การซักภาม เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพรามหณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
[๔๒] ๑๖. (๔) อนึ่งในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นคนเขลา งมงาย เพราะเขลา เพราะงมงาย เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ เขาจึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกหน้ามี แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าโลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ ว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีอยู่... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มีอยู่...ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพรามหณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ฯลฯ ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคต ตามความเป็นจริงโดยชอบ
- จุลศีล
- มัชฌิมศีล
- มหาศีล ติรัจฉานวิชา
- ทิฏฐิ ๖๒
- ปุพเพนิวาสานุสสติ
- สัสสตทิฏฐิ ๔
- เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔
- อันตานันติกทิฏฐิ ๔
- อมราวิกเขปีกทิฏฐิ
- อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒
- อปรันตกัปปีกทิฏฐิ
- สัญญีทิฏฐิ ๑๖
- อสัญญีทิฏฐิ ๘
- เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘
- อุจเฉททิฏฐิ ๑๘
- ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
- ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ
กัจจานโคตตสูตร
เกสปุตตสูตร
กุตุหลสาลาสูตร
โกกนุทสูตร
ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค
เขมาเถรีสูตร
จูฬกัมมวิภังคสูตร
จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
ตตถสูตร
ติมพรุกขสูตร
ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล
ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค
ทิฏฐิสูตร
ปรัมมรณสูตร
ปัญจัตตยสูตร
โปฏฐปาทสูตร
พรหมชาลสูตร
ภัททิยสูตร
โมคคัลลานสูตร
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
วัจฉสูตร
สภิยสูตร
สามัญญผลสูตร
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓
สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔
สาฬหสูตร
อนันทสูตร
อนุราธสูตร
อัคคิวัจฉโคตตสูตร
อุตติยสูตร
อเจลกัสสปสูตร