สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
4 สังฆาธิปไตย
4.1.คำนิยาม
4.2.อุดมการณ์
4.3.หลักการ
4.4.อำนาจ
4.5.พระราชอำนาจ
4.6.บทลงโทษ
4.4.อำนาจ
เมื่อจะศึกษาให้ลึกแล้วอำนาจอธิปไตยของสงฆ์นั้น เป็นอำนาจที่ชอบธรรมและเป็นอำนาจที่บริสุทธิ์ แต่หากเปรียบเทียบกับศัพท์ทางรัฐศาสตร์แล้วเรียกว่าเป็นสิทธิอำนาจ (Authority) หรืออำนาจหน้าที่ เมื่ออยู่ในสังฆะแล้วต้องทำให้หมู่เหล่ายอมรับในอำนาจที่เข้ามาเป็น ในองค์กรสงฆ์เองมักจะมีความเคารพในพระเถระ และยอมมอบให้เป็นอธิบดีสงฆ์หรือประธานสงฆ์ในการทำกิจการนั้น ๆ หากแยกตามแนวความคิดของ Max Weber จะได้ดังนี้
- ก.อำนาจบารมี (Charismatic authority)
เป็นที่ยอมรับกันอันเนื่องมาจากคุณลักษณะพิเศษเฉพาะบุคคลนั้น ๆ เช่น พระสิวลี
ผู้เป็นเลิศทางด้านลาภสักการะ, พระมหาโมคคัลลานะ ผู้เป็นเลิศทางด้านมีฤทธิ์,
พระอานนท์ ผู้เป็นเลิศทางด้านพหูสูต, .พระมหากัสสปเถระ
ได้รับการยอมรับสูงมากจากคณะสงฆ์หมู่ใหญ่
ภายหลังจากพุทธปรินิพพานที่คอยว่ากล่าวตักเตือนภิกษุสงฆ์
ให้เกิดความสำนึกในพระธรรมวินัย เหมือนครั้งพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุอยู่
ภารกิจที่สำคัญที่สุดคือการทำสังคายนา ครั้งที่ 1
- ข.อำนาจทางประเพณีนิยม (Thaditional authority) เช่น การคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก, มัคคุทเทศก์ แม้จะไม่ได้มีการสืบทอดจากตระกูลสู่ตระกูล หรือบุคคลสู่บุคคลก็ตาม แต่เมื่อดูจากบริบทของการสนับสนุนแล้วก็พอที่จะอนุโลมได้
- ค.อำนาจโดยกฏหมาย หรือตามพระวินัย (Rational-legal authority) เช่น พระอุปัชฌาย์, ผู้อาวุโสสูงสุด, สังฆกรรม เป็นต้น