สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังฆาธิปไตย

4 สังฆาธิปไตย

4.1.คำนิยาม
4.2.อุดมการณ์
4.3.หลักการ
4.4.อำนาจ
4.5.พระราชอำนาจ
4.6.บทลงโทษ

4.5.พระราชอำนาจ

อำนาจอีกประการหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นหลักคล้ายกับรัฐธรรมนูญที่ใคร ๆ จะ ละเมิดมิได้ คือพระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยเอาไว้เพื่อให้เป็นกรอบการประพฤติสำหรับพระภิกษุ และพระวินัยนี้ก็คือกฎหมายสำหรับสงฆ์นั้นเอง ซึ่งสาเหตุที่พระองค์ทรงบัญญัติมีถึง 10 ประการ คือ

  1. เพื่อความดีงามแห่งสงฆ์
  2. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
  3. เพื่อข่มผู้เก้อยาก
  4. เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลอันเป็นที่รัก
  5. เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
  6. เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
  7. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
  8. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
  9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
  10. เพื่อถือตามพระวินัย

ดังนั้นเราจะเห็นว่า.. การบัญญัติพระวินัยเป็นเครื่องช่วยให้พระสงฆ์มีวินัยในตนเองและมีเกณฑ์ ในการประเมินตนเอง เมื่อเห็นว่าตนทำผิดพลาดไปจากมาตรฐาน ความประพฤติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้และความผิดพลาดนั้นไม่ร้ายแรง ถึงขนาดต้องถูกขับออกจากหมู่คณะหรือขาดจากความเป็นพระภิกษุ พระสงฆ์แต่ละรูปจะสารภาพความผิดพลาดต่อเพื่อนพระสงฆ์ด้วยกัน พิธีสารภาพเรียกว่าการแสดงอาบัติ ซึ่งลงท้ายด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทำผิด อย่างนั้นอีกต่อไป (น ปุเนวํ กริสฺสามิ) และเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ พระสงฆ์ปฏิบัติตนตามพระวินัยที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงกำหนด ให้พระภิกษุนำศีลสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้เหล่านั้นมาสวดให้กันและกันฟังทุก กึ่งเดือนในวันพระ 15 ค่ำ ประเพณีปฏิบัตินี้เรียกว่าการสวดปาฏิโมกข์ ในตอนจบของศีลสิกขาบทแต่ละข้อ ผู้สวดก็จะถามที่ประชุมสงฆ์ว่า

“กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในศีลสิกขาบทนี้แล้วหรือ” (วิ.มหา.1/300/220)....



ดังนั้นภารกิจที่พระภิกษุจะต้องกระทำเป็นประจำคือการปลงอาบัติ เพื่อตรวจสอบตัวเองแล้วทำการสารภาพผิด และมุ่งปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อการสำรวมระวังในการประพฤติปฏิบัติในโอกาสต่อ ๆ ไป

เมื่อดูการบัญญัติพระธรรมวินัยตั้งแต่ต้นแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยอย่างระมัดระวัง ไม่ได้พลีพลาม หรือตั้งกฎเหล็กขึ้นมา พระองค์กลับกระทำการแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นขั้นเป็นตอน ไม่บัญญัติวินัยล่วงหน้า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นจึงทรงบัญญัติซึ่งเรียกว่านิทานบ้าง ปกรณ์บ้าง ทั้งนิทานและปกรณ์นี้เรียกว่า มูลแห่งพระบัญญัติ และพระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้วหากไม่มีความสะดวกก็จะทรงดัดแปลงตั้งเพิ่มเติมทีหลัง ไม่ได้เพิกถอนเสียทั้งหมด เรียกว่า อนุบัญญัติ ในเรื่องดังกล่าวนี้ พระมหาอุทัย ญาณธโร ได้วิเคราะห์ในเรื่องดังกล่าวนี้เอาไว้ว่า

“พระพุทธองค์ในฐานะพระศาสนดาของพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีความเที่ยงธรรมใน การบัญญัติกฎวินัยแก่พระสงฆ์ ไม่ทรงทำตามพละการ แต่ตามเหตุผลความถูกต้อง และความเห็นร่วมกันของสงฆ์

เราจึงสามารถพบวิธีการบัญญัติกฎที่เป็นแบบอย่างได้ วิธีการดังกล่าวนี้จำแนกได้เป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก เมื่อมีเหตุให้ต้องบัญญัติวินัย ทรงเรียกประชุมคณะสงฆ์เพื่อชี้แจงให้ทราบ พระองค์ไม่เคยทรงบัญญัติวินัยมากดขี่สงฆ์ก่อน แต่จะใช้วิธีชี้แนะ สั่งสอน เมื่อยังไม่ได้ผลจึงบัญญัติพระวินัย วิธีการทางพุทธศาสนา จึงเป็นธรรมนำวินัย หรือแนะนำก่อนออกกฎหมาย ขั้นตอนที่สอง ตรัสถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น ยกมูลเหตุนั้นมาสอบสวนจนเป็นที่แน่ชัดเพื่อที่จะได้บัญญัติวินัยที่เหมาะสม พระองค์ไม่เคย ทรงปล่อยให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ทรงใช้โอกาสจากเหตุการณ์ที่ประจักษ์จริงสร้าง กฏเพื่อไม่ให้เกิดความเลวร้ายขึ้นอีกต่อไป ขั้นตอนที่สาม ชี้แจงโทษของการกระทำอย่างนั้น และผลดีในการละเว้นก่อนจะมีการบัญญัติวินัย พระองค์จะจำแนกเหตุผลให้เห็นอย่างชัดเจน ทรงชี้แจงให้สงฆ์เข้าใจเหตุผลและยอมรับก่อน ขั้นตอนที่สี่ ทรงบัญญัติวินัยที่จะเป็นหลักควบคุม ความประพฤติของสงฆ์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ให้แข็งขึ้น หรืออ่อนลง เป็นต้น ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์

วิธีการของพุทธศาสนา อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการแสวงหาสมมติภาพของกฎหมายแห่งรัฐ สรุปความได้ดังนี้ ประการแรก กฎหมายต้องไม่ใช่ถูกบัญญัติมาเพื่อกดขี่ประชาชน ประการที่สอง กฎหมายต้อง มีการปรับปรุงให้ทันเหตุการณ์และสถานการณ์อยู่เสมอ ประการที่สาม กฎหมายต้อง ได้รับการเห็นร่วมจากมหาชนในสังคมประชาชนต้องเข้าใจถึงผลดีของการมีกฎหมายนั้น และทราบถึงผลเสียงของการไม่มีกฎหมายอย่างชัดเจน ประการที่สี่ มีการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์

  1. บทนำ
  2. สังฆะ
  3. อธิปไตย
  4. สังฆาธิปไตย
  5. บทส่งท้าย
  6. บรรณานุกรรม

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

» เงิน
ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของหรือการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า ต่อมาได้ใช้สิ่งของเป็นสื่อ เช่น เปลือกหอย ผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ เกลือ ใบชา ใบยาสูบ

» ปรมนุตรสุญญตา
ว่างหมด คือ ปรมนุตรสุญญตา อะไรว่างหมด กาย ว่างหมด เวทนา ว่างหมด จิต ว่างหมด ธรรมชาติ ว่างหมด

» กฎบัตรสหประชาชาติ
บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งเจตน์จำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณามาสู่มนุษย์ชาติในชั่วชีวิต

» กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
ไทยต้องยินยอมเสียดินแดนบางส่วนไป เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้พื้นที่ประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 513,600 ตารางกิโลเมตร

» เพลงพื้นบ้าน
เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลงของตนไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดที่เพี้ยนแปร่งแตกต่างกันไป

» วิถีโลก
เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของสังคมไทยและโลก ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้

» ประเทศไทยในอดีต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ