สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
4 สังฆาธิปไตย
4.1.คำนิยาม
4.2.อุดมการณ์
4.3.หลักการ
4.4.อำนาจ
4.5.พระราชอำนาจ
4.6.บทลงโทษ
4.6. บทลงโทษ
ในองค์กรสงฆ์มีบทลงโทษตามพระวินัย โดยเรียกชื่อเฉพาะศัพท์ทางพระว่า อาบัติ คำว่าอาบัตินี้แปลว่า ความต้อง โดยมีความหมายถึง กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติและมีโทษเหนือตนอยู่ ซึ่งมีทั้งหมดอยู่
7 ชนิด เรียงลำดับความหนักเบาได้ดังนี้
โทษอย่างหนัก เรียกว่า ปาราชิก เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้วหรือกระทำลงไปแล้วต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที่ มีทั้งหมดอยู่
4 ประการ คือ การเสพเมถุน, การลักทรัพย์ที่มีราคาเกิน 5 มาสกขึ้นไป, การฆ่ามนุษย์ และการอวดอุตตริมนุสสธรรม หรือการโอ้อวดคุณวิเศษที่ไม่มีของตนเอง
โทษอย่างกลาง เรียกว่า สังฆาทิเสส เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้วหรือได้กระทำลงไปแล้ว ต้องอยู่กรรมบำเพ็ญเพียร คือประพฤติวัตรเพื่อทรมานตนเอง หรือที่รู้กันในนาม เข้าปริวาสกรรม นั้นเอง มีทั้งหมดอยู่
13 ประการ
โทษอย่างเบา มีอยู่ 5 ชนิด คือ ถุลลัจจัย, ปาจิตตีย์ มีอยู่ 92 ประการ, ปาฏิเทสนียะ มีอยู่
4 ประการ, ทุกกฎ, ทุพภาสิต เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้วหรือได้กระทำลงไปแล้วต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน กิริยาที่ว่านี้คือการปลงอาบัตินั้นเอง แต่ว่าโดยรวมแล้ว อยู่
2 หลักใหญ่ ๆ ดังนี้
ก.ลงโทษด้วยตัวเอง
คือการรับสารภาพ โดยการปลงอาบัติโดยมากจะเป็นอาบัติเล็ก ๆ น้อย แม้แต่การเปิดโอกาสให้ภิกษุรูปอื่น ๆ ตำหนิก็มี เช่น ในวันมหาปวารณาออกพรรษา ภิกษุทุกรูปจะปวารณาให้ภิกษุรูปอื่น ๆ ได้ตักเตือน ได้
ข.ลงโทษด้วยอาศัยสงฆ์
คือเมื่อภิกษุต้องอาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสส ขึ้นไป ภิกษุนั้นจะต้องแสดงตนรับผิดต่อหน้ากลุ่ม และรับโทษตามขนาดของอาบัติหนังเบาแตกต่างกัน ถ้าสังฆาทิเสส ต้องเข้าปาริวาสกรรม จึงจะพ้น ถ้าปรารชิก จะต้องพ้นจากความเป็นพระภิกษุ เป็นต้น