ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๓๒ . มหาโคสิงคสาลสูตร สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระเถระผู้ใหญ่ที่มีชื่อ คือ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสป พระอนุรุทธ์ พระเรวตะ พระอานนท์ และพระสาวกผู้มีชื่อที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ .

๒. เวลาเย็นพระมหาโมคคัลลานะชวนพระมหากัสสปเพื่อไปฟังธรรมของพระสารีบุตร พระอานนท์ก็ชวนพระเรวตะไปหาพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรมเช่นกัน เมื่อไปประชุมพร้อมกันแล้ว พระสารีบุตรก็ตั้งปัญหาถามพระอานนท์ก่อนว่า ป่าโคสิงคสาลวันนี้งามแก่ภิกษุเช่นไร.

พระอานนท์ ตอบว่า งามสำหรับภิกษุผู้สดับตรับฟังมาก. เมื่อถามพระเถระอื่น ๆ ต่างก็ตอบว่างามสำหรับภิกษุผู้มีคุณธรรมนั้น ๆ ตามที่ท่านพอใจ คือ

พระเรวตะ ว่างามสำหรับภิกษุผู้หลีกเร้น ประกอบเจโตสมถะ ( ความสงบแห่งจิต ) ในภายใน.

พระอนุรุทธ์ ว่างามสำหรับภิกษุผู้มีทิพยจักษุ.

พระมหากัสสป ว่างามสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า , เที่ยวบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสกุล ( ผ้าเปื้อนฝุ่นที่เก็บตกนำมาปะติดปะต่อเป็นจีวร ) จึงถึงสมบูรณ์ด้วยศีล , สมาธิ , ปัญญา , วิมุติ , วิมุตติญาณทัสสนะ .

พระโมคคัลลานะ ว่างามในเมื่อภิกษุ ๒ รูป สนทนาถามตอบอภิธัมมกถากัน เมื่อพระมหาโมคคัลลานะย้อนถามพระสารีบุตรบ้าง

พระสารีบุตร จึงตอบว่า งามสำหรับภิกษุผู้คุมจิตไว้ในอำนาจได้ ปรารถนาจะอยู่ด้วยธรรมะเป็นเครื่องอยู่อันใดในเวลาไหน ก็อยู่ได้ดังประสงค์

๓. ครั้นแล้วพระสารีบุตรจึงชวนพระเถระเหล่านั้นไปเฝ้า กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ตรัสรับรองคำกล่าวของพระเถระทุกรูป แต่เมื่อกราบทูลถามว่า ภาษิตของรูปใดจะชื่อว่ากล่าวดีแล้ว ตรัสตอบว่า กล่าวดีทุกรูปโดยปริยาย ( คือในแง่ใดแง่หนึ่ง ) พระองค์เองตรัสว่า

ป่านี้งามสำหรับภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต นั่งคู้บัลลังก์ ( ขัดสมธิ ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ตั้งใจว่าจะไม่เลิกสมาธิตราบใดที่จิตไม่พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

(หมายเหตุ? เรื่องนี้เห็นชัดว่า พระเถระทั้งหลายกล่าว่า ป่านี้งามสำหรับผู้มีคุณพิเศษต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้เลอเลิศอยู่แล้ว แต่พระผู้มีพระภาคกลับตรัสว่า ป่านี้งามสำหรับภิกษุผู้ยังไม่มีคุณพิเศษอะไรเลย แต่เพียรพยายาม มีความตั้งใจมั่นว่า ถ้ายังไม่หมดอาสวะจะไม่ลุกขึ้น. นับเป็นข้อเฉลยที่น่าเลื่อมใสว่า พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงมองเฉพาะภิกษุผู้วิเศษด้วยคุณธรรมแล้ว แต่ทรงถือว่าผู้ยังไม่บรรลุอะไรเลยก็สำคัญอยู่มากเป็นพิเศษ สมกับการที่พระพุทธศาสนาตั้งขึ้นมิใช่เพื่อผู้มีคุณธรรมสูงแล้วเท่านั้น แต่เพื่อคนเดินถนนหรือสามัญชนธรรมดานี้เอง).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม