ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๔๑ . สาเลยยกสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านสาละ
สูตรใหญ่
๑. พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล เสด็จแวะพัก ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาละ. พวกพราหณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ ( สาเลยยกะ ) ได้ยินกิตติศัพท์ ก็พากันไปเฝ้า กราบทูลถามเหตุปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก และสัตว์บางพวกตายแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ตรัสตอบว่า พวกที่เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะประพฤติอธรรม เพราะประพฤติไม่สม่ำเสมอ ส่วนพวกที่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะประพฤติธรรม เพราะประพฤติสม่ำเสมอ.
๒. ทรงขยายความแห่งคำว่า ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ โดยแยกออกป็นทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ ทางใจ ๓ ( ทุจจริต ๓ ซึ่งแจกออกเป็น ๑๐ อย่าง เรียกอกุศลกรรมบถ หรือทางแห่งอกุศล ) ซึ่งเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก..
๓. ทรงขยายความแห่งคำว่า ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ โดยแยกออกเป็นทาง ๓ ทางวาจา ๔ ทางใจ ๓ (สุจริต ๓ ซึ่งแจกออกเป็น ๑๐ อย่าง เรียกกุศลกรรมบถ หรือทางแห่งกุศล ) ซึ่งเป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสรรค์.
๔. ทรงแสดงว่า ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ หวังจะเข้าถึงฐานะใด ๆ ได้แก่กษัตริย์มหาศาล , พราหมณ์มหาศาล , คฤหบดีมหาศาล , เทพชั้นจาตุมหาราช , ชั้นดาวดึงส์ , ชั้นยามะ , ชั้นดุสิต , ชั้นนิมมานรดี , ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี , ชั้นพรหม , เทพพวกอาภะ ( มีแสงสว่าง ) , พวกปริตตาภะ , พวกอัปปมาณาภะ , พวกอาภัสสระ , พวกปริตตสุภะ , อัปปมาณสุภะ, พวกสภกินหกะ , พวกเวหัปผละ , พวกอวิหะ , พวกอตัปปะ, พวกสุทัสสะ, พวกสุทัสสี, พวกอกนิฏฐกะ , พวกอากาสานัญจายตนะ , พวกวิญญาณัญจายตนะ , พวกอากิญจัญญายตนะ, พวกเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือหวังทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ก็มีฐานะที่เป็นไปได้ เพราะผู้นั้นประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ.
พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
(หมายเหตุ? ในพระสูตรนี้ มีปัญหาเรื่องศัพท์อยู่หลายแห่ง
๑ . คำว่า สุจริต ทุจจริต กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ แจกออกเป็นอะไรบ้าง ควรดูหนังสือนวโกวาท หน้า ๓๒ , ๕๙ และ ๖๐
๒. คำว่า มหาศาลที่นำมาต่อท้ายกษัตริย์ , พราหมณ์ , คฤหบดี หมายความว่ามีทรัพย์มาก
๓. เทพชั้นจาตุมหาราช ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตี รวม ๑๖ ชั้น เรียกว่าสวรรค์ชั้นกามาวจร คือยังอยู่ในชั้นกาม ควรดูคำอธิบายในหนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๗๙. หนังสือที่อ้างทั้งสองเล่ม โปรดดูมีภาค ๕ ด้วย . ส่วนลำดับเทพชั้นพรหมที่กล่าว
ถึงในที่นี้ ต่างจากที่กล่าวไว้ในที่อื่นเล็กน้อย เพื่อสะดวกแก่การเทียบเคียง ขอกล่าวถึงเทพชั้นพรหมที่ปรากฏในคำอธิบายของอรรถกถาทั่วไป คือชั้นรูปพรหม ( พรหมมีรูป ) มี ๑๖ ชั้น คือ
๑.
พรหมปาริสัชชะ
๒.
พรหมปุโรหิต
๓. มหาพรหม ( ๓
พวกนี้เป็นพวกได้ฌานที่
๑ )
๔. ปริตตาภะ
๕.
อัปปมาณาภะ
๖. อาภัสสระ ( ๓
พวกนี้เป็นพวกได้ฌานที่ ๒
และที่ ๓ )
๗. ปริตตสุภะ
๘. อัปปมาณสุภะ
๙. สุภกิณหะ ( ๓
พวกนี้เป็นพวกได้ฌาน ๔ )
๑๐. เวหัปผละ ( พวกนี้บำเพ็ญฌานที่
๕ ฌานนี้แยกออกไปจากฌานที่ ๔
จัดตามวิธีของอภิธรรม )
๑๑.
อสัญญีสัตว์ (
เป็นพรหมที่มาจากพวกเดียรถีย์
ที่บำเพ็ญฌานที่ ๕ นั้นแหละ
แต่หน่ายหรือรังเกียจจิตใจจึงเป็นพวกมีแต่รูป
ไม่มีนาม )
๑๒. อวิหะ
๑๓. อตัปปะ
๑๔. สุทัสสะ
๑๕. สุทัสสี
๑๖.
อกนิฏฐะ
( ๕ ประเภทนี้เป็นชั้นสุทธาวาส เป็นที่อยู่โดยเฉพาะของพระอนาคามี คือพระอริยบุคคลรองลงมาจากพระอรหันต์ ). ส่วนอรูปพรหม ( พรหมไม่มีรูป ) ๔ ชั้น คือ
๑.
อากาสานัญจายตนะ
๒. วิญญาณัญจายตนะ
๓.
อากิญจัญญายตนะ
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
รวมทั้งรูปพรหมและอรูปพรหมจึงเป็น ๒๑ ชั้น แต่ในพระสูตรนี้ คำว่าชั้นพรหม อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงพรหม ๓ ประเภทแรกที่ได้ปฐมฌาน คำว่า เทพพวกอาภะ ( มีแสงสว่าง) คือ ปริตตาภะ อัปปมาณาภะ อาภัสสระ จึงเท่ากับพวกอาภะ เป็นการกล่าวรวม ๆ ส่วนปริตตาภะถึงอาภัสสระเป็นการขยายความ. ในพระสูตรนี้ไม่กล่าวถึงอสัญญีสัตว์ เพราะแม้จะเป็นเทพชั้นพรหม แต่ทางพระพุทธศาสนาไม่ยกย่อง จึงเป็นอันว่า เมื่ออธิบายแล้วก็เข้ากันได้กับลำดับในที่อื่น . การแสดงหลักฐาน เพื่อประดับความรู้ในที่นี้ เพียงขั้นตำรา ไม่ใช่ขั้นวิจาร ว่ามีจริงหรือไม่ หรือจะถอดความอย่างไร เพราะจะต้องใช้หน้ากระดาษมาก และได้เขียนวิจารไว้บ้างแล้วในหนังสือเล่มอื่น เช่น คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา ).
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕