ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)
๔๘ . โกสัมพิยสูตร สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆมิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีร้าวฉานทะเลาะวิวาทกัน ใช้วาจาทิ่มแทงกัน ไม่ ( สามารถ ) ทำความเข้าใจกันได้.
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้เรียกภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน ตรัสสอบถาม เธอทั้งหลายรับว่าทะเลาะวิวาทกันจริง . จึงตรัสถามว่า ในสมัยที่ทะเลาะวิวาทกันนั้น เธอได้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับบ้างหรือเปล่า. เมื่อกราบทูลว่า เปล่า พวกเธอรู้อะไรเห็นอะไรจึงทะเลาะวิวาทกัน ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน.
๒. ต่อไปได้ตรัสถึงสาราณิยธรรม ( ธรรมอันทำให้ระลึกถึงกัน ) ๖ ประการ คือ
๑. ตั้วกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
๒.
ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
๓.
ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับ
๔. แบ่งปันลาภแก่เพื่อนพรหมจารี.
๕.
มีศีลอันดีเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี
๖ . มีทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี.
ธรรมทั้งหกอย่างนี้ทำให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รักเป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ในธรรม ๖ อย่างนี้ ข้อที่เป็นยอด คือทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐ อันนำออกจากทุกข์ได้.
๓. ครั้นแล้วได้ทรงไขความของทิฏฐิอันประเสริฐ อันนำออกจากทุกข์ได้ โดยชี้ไปถึงฌานที่ ๒ ถึงญาณที่ ๗ อันเป็นโลกกุตตระ ( ข้ามโลก ) ไม่ทั่วไปแก่บุถุชนทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่าเป็นองค์ ๗ ที่ทำให้ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ เหล่านี้ ประกอบด้วยโสดาปัตติผล . ญาณทั้งเจ็ดมีดังนี้?-
ญาณที่ ๑ ภิกษุไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาว่า ปริยฏฐานะ (กิเลสที่ครอบงำจิต ) ในภายใน ที่เป็นเหตุให้รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง ที่ยังละไม่ได้ มีอยู่หรือไม่ คือถ้าภิกษุถูกความกำหนัดในกาม ( กามราคะ ) , ความพยาบาท, ความหดหู่ง่วงงุน , ความฟุ้งสร้านรำคาญใจ , ความลังเลสงสัย , ความคิดที่เวียนอยู่ในโลกนี้ ( อธิโลกจินฺตา ) การทะเลาะวิวาท , ครอบงำจิต แล้วมารู้ว่าปริยุฏฐานะที่ยังละไม่ได้ไม่มี จิตของเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจธรรม. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๑ อันเป็นอริยะ เป็นโลกตตระ เป็นอสาธารณะแก่บุถุชนทั้งหลาย.
ญาณที่๒ อริยสาวกพิจรณาว่า เราส้องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้หรือเปล่า ซึ่งเราจะได้ความสงบระงับ ได้ความดับเย็น ( นิพพุติ ) เฉพาะตน. เธอรู้ว่า ส้องเสพ เจริญ ทำให้มากทิฏฐินี้. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๒ ฯ ล ฯ .
ญาณที่๓ อริยสาวกพิจารณาว่า มีสมณพราหมณ์อื่นในภายนอกศาสนานี้ที่ประกอบด้วยทิฏฐิอย่างที่เรามีหรือไม่หนอ . เธอรู้ว่า ไม่มี. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๓ ฯ ล ฯ .
ญาณที่๔ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยธรรมดา เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมดาชนิดนั้นหรือไม่ ธรรมดาสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือต้องอาบัติ ก็แสดงเปิดเผย ทำให้ปรากฏในศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้โดยพลัน แล้วสำรวมระวังต่อไป. เธอประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๔ ฯ ล ฯ .
ญาณที่๕ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยธรรมดา เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมชนิดนั้นหรือไม่. ธรรมดาสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือขวนขวายในกิจน้อยใหญ่ของเพื่อนพรหมจารี การเพ่งเล็งอย่างแรงกล้า เพื่อการศึกษาอธิษศีล , อธิจิต , อธิปัญญา ( ศีล สมาธิ ปัญญาอันยิ่ง ). เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๕ ฯ ล ฯ.
ญาณที่๖ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังนิดนั้นหรือไม่ . ความเป็นผู้มีกำลังสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือเมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เขาย่อมตั้งใจเงี่ยโสตสดับธรรม. เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๖ ฯ ล ฯ.
ญาณที่๗ อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังชนิดนั้นหรือไม่. ความเป็นผู้มีกำลังสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือเมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เขาย่อมได้ความรู้อรรถ ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม. เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๗ ฯ ล ฯ.
ตรัสสรุปว่า ธรรมดาของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ เป็นอันสอบสวนด้วยดี เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลอย่างนี้. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ อย่างนี้ ย่อมประกอบด้วยโสดาปัตติผล.
- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕