ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๔๗ . วิมังกสูตร สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ตรัสถึงภิกษุผู้ไม่รู้เรื่องจิตใจของคนอื่น ควรทำการสอบสวนในตถาคตเพื่อรู้ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่.

ภิกษุทั้งหลายขอร้องให้ทรงอธิบาย จึงตรัสขยายความต่อไปว่า .

๒. ภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน เมื่อไม่รู้เรื่องจิตใจของผู้อื่น ( คือไม่มีอำนาจจิตรู้จิตใจของผู้อื่นได้ ) ควรทำการสอบสวนในตถาคต ในธรรม ๒ อย่าง คือในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางตาและทางหู ( กิริยาอาการหรือถ้อยคำใด ๆ ที่พึงใช้ตาใช้หูสังเกตสอบสวนได้ ) ว่าธรรมะที่พึงรู้แจ้งทางตาและทางหู ที่เศร้าหมอง , ที่ปนกัน ( คือดีบ้าง ชั่วบ้าง ) ของตถาคตมีหรือไม่มี ก็จะทราบว่าไม่มี. เมื่อสอบสวนยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้สมบูรณ์ด้วยกุศลธรรมนี้มานานแล้ว หรือพึงสมบูรณ์ด้วยกุศลธรรมนี้เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง ก็จะทราบว่าสมบูรณ์มานานแล้ว มิใช่เพิ่งสมบูรณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อสอบสวนยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า ภิกษุ ( ผู้เป็นศาสดาของเรา ) นี้ ถึงความเป็นผู้มีคนรู้จักมียศ ในการนี้ท่านมีโทษบางอย่างหรือไม่ ภิกษุ ( บางรูป ) ยังไม่มีโทษเกิดขึ้นตราบเท่าที่ยังไม่ถึงความเป็นผู้มีคนรู้จัก มียศ พอถึงความเป็นผู้มีคนรู้จัก มียศ ก็มีโทษบางอย่างเกิดขึ้น ( เช่น เห่อเหิม ถือตัว ).

เธอสวบสวนอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ภิกษุถึงความเป็นผู้มีคนรู้จัก มียศ แต่ก็ไม่มีโทษบางอย่าง เมื่อสอบสวนยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่าท่านผู้นี้เว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว เว้นความชั่วเพราะกลัวก็หามิได้ ( เว้นโดยอัธยาศัยสูงคุณธรรมสูง มิใช่เพราะกลัวถูกติเตียน เป็นต้น ) ย่อมไม่เสพกาม เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นไปแห่งราคะใช่หรือไม่. ก็จะรู้ว่า ท่านผู้นี้เว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว เว้นความชั่วเพราะกลัวก็หามิไม่ ย่อมไม่เสพกามเพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นไปแห่งราคะ. ถ้ามีผู้อื่น ถามภิกษุ ( ผู้สวบสวน ) ว่า มีอาการอะไร มีข้อที่รู้ได้อะไรที่ทำให้กล่าวว่า ท่านผู้นี้เว้นความชั่วมิใช่กลัว เป็นต้น. ถ้าเธอจะตอบให้ชอบก็ตอบว่า ท่านผู้นี้อยู่ในสงฆ์หรืออยู่แต่ผู้เดียว ท่านก็ไม่ดูหมิ่นภิกษุที่ดี ที่ชั่ว ที่บริหารหมู่คณะ ที่ติดอามิส ที่ไม่ติดอามิส.

อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ฟังมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ถึงพระดำรัสที่ว่า เราเว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว เราเว้นความชั่วเพราะกลัวก็หาไม่ เราไม่เสพกามเพราะปราศจากราคะ เพราะสิ้นไปแห่งราคะดังนี้ .

ข้อที่ว่าไม่ดูหมิ่นภิกษุทุกประเภท ไม่ว่าดีหรือเลวนั้น อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคมีพระหฤทัยสม่ำเสมอในบุคคลทั้งปวง เช่นในพระเทวทัตผู้คิดฆ่าและในพระราหุลผู้เป็นโอรส).

๓. เธอพึงถามตถาคตถึงธรรมะที่พึงรู้แจ้งทางตาหูอันเศร้าหมอง อันปนกัน ( ดีบ้าง ชั่วบ้าง ) อันผ่องแผ้วว่า ธรรมเหล่านี้ของตถาคตมีหรือไม่ เมื่อตถาคตจะตอบ ก็พึงตอบว่า “ ไม่มีธรรมที่เศร้าหมองและที่ปนกัน แต่มีธรรมที่ผ่องแผ้ว. นั้นเป็นทางเป็นที่โคจรของเรา แต่เราก็มิได้มีความทะยานอยาก เพราะคุณธรรมนั้น” สาวกจึงควรเข้าไปหาศาสดาผู้กล่าวอย่างนี้เพื่อฟังธรรม เธอรู้ยอ่งธรรมบางอย่างในธรรมที่แสดงนั้น ย่อมถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย เลื่อมใสในศาสดาว่า “ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบ , พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว, พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.” ถ้ามีผู้ถามภิกษุ ( ผู้สอบสวนนัน ) ว่า มีอาการอะไร มีข้อที่รู้ได้อะไรเป็นเหตุให้กล่าว ( สรรเสริญพระรัตนตรัย ) อย่างนั้น . จะตอบให้ชอบ เพราะเข้าไปฟังธรรมและได้รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมที่แสดงนั้นดังกล่าวแล้ว.

๔. ตรัสว่า ผู้มีศรัทธาตั้งลงในตถาคต เป็นศรัทธาที่มีราก เป็นศรัทธาอันตั้งมั่น ด้วยอาการด้วยบท ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ ศรัทธาของผู้นั้น เรียกว่ามีอาการ ( อันดี ) มีความเห็นเป็นจริงเป็นมูล เป็นศรัทธาอันมั่น ซึ่งสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก พึงนำไป ( หรือจูงไปที่อื่น ) ไม่ได้. นี้แหละคือการสอบสวนธรรมในตถาคต และตถาคตก็เป็นอันสวบสวนดีแล้วโดยธรรม.

(หมายเหตุ? สูตรนี้อีกสูตรหนึ่งที่ท้าให้สอบสวนคุณความดีหรือข้อบกพร่องของพระพุทธเจ้า พึงดูที่ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หัวข้อที่ ๒๑๗ ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระองค์ให้ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวได้ด้วย).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม